สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

การสนับสนุนด้านการเงิน

Target :
สตาร์ทอัพ/สมาร์ทเอสเอ็มอี/กิจการเพื่อสังคม
บริษัทขนาดกลาง-ใหญ่/นักลงทุน

การสนับสนุนด้านการเงินของ NIA เป็นการสนับสนุนในรูปแบบของ "เงินทุน" โดยเป็นทุนให้เปล่า (Grant) ไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าโครงการที่ขอรับการสนับสนุน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

ทุนนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ 

เป็นกลไกให้ทุนสนับสนุนโครงการนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจแบบให้เปล่า (Grant) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่มูลค่าอย่างยั่งยืนซึ่งจะช่วยยกระดับห่วงโซ่อุปทานเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve: Next – Generation Automotive, Smart Electronics, Affluent, Medical and Wellness Tourism, Agriculture and Biotechnology and Food for the Future) และนำไปสู่การสร้างห่วงโซ่มูลค่าใหม่ที่เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-curve: Robotics, Aviation and Logistics, Biofuels and Biochemicals, Digital and Medical Hub) ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญทั้งกลุ่มธุรกิจนวัตกรรม (Smart SMEs) และวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) โดยแบ่งออกเป็น 2 แพลตฟอร์มหลักๆ ดังนี้

1. แพลตฟอร์มส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมรายภูมิภาค (Regional Innovation Business Platform) ประกอบไปด้วย 4 กลไกการสนับสนุน ดังนี้

1) กลไกการสนับสนุนทุนโครงการนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation)

  • ทุนให้เปล่า (Grant) แบบอุดหนุนบางส่วน (Matching Fund) สำหรับสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมเพื่อพัฒนาและนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงพาณิชย์ มาทดสอบการใช้งานกับกลุ่มลูกค้าจริง ทดสอบกระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรม และทดสอบตลาดการจำหน่ายจริง นำไปสู่การสร้างรายได้จริง เมื่อสิ้นสุดโครงการ ซึ่งเป็นไปตามกลุ่มสาขาเศรษฐกิจ ดังนี้ 1. สาขาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) 2. สาขาเศรษฐกิจการผลิตและการหมุนเวียน (Manufacturing and Circular economy) 3. สาขาเศรษฐกิจบริการและแบ่งปัน (Service and Sharing Economy)
  • สนับสนุนเงินทุนสูงสุดไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าโครงการ คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อโครงการ ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี​

2) กลไกการขยายผลนวัตกรรมในระดับภูมิภาคสู่ตลาด (Regional Market Validate)

  • ทุนให้เปล่า (Grant) แบบอุดหนุนบางส่วน (Matching Fund) สำหรับผู้ประกอบการที่มุ่งเน้นการส่งเสริมธุรกิจที่มีนวัตกรรมที่ขายเชิงพาณิชย์แล้ว แต่ต้องการเปิดตลาดใหม่หรือลูกค้ากลุ่มใหม่ทั้งในระดับภูมิภาค ประเทศ หรือต่างประเทศในการขยายผลเชิงพาณิชย์
  • สนับสนุนเงินทุนสูงสุดไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าโครงการ คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อโครงการ ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี

3) กลไกสนับสนุนดอกเบี้ยบางส่วนเพื่อเสริมสภาพคล่อง (Matching Interest for Working Capital)

  • ทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) สำหรับเพิ่มสภาพคล่องเพื่อการเติบโตของธุรกิจฐานนวัตกรรม ที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดหรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการเพิ่มสภาพคล่องทางด้านการเงิน
  • สนับสนุนเงินทุนสูงสุดไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อโครงการ ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี

4) กลไกนวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย (Zero Loan Interest)

  • ทุนอุดหนุน (Grant) สำหรับการขยายธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์ของธุรกิจฐานนวัตกรรม ที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาด หรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการขยายสู่เชิงพาณิชย์หรือขยายการตลาด 
  • สนับสนุนเงินทุนสูงสุดไม่เกินร้อยละ 100 ของมูลค่าดอกเบี้ย คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อโครงการ ในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี

