สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

ยุทธศาสตร์

News d-none 1 ตุลาคม 2565 84,984

กลยุทธ์การดำเนินงานของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA
ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570)

บทบาทของ NIA จาก “System Integrator” ปรับสู่ “Focal Facilitator” และปัจจุบันก้าวสู่ “Focal Conductor”

National Innovation Focal Conductor

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. หนึ่งในหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ภายใต้บทบาทของป็นผู้ประสานงานเชื่อมโยง (System Integrator) จนถึงการเป็นผู้อำนวยความสะดวกทางนวัตกรรม (Focal Facilitator) และปัจจุบันก้าวสู่ “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม” (Focal Conductor) จึงเป็นการเปลี่ยนผ่านหน้าที่สู่การเชื่อมโยงให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนในการกำหนดนวัตกรรมประเทศให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน ผ่าน 3 กลไกหลัก “Groom-Grant-Growth” คือ การบ่มเพาะโครงการ การระดมทุนให้กับผู้ประกอบการ และเพิ่มมูลค่าการเติบโตของตลาดนวัตกรรมและนวัตกรรายใหม่ เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีให้เป็นนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ที่สนับสนุนและเร่งพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและสังคมฐานความรู้ 

 

FocalConductor_NIA_Strategy

 

กลยุทธ์ที่ 1 ทำให้ระบบนวัตกรรมไทยเป็นระบบที่เปิดกว้าง (Open System)

พัฒนาระบบนวัตกรรมสู่ระบบที่เปิดกว้างและเชื่อมโยง เพื่อเพิ่มจำนวนธุรกิจนวัตกรรมที่มีศักยภาพในระดับมวลวิกฤตที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อประเทศ โดยการพัฒนาความร่วมมือทั้งในระดับประเทศและระดับเวทีสากล และสร้างโอกาสการเข้าถึงทรัพยากรและการสนับสนุนอย่างทั่วถึง

เป้าประสงค์

ความเข้มแข็งระบบนวัตกรรมในระดับพื้นที่ (Regionalization)

  • เพิ่มจำนวนบุคลากรนวัตกรรมที่มีศักยภาพในพื้นที่
  • เพิ่มจำนวนผลงานและธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่
  • สร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม

การยอมรับในระดับสากล (Internationalization)

  • สร้างการยอมรับถึงโอกาสและศักยภาพด้านนวัตกรรมของประเทศ
  • สร้างการเติบโตของผลงานและธุรกิจนวัตกรรมจากตลาดในและต่างประเทศ

 

กลยุทธ์ที่ 2 พลิกโฉมระบบการเงินนวัตกรรมไทย (Investment Friendly Platform)

เชื่อมโยงแหล่งเงินทุนนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดระบบการเงินนวัตกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม สนับสนุนการเติบโต และเข้าถึงได้ และเป็นเครื่องมือสำคัญเชิงระบบที่ช่วยให้ธุรกิจนวัตกรรมสามารถสร้างการเติบโตและผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

เป้าประสงค์

การบริหารทุนพัฒนานวัตกรรม (Financing Innovation)

  • เพิ่มจำนวนเงินทุนสนับสนุนสำหรับนวัตกรรมในระบบ
  • เพิ่มโอกาสการเข้าถึงให้กับธุรกิจนวัตกรรม
  • สร้างกลไกสนับสนุนใหม่ที่ตอบความต้องการธุรกิจนวัตกรรม

การส่งเสริมการเติบโตด้านการลงทุน (Innovation Investment)

  • สร้างการเติบโตผ่านการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม
  • สร้างความคุ้มค่าในเงินทุนสนับสนุนนวัตกรรม

 

กลยุทธ์ที่ 3 สร้างระบบข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม (Intelligent Innovation System)

สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและเชิงระบบด้วยการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์เครือข่ายข้อมูลนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจบนหลักฐานเชิงประจักษ์ของนักนโยบายและผู้ประกอบการในการสร้างและพัฒนานวัตกรรม

เป้าประสงค์

การสร้างนวัตกรรมด้วยข้อมูล (Data-driven Innovation)

  • ระบบข้อมูลเปิดสำหรับการวางแผนและตัดสินใจด้านนวัตกรรม
  • สร้างการเติบโตของการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลนวัตกรรม

การสร้างนวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Innovation)

  • สร้างนวัตกรรมเชิงนโยบายและนวัตกรรมภาครัฐที่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง
  • สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายนวัตกรรมเชิงโนบายและนวัตกรรมภาครัฐ

 

กลยุทธ์ที่ 4 เป็นองค์กรสมรรถนะสูงที่พร้อมต่อความเปลี่ยนแปลง (Agency for Change)

ยกระดับ สนช. สู่องค์กรสมรรถนะสูงที่ตอบสนองต่อระบบนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลง และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยการปรับเปลี่ยนสู่องค์กรดิจิทัล ปรับใช้มาตรฐานการบริหารจัดการ และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร

เป้าประสงค์

มุ่งสู่องค์กรสมรรถนะสูง (Competent Organization)

  • ปรับเปลี่ยนสู่องค์กรดิจิทัลเต็มรูปแบบ
  • ยกระดับสมรรถนะบุคลากร สนช.

สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน (ESG)

  • ยกระดับคุณภาพบริการโดยการปรับใช้มาตรการบริหารจัดการที่เหมาะสม
  • แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการปรับใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมกับการบริหารงาน

 

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม