สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
วันที่ 11 เดือน 11 พ.ศ. 2565 เป็นหมุดหมายความร่วมมือต่อเนื่องของ ภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์ หรือ SynBio Consortium จากปี 2564 ที่ผนึกกำลังของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มหาวิทยาลัย จำนวน 17 หน่วยงาน สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “Thailand Synthetic BioEconomy Outlook and Key Milestones” และในปี 2565 ขยายเครือข่ายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 5 หน่วยงาน พร้อมประกาศร่างแผนที่นำทางการพัฒน...
เบื่อแล้วองค์กรแบบเดิมๆ อยากเปลี่ยนองค์กรให้โดนใจคนรุ่นใหม่ พร้อมคิดและสร้างสรรค์นวัตกรรม!จะหาหนังสือมาอ่าน หรือเปิดคลิปสัมภาษณ์แนวคิดก็จะพบแต่องค์กรระดับโลกที่มีสูตรความสำเร็จเฉพาะตัว เช่น Google ที่เน้นหลักคิดการทำงานแบบ DEI ซึ่งหมายถึง “Diversity (ความหลากหลาย) Equality (ความเท่าเทียม) Inclusion (การเปิดรับคนทุกคน)” ถือเป็นแนวคิดที่สอดแทรกการทำงานตั้งแต่การพัฒนานวัตกรรมไปจนถึงการด...
สวิตเซอร์แลนด์ ประเทศที่ไม่ได้มีดีแค่นาฬิกา แต่มีดีกรีการพัฒนาจนครองแชมป์ดัชนีโลกนวัตกรรมโลกถึง 11 ปีซ้อน!พวกเขาก้าวขึ้นมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร จากประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีทางออกทางทะเล ตั้งอยู่กลางหุบเขาและรายล้อมด้วยทะเลสาบ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีมูลค่าก็มีเพียงน้อยนิด แถมมีประชากรเพียง 8.6 ล้านคน ซึ่งน้อยกว่าประชากรในจังหวัดกรุงเทพฯ จังหวัดเดียวเสียอีกแต่กลับเป็นประเทศที่สามารถครองแชมป์อันดับ 1 จากการ...
Inbox เด้งรัวๆ! แอดมิน NIA เลยขอตัวมาช่วยตอบคำถามให้ทุกคนหายสงสัยเชื่อว่าหลายคนที่ต้องการมาขอทุนกับ NIA มีคำถามมากมายเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประเภทของทุน คุณสมบัติของผู้รับทุน ไปจนถึงเงื่อนไข ระยะเวลาสมัคร ข้อกำหนดที่แตกต่างกันในแต่ละโครงการ วันนี้จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะมาตอบคำถามยอดฮิตที่ทุกคนถามกันเข้ามามากที่สุด ส่วนจะมีคำถามอะไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย!แต่ถ้าใครมีคำถามที่นอกเหนือจากนี้...
NIA เดินหน้าสร้างเครือข่ายนวัตกรรม ทั้งในระดับเมือง ภูมิภาค ประเทศ ไปจนถึงระดับโลกขับเคลื่อนไทยสู่ “ชาติแห่งนวัตกรรม” หมุดหมายสำคัญซึ่งเป็นพันธกิจหลักของ NIA ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน หลายภาคส่วน แต่กว่าจะไปถึงเป้าหมายนั้น กลไกหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยก็คือ “การพัฒนาเครือข่าย” หรือการสร้างพันธมิตร เพราะการขับเคลื่อนระบบนิเวศนวัตกรรมไทย ต้องอาศัยเครือข่ายความร่วม...
เพราะเรื่อง “นวัตกรรม” คือสิ่งที่เรียนรู้ได้ตลอดชีวิตการเป็นเจ้าของธุรกิจหรือผู้สร้างนวัตกรรมในยุคนี้ ประสบการณ์หรือความสำเร็จในอดีตอาจไม่เพียงพอต่อการเผชิญกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะเห็นได้จากบริษัทยักษ์ใหญ่จำนวนมากที่คิดและปรับตัวได้ช้าก็จะค่อยๆ ล้มหายตายจากไป แต่ในทางตรงกันข้ามกลับมีบริษัทเกิดใหม่มากมายที่เติบโตสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเพียงเพราะพวกเขากล้าที่จะเรียนรู้...
พร้อมอัปเกรดระบบนิเวศนวัตกรรมไทย! กับบทบาทใหม่ของ NIA และกลยุทธ์ที่จะพาประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่การเป็น “ชาติแห่งนวัตกรรม”ถ้าเปรียบระบบนวัตกรรมเป็นเหมือนกับบางสิ่ง ก็คงเทียบได้กับวงออร์เคสตราวงใหญ่ที่กำลังบรรเลงบทเพลงอยู่บนเวที ซึ่งต้องอาศัยยอดฝีมือจากทั่วทุกสารทิศมานั่งทำหน้าที่ตามที่ตัวเองถนัดในตำแหน่งนั้นๆ โดยมีจุดหมายร่วมกันนั่นคือการบรรเลงบทเพลงให้ไพเราะที่สุด นั่นก็เพราะการพัฒนาร...
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า 16 ตุลาคมของทุกปีตรงกับ “วันอาหารโลก หรือ World Food Day” ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations; FAO) เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนัก และเกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาความอดอยาก หิวโหย และทุพโภชนาการ สำหรับปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม "Leave NO ONE Behind"...
DeepTech กำลังจะเป็นคลื่นลูกที่ 4 ของนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต โดยในอดีต คลื่นลูกที่ 1 ประกอบด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรม คลื่นลูกที่ 2 คือการขับเคลื่อนโดยหน่วยปฏิบัติการขององค์กรเป็นหลัก เช่น IBM, XeroxParc พร้อมทีมสหวิชาชีพที่มีความสามารถสูง ซึ่งมีส่วนร่วมอย่างมากในวงการวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มจากการทำการวิจัยขั้นพื้นฐานเป็นหลัก ส่วนคลื่นลูกที่ 3 เริ่มจาก “Silicon Valley” โดยเน้นการพัฒน...
หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาสิทธิบัตรร่วมเพื่อสนับสนุนระบบนิเวศนวัตกรรมสนับสนุนผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)