สรุป "กลไกนวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย" เป็นกลไกที่สนับสนุนเงินอุดหนุนในรูปแบบของการสนับสนุนดอกเบี้ยเงินกู้จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ร่วมกับ สถาบันการเงินชั้นนำจำนวน 7 แห่ง ซึ่งจะเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อในโครงการ ได้แก่

  1. ธนาคารกรุงไทย
  2. ธนาคารกรุงเทพ
  3. ธนาคารกสิกรไทย
  4. ธนาคารไทยพาณิชย์
  5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
  7. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

หากโครงการผ่านการอนุมัติจาก NIA ผู้ประกอบการจะได้รับการสนับสนุนดอกเบี้ยเงินกู้ในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีแรก 

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://open.nia.or.th

ดาวน์โหลดเอกสารอธิบายแพลตฟอร์มส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมรายภูมิภาค (Regional Innovation Business Platform) ได้ที่นี่ 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • อีเมล: [email protected]
  • ภาคกลาง: 080-226-0251 (คุณพัชมณ)
  • ภาคเหนือ: 083-472-9998 (คุณปวันรัตน์)
  • ภาคอีสาน: 090-496-7438 (คุณสุภาพร)
  • ภาคใต้: 093-576-6347 (คุณสุนันท์)

 

2. แพลตฟอร์มส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ (Mandatory Innovation Business Platform)

แพลตฟอร์มส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ (Mandatory Innovation Business Platform) คือ ทุนให้เปล่า (Grant) แบบอุดหนุนบางส่วน (Matching Fund) สำหรับสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมเพื่อพัฒนาและนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงพาณิชย์มาทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน (Efficiency) ในสภาพแวดล้อมจริง (หรือใกล้เคียง) ก่อนและหลังออกสู่ตลาด ทดสอบตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และที่ปรึกษาสำหรับขับเคลื่อนการขยายธุรกิจ โดยต้นแบบดังกล่าวต้องมีความเป็นนวัตกรรมระดับประเทศขึ้นไป ในด้านผลิตภัณฑ์ (Product)  บริการ (Service) หรือกระบวนการ (Process) และสามารถสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่กำหนด (Theme) ประกอบไปด้วย 7 กลไกการสนับสนุน ดังนี้

 

1) กลไกทุนโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation) 

  • ทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าโครงการ คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อโครงการ
    ในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี 
  • สำหรับการทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรมการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการนวัตกรรมให้ตอบโจทย์ตลาดเป้าหมายมากขึ้น การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการลงทุน เป็นต้น
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการในที่พร้อมทดสอบความเป็นไปได้ทางการตลาด
  • โดยปีงบประมาณ 2568 กำหนด 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation) ได้ ประกอบไปด้วย 
    1) ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export)
    2) ธุรกิจนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการพืชและสัตว์เศรษฐกิจหลักของประเทศตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain of Economic Plants and Animals)
    3) ธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า (Circular and Low-Carbon Economy)
    4) ธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy)
    5) ธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech)
    6) ธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง (Electric Vehicle : EV)


2) กลไกการสนับสนุนที่ปรึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรม (MIND)

  • ทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 1,000,000 บาทต่อโครงการ
    ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
  • สำหรับการจ้างที่ปรึกษา การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรด้านกลยุทธ์ธุรกิจ การตลาด ทรัพย์สินทางปัญญา การบัญชี การเงินและการลงทุน การค้าระหว่างประเทศ
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์อยู่แล้ว และต้องการเข้าถึงบริการที่ปรึกษาด้านการเติบโตทางธุรกิจ
  • โดยปีงบประมาณ 2568 กำหนด 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนสนับสนุนที่ปรึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรม (MIND) ได้ ประกอบไปด้วย 
    1) ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export)
    2) ธุรกิจนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการพืชและสัตว์เศรษฐกิจหลักของประเทศตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain of Economic Plants and Animals)
    3) ธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า (Circular and Low-Carbon Economy)
    4) ธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy)
    5) ธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech)
    6) ธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง (Electric Vehicle : EV)

3) กลไกการสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานสำหรับธุรกิจนวัตกรรม (Standard Testing)

  • ทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อโครงการ
    ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
  • สำหรับการจ้างที่ปรึกษา การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร การวิเคราะห์ทดสอบ การทวนสอบและประเมินผล เพื่อขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์หรือขอรับรองมาตรฐานที่สำคัญต่อการเติบโตทางธุรกิจ
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์อยู่แล้ว และต้องการขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ในตลาดเป้าหมาย และ/หรือ ขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดตลาดใหม่ และ/หรือ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดเดิม
  • โดยปีงบประมาณ 2568 กำหนด 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานสำหรับธุรกิจนวัตกรรม (Standard Testing) ได้ ประกอบไปด้วย 
    1) ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export)
    2) ธุรกิจนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการพืชและสัตว์เศรษฐกิจหลักของประเทศตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain of Economic Plants and Animals)
    3) ธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า (Circular and Low-Carbon Economy)
    4) ธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy)
    5) ธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech)
    6) ธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง (Electric Vehicle : EV)


4) กลไกการขยายธุรกิจนวัตกรรม (Market Expansion)

  • ทุนสนับสนุนการทดสอบนวัตกรรมในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยสนับสนุนในสัดส่วนร้อยละ 100 กับกลุ่มลูกค้าภาครัฐ และสนับสนุนในสัดส่วนร้อยละ 50 กับกลุ่มลูกค้าภาคเอกชนคิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 2,000,000 บาทต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
  • สำหรับการขยายธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์ของธุรกิจฐานนวัตกรรมในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายพร้อมกับการประเมินความคุ้มค่าทางทางเศรษฐศาสตร์และความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจ
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดหรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการขยายการสู่เชิงพาณิชย์หรือขยายการตลาด
  • โดยปีงบประมาณ 2568 กำหนด 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนยายธุรกิจนวัตกรรม (Market Expansion) ได้ ประกอบไปด้วย 
    1) ธุรกิจนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการพืชและสัตว์เศรษฐกิจหลักของประเทศตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain of Economic Plants and Animals)
    2) ธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า (Circular and Low-Carbon Economy)
    3) ธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy)
    4) ธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech)
    5) ธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง (Electric Vehicle : EV)


5) กลไกสนับสนุนดอกเบี้ยบางส่วนเพื่อเสริมสภาพคล่อง (Matching Interest for Working Capital)

  • ทุนอุดหนุนสมทบบางส่วน (Matching Grant) ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
  • สภาพคล่องเพื่อการเติบโตของธุรกิจฐานนวัตกรรม
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดหรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการเพิ่มสภาพคล่องทางด้านการเงิน
  • โดยปีงบประมาณ 2567 กำหนด 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนนับสนุนดอกเบี้ยบางส่วนเพื่อเสริมสภาพคล่อง (Matching Interest for Working Capital) ได้ ประกอบไปด้วย 
    1) ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export)
    2) ธุรกิจนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการพืชและสัตว์เศรษฐกิจหลักของประเทศตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain of Economic Plants and Animals)
    3) ธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า (Circular and Low-Carbon Economy)
    4) ธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy)
    5) ธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech)
    6) ธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง (Electric Vehicle : EV)

 

6) กลไกการสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้มีโอกาสเติบโตและขยายตลาดโดยการร่วมมือจากแหล่งทุนภาครัฐและเอกชน (Corporate Co-funding)

  • ทุนอุดหนุนสมทบกำหนดเงื่อนไขการส่งคืนเมื่อโครงการประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ (recoverable grant) แก่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระยะเริ่มต้นจนถึงระยะเติบโต (seed to growth stage) คิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 5,000,000 บาท ต่อโครงการในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
  • สำหรับธุรกิจนวัตกรรมต่อยอดทุนจากผลงานวิจัย หรือธุรกิจนวัตกรรมที่ต้องการสร้างโอกาสเติบโตจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม พร้อมกับการประเมินมูลค่าธุรกิจและผลการดำเนินธุรกิจผ่านรายงานทางบัญชี
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดหรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการขยายการสู่เชิงพาณิชย์หรือขยายการตลาด
  • โดยปีงบประมาณ 2568 กำหนด 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนกลไกการสนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้มีโอกาสเติบโตและขยายตลาดโดยการร่วมมือจากแหล่งทุนภาครัฐและเอกชน (Corporate Co-funding) ได้ ประกอบไปด้วย 
    1) ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export)
    2) ธุรกิจนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการพืชและสัตว์เศรษฐกิจหลักของประเทศตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain of Economic Plants and Animals)
    3) ธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า (Circular and Low-Carbon Economy)
    4) ธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy)
    5) ธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech)
    6) ธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง (Electric Vehicle : EV)

