สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

คลังความรู้

ADVANCED AQUA GRIDS

17 กรกฎาคม 2565 4 2
ผู้แต่ง : NIA
จำนวนหน้า: หน้า
กลุ่มเป้าหมาย : N/A
บริการ : N/A
รายละเอียดหนังสือ

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่…ด้วยประเด็นที่น่าใจ … ของยุคที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว เมืองขยายตัวมากขึ้น ความต้องการใช้ทรัพยากรของผู้คนในสังคมเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ภายใต้การเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนต่างๆ ของโลกในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีเหตุการณ์สำคัญหลายๆ เหตุการณ์ที่อยู่ในกระแสเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ก่อให้เกิดวิกฤติน้ำ ทั้งปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเสีย ปัญหาขาดแคลนน้ำรุนแรง ประกอบกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกเป็นแรงขับเคลื่อนต่อการเพิ่มปริมาณความต้องการใช้น้ำในทุกภาคส่วน ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อวิกฤตน้ำในโลกที่มีความเป็นไปได้สูงในอนาคต ปัจจุบันประชากรโลก 1 ใน 5 คน ไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาด ขาดแคลนน้ำดื่ม และประชากรครึ่งหนึ่งของโลกขาดแคลนน้ำสะอาดตามหลักสุขาภิบาล ประชากรมากกว่า 5 ล้านคนตายด้วยโรคที่เกิดจากน้ำไม่สะอาดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา สถาบันจัดการน้ำระหว่างประเทศ (IWMI) คาดว่าราวปี 2025 ประชากร 4,000 ล้านคน ใน 48 ประเทศ (2 ใน 3 ของประชากรโลก) จะเผชิญกับปัญหาความขาดแคลนน้ำ ในขณะที่ธนาคารโลกประมาณการว่า 30 ปีข้างหน้าประชากรครึ่งหนึ่งของโลกจะประสบภาวะขาดแคลนน้ำหากยังคงมีการใช้น้ำที่ฟุ่มเฟือยอย่างเช่นในปัจจุบัน หลายภาคส่วนพยายามหาแนวทางแก้ไขปัญหาและวิธีการป้องกัน อาทิ การผสมผสานเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน การพัฒนาเทคโนโลยีระบบโครงข่ายการบำบัดน้ำอัจฉริยะขั้นสูง (Advanced Aqua Grids) ที่ผสมผสานเทคโนโลยีแยกเกลือออกจากน้ำทะเล (Desalination) เข้ากับเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ (Sensor Fusion) และระบบฝังตัวแบบนาโนไฮบริดเข้าไปในเมมเบรน (Membrane) เพื่อทำหน้าที่ตรวจจับสิ่งปนเปื้อน ตรวจสอบคุณภาพ

Tags : N/A

ROBOTIC FARMING

17 กรกฎาคม 2565 4 28
ผู้แต่ง : NIA
จำนวนหน้า: หน้า
กลุ่มเป้าหมาย : N/A
บริการ : N/A
รายละเอียดหนังสือ

การเกษตรด้วยวิทยาการหุ่นยนต์ (Robotic Farming) เป็นกุญแจสําคัญที่จะเปลี่ยน อุตสาหกรรมเกษตร โดยอาศัยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูงร่วมกัน ได้แก่ การผสมผสานการใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ (Sensor Fusion) และการใช้ข้อมูลเชิงลึก ทางเกษตรในระดับโอมิกส์ (Agricultural Multiomics) อาทิ จีโนมิกส์ (Genomics) ทรานสคริปโตมิกส์ (Transcriptomics ) เมตาโบโทมิกส์ (Metabotomics) และ โปรติโอมิกส์ (Proteomics) เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร แล้วสั่งงานหุ่นยนต์ทางานร่วม (Cobots) ทางการเกษตรและ Drone เพื่อทํางานอย่างการไถเตรียมดิน การเพาะเมล็ดพืช การจัดการวัชพืช การใส่ปุ๋ย การคัดเลือกพืช

Tags : N/A

ADVANCED FOODs

17 กรกฎาคม 2565 2 3
ผู้แต่ง : NIA
จำนวนหน้า: หน้า
กลุ่มเป้าหมาย : N/A
บริการ : N/A
รายละเอียดหนังสือ

การผลิตอาหารอย่างยั่งยืนโดยใช่วัตถุดิบการผลิตที่น้อยแต่ได้คุณค่าโภชนาการสูงด้วยเทคโนโลยีกระบวนการ หรือเทคนิคการแก้ไขดัดแปลงพันธุกรรม อาทิ CRISPR และเทคโนโลยี วิศวกรรมโปรตีน (Protein Engineering) ที่เป็นส่วนหนึ่งของ ชีววิทยาสังเคราะห์ที่ใช้ผลิตส่วนผสมที่สะอาด รวมถึงการทํา ฟาร์มอัจฉริยะ การทําเกษตรแบบ 4.0 และการสร่างมูลค่าเพิ่ม จากวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

Tags : N/A

เทียบนโยบายพัฒนาประเทศด้านนวัตกรรม

17 กรกฎาคม 2565 2 12
ผู้แต่ง : NIA
จำนวนหน้า: หน้า
กลุ่มเป้าหมาย : N/A
บริการ : N/A
รายละเอียดหนังสือ

เทียบนโยบายพัฒนาประเทศด้านนวัตกรรม

Tags : N/A

SOCIAL INNOVATION VILLAGE

17 กรกฎาคม 2565 3 6
ผู้แต่ง : NIA
จำนวนหน้า: หน้า
กลุ่มเป้าหมาย : N/A
บริการ : N/A
รายละเอียดหนังสือ

SOCIAL INNOVATION VILLAGE

Tags : N/A

Thailands Social Innovation Trend Thailands Social Innovation

17 กรกฎาคม 2565 4 18
ผู้แต่ง : NIA
จำนวนหน้า: หน้า
กลุ่มเป้าหมาย : N/A
บริการ : N/A
รายละเอียดหนังสือ

Thailands Social Innovation Trend Thailands Social Innovation

Tags : N/A

งดเหล้าเข้าพรรษา

17 กรกฎาคม 2565 2 7
ผู้แต่ง : NIA
จำนวนหน้า: หน้า
กลุ่มเป้าหมาย : N/A
บริการ : N/A
รายละเอียดหนังสือ

งดเหล้าเข้าพรรษา

Tags : N/A

เจตจำนงสุจริตในการบริหาร

17 กรกฎาคม 2565 3 2
ผู้แต่ง : NIA
จำนวนหน้า: หน้า
กลุ่มเป้าหมาย : N/A
บริการ : N/A
รายละเอียดหนังสือ

เจตจำนงสุจริตในการบริหาร

Tags : N/A

5 DISRUPTIVE DIGITAL TECHNOLOGIES

17 กรกฎาคม 2565 3 26
ผู้แต่ง : NIA
จำนวนหน้า: หน้า
กลุ่มเป้าหมาย : N/A
บริการ : N/A
รายละเอียดหนังสือ

5 เทคโนโลยีดิจิทัลพลิกโฉมอุตสาหกรรม โดยทุกวันนี้ปฎิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานในทุกภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ซึ่งเทรนด์การใช้นวัตกรรมดิจิทัลเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวัน สามารถพลิกโฉมการทำธุรกิจ อุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 5 เทคโนโลยีสำคัญที่มีแนวโน้มเข้ามาสร้างผลกระทบต่อธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างต่อเนื่อง

Tags : N/A

BATTERY RECYCLING TECHNOLOGIES

17 กรกฎาคม 2565 3 37
ผู้แต่ง : NIA
จำนวนหน้า: หน้า
กลุ่มเป้าหมาย : N/A
บริการ : N/A
รายละเอียดหนังสือ

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก (Megatrend) อาทิ การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ (Aging Society) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) การขยายตัวของเมืองทำให้เกิดเมืองใหม่ที่มีลักษณะเป็น Smart City ที่กำลังเกิดขึ้นในวงกว้างและส่งผลต่อหลายๆ ประเทศในอนาคต โดยเฉพาะแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่หลายๆ ประเทศให้ความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซ CO2 ลง โดยมุ่งเน้นการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เห็นได้ชัดเจนจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าส่งผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมการบริหารจัดการรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดผลกระทบจากความเป็นพิษของวัสดุที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งแนวโน้มการเติบโตของตลาดเทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่จึงเป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตสูงอย่างน่าสนใจ เพื่อรับมือกับปริมาณแบตเตอรี่ของยานยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มปริมาณมากขึ้นในอนาคต

Tags : N/A

Wastewater Nutrient Recovery

17 กรกฎาคม 2565 3 2
ผู้แต่ง : NIA
จำนวนหน้า: หน้า
กลุ่มเป้าหมาย : N/A
บริการ : N/A
รายละเอียดหนังสือ

การดึงสารอาหารจากน้ำเสีย (Wastewater Nutrient Recovery) เป็นอีกหนึ่งแนวทางการจัดการน้ำเสียในกระบวนการบำบัดน้ำเสียโดยดึงธาตุอาหารที่ปะปนอยู่ในรูปแบบต่างๆ จากน้ำเสียหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ สามารถนำไปใช้ในการผลิตปุ๋ยเพื่อทำการเกษตรและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดมลพิษทางน้ำที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อภาคส่วนต่างๆ แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการดึงสารอาหารในระบบการบำบัดน้ำเสียมีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจในการนำไปปรับใช้จัดการคุณภาพน้ำ…เพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนในอนาคต

Tags : N/A

ZERO LIQUID DISCHARGE การปล่อยของเหลวเป็นศูนย์

17 กรกฎาคม 2565 2 30
ผู้แต่ง : NIA
จำนวนหน้า: หน้า
กลุ่มเป้าหมาย : N/A
บริการ : N/A
รายละเอียดหนังสือ

ภัยอันตรายจากการปล่อยของเสียไม่ได้อยู่ในรูปของก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังมีการปลดปล่อยของเสียสิ่งปฏิกูล สารเคมีที่ไม่พึงปรารถนาออกมาในรูปของสารละลายสู่แหล่งน้ำธรรมชาติส่งผลให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงจนก่อให้เกิดผลกระทบภายนอกเชิงลบ (negative externality) ระบบนิเวศในน้ำถูกทำลายจนไม่สามารถนำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์เพื่ออุปโภคบริโภคได้ ซึ่งปัจจุบันปัญหาน้ำเสียเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์น้ำชาติด้านการจัดการคุณภาพน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการจัดการสิ่งแวดล้อมแก้ไขปัญหาน้ำเสียลดผลกระทบภายนอกที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศในน้ำ หรือแม้แต่สุขภาพของมนุษย์จำเป็นต้องพัฒนาแนวทางการบำบัดน้ำเสียลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นให้เหลือน้อยลง “เทคโนโลยีการปล่อยของเหลวเป็นศูนย์ (Zero Liquid Discharge : ZLD)” เป็นแนวทางหนึ่งในกระบวนการบำบัดของเสียออกมาสู่สาธารณะให้สามารถหมุนเวียนทรัพยากรให้กลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นให้เหลือน้อยลง ซึ่งมีแนวโน้มและโอกาสเติบโตที่น่าสนใจ ทั้งนี้ ... สิ่งสำคัญทุกภาคส่วนควรตระหนักให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกันเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Tags : N/A