สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
STEAM4INNOVATOR 15 keywords บอร์ดประกอบการเรียนการสอน เรื่อง "STEAM4INNOVATOR" กรอบแนวความคิด 4 ขั้นตอนสร้างนวัตกรรม เครื่องมือสำหรับจุดเริ่มต้นคิดนวัตกรรม ซึ่งครู อาจารย์ สามารถใช้ประกอบการออกแบบการเรียนรู้สำหรับเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น - ระดับปริญญาตรี หรือบุคคลทั่วไป โดยใช้ระยะเวลา 15-30 นาที สามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้เล่นได้เลย [Print and Play] สนใจติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://moocs.nia.or.th/course/stream4innovator หรือติดต่อขอรับการอบรม www.facebook.com/steam4innovator
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อนจึงได้วางแนวทางปฏิบัติให้เกิดการใช้ทรัพยากรและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการจัดการทรัพยากรน้ำ ไฟฟ้า พื้นที่ และของเสีย โดยคำนึงถึงสุขภาพของผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวคิดของการเป็นอาคารประหยัดพลังงานที่อาคารอุทยานนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กำลังดำเนินการ
ฟาร์มเลี้ยงแมลงในร่มแบบปิด (Closed-Type Indoor Insect Farm) คือ โรงเรือนที่ใช้การเพาะพันธุ์แมลงแทนการเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่เพื่อผลผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งในปัจจุบันการยอมรับของผู้บริโภคต่ออาหารที่มาจากแมลงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐของยุโรปและแคนาดาก็อนุญาตให้ใช้อาหารที่ผลิตจากแมลงในการเลี้ยงสัตว์น้ำแล้ว สำหรับในประเทศไทยแม้ว่าจะมีฟาร์มเลี้ยงแมลงอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นวิสาหกิจชุมชนที่ไม่ได้มีการควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างเข้มงวด จึงต้องแบกรับความเสี่ยงเรื่องสภาพภูมิอากาศที่อาจผันแปรและส่งผลเสียต่อปริมาณและคุณภาพของแมลงได้ เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตแมลงมีมูลค่าสูง ในอนาคตจึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการนำเทคโนโลยีฟาร์มในร่มแบบปิดเข้ามาใช้ในการควบคุมสภาพแวดล้อม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพคงที่และได้มาตรฐานสำหรับการส่งออก
โรงงานผลิตพืชขนาดใหญ่มีลักษณะคล้ายกับโรงงานอุตสาหกรรม แต่มีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนกว่า เนื่องจากภายในโรงงานนั้นจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่ทำให้พืชสามารถดำรงชีวิตอยู่ภายในอาคารได้โดยไม่จำเป็นต้องเจอกับสภาพแวดล้อมภายนอก ด้วยเหตุนี้โรงงานผลิตพืชจึงมีต้นทุนสูง การประหยัดต้นทุนจึงกลายเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ ดังนั้นบริษัทสตาร์ทอัพรุ่นใหม่จึงมุ่งเน้น ในการพัฒนาฟาร์มขนาดประมาณ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริม คือ ต้นทุนของโครงสร้างและต้นทุนดำเนินการของระบบที่ลดลงด้วยเทคโนโลยีหลอดไฟแอลอีดีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีราคาถูกลง การเรียนรู้จากงานวิจัยและบทเรียนจากธุรกิจสตาร์ทอัพ และการใช้พื้นที่ขนาดใหญ่จะช่วยลดต้นทุนการลงทุนได้มาก
ฟาร์มในเขตเมืองเกิดขึ้นตามเมืองใหญ่ทั่วโลก โดยการทำฟาร์มในเขตเมืองนั้นไม่จำเป็นต้องทำในระบบปิดเสมอไป มีตัวอย่างในเมืองใหญ่มากมายที่นำเอาพื้นที่เปิดซึ่งไม่ได้มีการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่น ดาดฟ้าตึก ลานจอดรถที่ไม่ได้ใช้งาน หรือพื้นที่รอการก่อสร้าง มาใช้ในการปลูกพืชผักหรือทำสวนดอกไม้เพื่อเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนและส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนให้ชุมชน
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตให้กับคนทั่วไป แต่ยังสร้างความกดดันให้กับกลุ่มผู้ประกอบการและบริษัทเอกชน ซึ่งส่งผลต่อภาพระบบเศรษฐกิจระดับประเทศ มาตรการภาครัฐของหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เป็นอันดับต้นๆ อย่าง “สาธารณรัฐฝรั่งเศส” ที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการ ให้ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ จะมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย สำหรับในประเทศไทยเอง NIA พร้อมให้การช่วยเหลือบริษัทสตาร์ทอัพ SMEs และวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ผ่านการสนับสนุนทางการเงิน การส่งเสริมการตลาด พัฒนาเครือข่าย รวมถึงการส่งเสริมองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้สามารถก้าวต่อไปได้
สถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ถือเป็นโอกาสของภาคเศรษฐกิจที่จะทบทวนระบบและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของโลก โดยมี 2 ปัจจัยหลักที่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนอนาคต ได้แก่ การให้คุณค่า (Value) และการรวมอำนาจ (Centralization) การให้คุณค่าอ้างอิงจากหลักทางเศรษฐศาสตร์ เช่น ปัจจุบันการใช้ ทรัพยากรที่มีเพื่อสร้างกำไรให้สูงสุดและค่าตอบแทนที่สูงที่สุด (exchanges and money) หรือว่าเราจะใช้ทรัพยากรเพื่อพัฒนาชีวิต (Life) ส่วนการรวมอำนาจ หมายถึง อำนาจวิธีการ ระเบียบการปกครอง และระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ระบบเล็กจนถึงใหญ่ เมื่อนำ 2 ปัจจัยนี้มาสร้างฉากทัศน์อนาคต (Scenarios) เพื่อนำสู่การรับมือหลังวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า เรามาดูกันว่าฉากทัศน์ดังกล่าวจะมีหน้าตาอย่างไร Source: Simon Mair - BBC Future (2020), How will coronavirus change the world?
การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ธุรกิจและบริการหลายแห่งต้องหยุดให้บริการ บริษัทต้องปิดตัวลง โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งต้องเปลี่ยนไปผลิตเครื่องช่วยหายใจ เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ รวมถึงการเกิดขึ้นของกระแสการทำงานระยะไกลและการสาธารณสุขทางไกล มาดูกันว่าภาคอุตสาหกรรมและพลังงานจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสในการฟื้นตัวอย่างไร ... Source: Ram Ramasamy - Frost & Sullivan (2020), Mapping the Road to Recovery for the Industrial and Energy Markets Amid COVID-19
การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ธุรกิจและบริการหลายแห่งต้องหยุดให้บริการ บริษัทต้องปิดตัวลง โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งต้องเปลี่ยนไปผลิตเครื่องช่วยหายใจ เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ รวมถึงการเกิดขึ้นของกระแสการทำงานระยะไกลและการสาธารณสุขทางไกล มาดูกันว่าภาคอุตสาหกรรมและพลังงานจะได้รับผลกระทบและมีโอกาสในการฟื้นตัวอย่างไร ... Source: Ram Ramasamy - Frost & Sullivan (2020), Mapping the Road to Recovery for the Industrial and Energy Markets Amid COVID-19
ปัจจุบันไวรัสโคโรนายังคงสร้างผลกระทบต่อภาคธุรกิจทั่วโลก วิกฤตการณ์ในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุน Digital ผ่านภาคธุรกิจ โดยเศรษฐกิจที่ถูกเชื่อมต่อด้วยดิจิทัลนั้นช่วยให้ภาคธุรกิจและพนักงาน รวมถึงผู้บริโภคในหลายๆ ภาคส่วนยังคงมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในการทำธุรกิจ วิกฤตการณ์ในครั้งนี้ทำให้เห็นชัดเจนว่า ในโลกของธุรกิจ การลงทุน การสร้างธุรกิจดิจิทัลของตัวเองสามารถที่จะทำให้ธุรกิจนั้นเติบโต แม้ว่าจะมีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น การเติบโตอย่างมากของเครื่องมือธุรกิจบน Platform Digital ต่างๆ เช่น การซื้อขายออนไลน์ (e-commerce) การเรียนรู้ผ่านระบบดิจิตอล (Digital Learning) ระบบการเทรนนิ่งเสมือนจริง (VR-based Training) และ Application ที่ช่วยเหลือการทำธุรกิจระยะไกลสำหรับคนทำงาน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งเหล่านี้ จะกลายเป็น New Normal ของ Business ในโลกยุคใหม่ โดย 10 เครื่องมือทางดิจิตอลที่จะสามารถช่วยมนุษยชาติให้พ้นจากการเงื้อมมือของไวรัสโคโรน่าได้
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราเดินหน้าเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution) และสร้างความเปลี่ยนแปลงพลิกโฉม (Disruption) ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ทั่วโลก หลายประเทศตื่นตัวและให้ความสนใจกับกระแสความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และอยากที่จะคาดการณ์ (forsee) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล่วงหน้า จึงเป็นบทบาทของนักอนาคตศาสตร์ (futurist) ที่จะเข้ามาช่วยในการมองอนาคต (foresight) ของความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เรามาดูกันว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียให้ความสนใจกับการมองภาพอนาคตอย่างไร
“อดีต” ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการกำหนดอนาคตทางเลือกที่ต้องการ เมื่อลองมองย้อนไปในอดีต ความแตกต่างของผู้คนบนโลกส่งผลต่อการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์และนโนบายของประเทศและองค์กรต่างๆ อย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบัน “อนาคต” คือ สิ่งที่ไม่รู้แน่ชัด แต่ก็มีสัญญาณบางอย่างจากทั้งความเชื่อ เทคโนโลยี ตลอดจนนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลกที่ได้เสนอทฤษฎีที่น่าสนใจและอาจเป็นตัวกำหนดแนวทางการแข่งขันให้กับประเทศและองค์กรต่างๆ ในอนาคตอีกด้วย