แหล่งทุนที่ผ่านการรับรองภายใต้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA (Listed Investor)
ตามที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินโครงการนวัตกรรมภายใต้กลไก Corporate Co-funding ภายใต้แผนปฏิบัติการของ NIA ที่มีการพัฒนากลไกการเงินในรูปใหม่ที่เอื้อต่อการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรมเข้าสู่ระยะการเติบโตและต่อยอดการลงทุน (Growth Stage) ซึ่งลักษณะทุนจะเป็นทุนอุดหนุนสมทบกําหนดเงื่อนไขการส่งคืนเมื่อโครงการประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ (Recoverable Grant) แก่ผู้ประกอบการนวัตกรรมในการเติบโตของการดำเนินธุรกิจระยะ Seed ถึง Series A นั้น

ในการนี้ NIA ได้ดำเนินการพิจารณาแหล่งทุนที่มีความเหมาะสม และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำหนด/เกณฑ์ของ NIA เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 โดยอาศัยอำนาจตามความข้อ 11/3 ของระเบียบคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาและสนับสนุนโครงการนวัตกรรม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงขอประกาศรายชื่อแหล่งทุนที่ผ่านการรับรองภายใต้ NIA (Listed Investor) จำนวน 9 แหล่งทุน ดังนี้

  1. Openspace Ventures (NIA-CF101-2024-01-0001)
    บริษัท โอเพ่นสเปซ เวนเจอร์ จำกัด https://www.openspace.vc/ 
  2. Y&ARCHER (NIA-CF101-2024-01-0002)
    บริษัท วาย แอนด์ อาร์เชอร์ จำกัด https://ynarcher.com/ 
  3. InnoSpace (Thailand) (NIA-CF101-2024-01-0003)
    บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด http://www.innospacethailand.com/ 
  4. Thai Kodama (NIA-CF101-2024-01-0004)
    บริษัท ไทยโคโพลีอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด
  5. FINNOVENTURE PRIVATE EQUITY TRUST I (NIA-CF101-2024-01-0005)
    บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด https://www.krungsrifinnovate.com/th/Home 
  6. Krungsri Finnovate (NIA-CF101-2024-01-0006)
    บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด https://www.krungsrifinnovate.com/th/Home 
  7. NVEST VENTURE (NIA-CF101-2024-01-0007)
    บริษัท เอ็น-เวสต์ เวนเจอร์ จำกัด www.nvestventure.com 
  8. Beacon Venture Capital (NIA-CF101-2024-01-0008)
    บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด https://www.beaconvc.fund/ 
  9. CU Enterprise (NIA-CF101-2024-01-0009)
    บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด

7) กลไกนวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย (Zero Loan Interest)

  • ทุนอุดหนุน (Grant) ในสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 100 ของมูลค่าดอกเบี้ยคิดเป็นมูลค่าการสนับสนุนไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อโครงการ ในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี
  • สำหรับการขยายธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์ของธุรกิจฐานนวัตกรรม
  • เหมาะสำหรับวิสาหกิจฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พร้อมจะเข้าสู่ตลาดหรืออยู่ในตลาดเรียบร้อยแล้ว และต้องการขยายการสู่เชิงพาณิชย์หรือขยายการตลาด
  • เป็นกลไกที่สนับสนุนเงินอุดหนุนในรูปแบบของการสนับสนุนดอกเบี้ยเงินกู้จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ร่วมกับ สถาบันการเงินชั้นนำจำนวน 7 แห่ง ซึ่งจะเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อในโครงการ ได้แก่

    1. ธนาคารกรุงไทย
    2. ธนาคารกรุงเทพ
    3. ธนาคารกสิกรไทย
    4. ธนาคารไทยพาณิชย์
    5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
    6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
    7. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

    หากโครงการผ่านการอนุมัติจาก NIA ผู้ประกอบการจะได้รับการสนับสนุนดอกเบี้ยเงินกู้ในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีแรก 

  • โดยปีงบประมาณ 2568 กำหนด 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขอทุนนวัตกรรมดี...ไม่มีดอกเบี้ย (Zero Loan Interest) ได้ ประกอบไปด้วย 
    1) ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export)
    2) ธุรกิจนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการพืชและสัตว์เศรษฐกิจหลักของประเทศตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain of Economic Plants and Animals)
    3) ธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า (Circular and Low-Carbon Economy)
    4) ธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy)
    5) ธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech)
    6) ธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง (Electric Vehicle : EV)

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://mandatory.nia.or.th/ 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • อีเมล: mandatory@nia.or.th
  • ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export)
    โทร. 099-256-1455 (จิตรภณ)
  • ธุรกิจนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการพืชและสัตว์เศรษฐกิจหลักของประเทศตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain of Economic Plants and Animals)
    โทร. 087-563-2074 (ภัสสร)
  • ธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า (Circular and Low-Carbon Economy)
    โทร. 085-911-4691 (วัลยา)
  • ธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy)
    โทร. 061-446-6755 (พิชชารีย์)
  • ธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech)
    โทร. 085-525-5241 (สุทธิรักษ์), 088-962-4542 (อรุณี)
  • ธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV)
    โทร. 093-535-9498 (อภิวัฒน์), 097-936-9514 (มนัสกฤตย์)


ทุนนวัตกรรมเพื่อสังคม

เป็นกลไกให้ทุนสนับสนุนโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมแบบให้เปล่า (Grant) ในการพัฒนาต้นแบบหรือนำร่องนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่ช่วยแก้ไขปัญหาสังคมไทยในมิติต่างๆ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมอย่างยั่งยืน ส่งเสริมความเท่าเทียมกันในสังคม และสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ โดยแบ่งออกเป็น 4 โครงการหลักๆ ดังนี้

1. โครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมรายสาขา (Sectoral Social Innovation Project)

โครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมที่เปิดรับข้อเสนอโครงการจากทั่วทั้งประเทศ สนับสนุนความหลากหลายของแนวคิดนวัตกรรม สู่การพัฒนาต้นแบบหรือนำร่องนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่ช่วยแก้ไขปัญหาสังคมไทยทั้ง 9 มิติ ได้แก่ 

  1. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 
  2. ด้านความเชื่อมโยงระหว่าง อาหาร น้ำ และพลังงาน 
  3. ด้านการศึกษา 
  4. ด้านการเงิน การจ้างงาน และสวัสดิการสังคม 
  5. ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน 
  6. ด้านภาครัฐและความเป็นเมือง 
  7. ด้านสุขภาพ 
  8. ด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม 
  9. ด้านการจัดการภัยพิบัติ 
  • วงเงินสนับสนุนสูงสุด 1.5 ล้านบาทต่อโครงการ 

2. โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน (City and Community Innovation Challenge)

สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมสำหรับพัฒนาเมืองและชุมชน (Innovation for urbanization) โดยเกิดการบูรณาการ่วมกับพื้นที่ ทั้งหน่วยงานด้านการปกครอง องค์กรเอกชน องค์กรภาคสังคม และภาคประชาชน ผลักดันไปสู่การใช้งานจริงเพื่อแก้ไขปัญหาในประเด็นที่ท้าทายของชุมชนและเมือง 

  • วงเงินสนับสนุนสูงสุด 1.5 ล้านบาทต่อโครงการ

3. โครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Village)

สนับสนุนการนำผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมไปขยายผลสู่พื้นที่เป้าหมาย และก่อให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่สามารถแก้ไขปัญหา ส่งเสริม และสนับสนุน ยกระดับคุณภาพชีวิตในพื้นที่เป้าหมาย และเป็นต้นแบบการขยายผลผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่ช่วยแก้ปัญหาความยากจนหรือปัญหาตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ 

  • วงเงินสนับสนุนสูงสุดไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อโครงการ 

4. หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving Unit : SID)

เป็นการบ่มเพาะเพื่อยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมหรือผู้ที่สนใจ จนสามารถพัฒนาแนวคิดสู่ต้นแบบหรือโครงการนำร่องได้ ผ่านกิจกรรมเครือข่ายมหาวิทยาลัย การให้ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญและการบ่มเพาะ โดยหวังว่าจะเกิดนวัตกรเพื่อสังคม และกิจการเพื่อสังคมที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างมั่นคง และแก้ไขปัญหาสังคมในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม 

  • สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://social.nia.or.th/
  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อีเมล: [email protected]
  • ติดตามการรับสมัครทุกโครงการของนวัตกรรมเพื่อสังคมได้ที่ ข่าวประกาศ

 

“นวัตกรรม” แบบไหน ถึงขอรับทุนได้?

NIA ให้การสนับสนุน “นวัตกรรม” ทุกรูปแบบ ทั้งที่จับต้องได้ เช่น ผลิตภัณฑ์ สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี แอปพลิเคชัน รวมถึงนวัตกรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ หรือกระบวนการใหม่ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ภาคเศรษฐกิจและสังคม

 

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

  • นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย (บริษัท หจก. มูลนิธิ สมาคม วิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์) 

    ซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่ร้อยละ 51 ของนิติบุคคลนั้น ถือโดยบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย

    *หมายเหตุ: บุคคลธรรมดาไม่สามารถยื่นขอรับทุนสนับสนุนโครงการจาก NIA ที่เป็นภาครัฐได้ เนื่องจากระเบียบสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการสนับสนุนโครงการนวัตกรรม NIA จะให้การสนับสนุนโครงการแก่ “นิติบุคคล” ที่ถือหุ้นโดยบุคคลสัญชาติไทยมากกว่าร้อยละ 51 เท่านั้น ดังนั้น บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่ถึงร้อยละ 51 จึงไม่สามารถขอรับทุนสนับสนุนได้

     

  • ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น
    (เว้นแต่ทุนนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ซ้ำซ้อนจากที่ขอรับการสนับสนุน)

  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
    ตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง หรือผู้ต้องโทษในคดีอาญา

     

รูปแบบเงินสนับสนุน

  • ผู้ผ่านเกณฑ์การสนับสนุนจะได้รับเงินสนับสนุนเพื่อดำเนินโครงการมูลค่าไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อโครงการ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนโครงการที่สำนักงานฯ
  • การจ่ายเงินเพื่อให้การสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการจะเป็นลักษณะการเบิกค่าใช้จ่ายย้อนหลัง (reimbursement) กล่าวคือ ผู้รับทุนสนับสนุนจะต้องออกค่าใช้จ่ายแต่ละงวดไปก่อน แล้วจึงนำเอกสารค่าใช้จ่ายมาเบิกจ่ายจาก NIA แล้ว NIA จะทำการเบิกจ่ายให้เป็นรายงวด
  • กรณีผู้ขอรับทุนเป็นภาคเอกชน จะต้องแสดงค่าใช้จ่าย (In-Cash) ที่เกิดขึ้นหลังจากลงนามสัญญาส่วนของผู้ขอรับทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าโครงการ
  • NIA ไม่สนับสนุนค่าใช้จ่ายในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax, VAT)
  • ไม่สามารถขอรับการสนับสนุนในนามของนักวิจัยโดยตรงได้ โดยผู้ยื่นขอรับการสนับสนุนต้องเป็นหน่วยงานที่นักวิจัยสังกัดอยู่เท่านั้น

 

วิธีการสมัครขอรับทุนสนับสนุน

ไม่ว่าจะสมัครโครงการอะไรของทั้ง ทุนนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ และ ทุนนวัตกรรมเพื่อสังคม ผู้ประกอบการจะต้องสมัครที่เว็บไซต์ https://mis.nia.or.th/ โดยกดสมัครสมาชิกก่อน จากนั้นกดเมนูเข้าใช้งานระบบเพื่อ Login เข้าสู่ระบบ คลิกที่เมนูยื่นโครงการใหม่และเลือกโครงการที่ต้องการสมัคร

ขั้นตอนการขอรับทุนสนับสนุนจาก NIA

ขั้นตอนขอรับทุนสนับสนุนจาก NIA

 

ทั้งนี้สามารถดูคู่มือการสมัครยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนได้ที่ >> คู่มือการสมัครขอทุนกับ NIA

 

ข่าวกิจกรรม

ดูทั้งหมด

คอนเทนต์นวัตกรรม

ดูทั้งหมด