สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA นำโดย ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมประชุมเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาระบบนวัตกรรมภูมิภาคใต้

News 2 เมษายน 2567 1,284

NIA นำโดย ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการพิจารณาและกลั่นกรองโครงการนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจภูมิภาคใต้ และ รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมประชุมเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาระบบนวัตกรรมภูมิภาคใต้ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2567 ณ ห้องอาหาร The riva restaurant โรงแรมลากูน่ส แกรนด์ แอนด์ สปา สงขลา

Cooperation network meeting_1.jpg

 
การจัดประชุมเครือข่ายนวัตกรรมพื้นที่ภาคใต้ครั้งนี้มีหน่วยงานเครือข่ายนวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เข้าร่วมประชุมมากกว่า 20 หน่วยงาน ทั่วภาคใต้ ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเครือข่ายเข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) อุทยานวิทยาศาสตร์นวัตกรรมสังคม และสถาบันส่งเสริมการบริการวิชาการ (มหาวิทยาลัยทักษิณ) สํานักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย) ศูนย์พัฒนาอุตสหกรรมเพื่อการส่งออก (ADCED) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 สภาอุตสหกรรม จ.นครศรีธรรมราช สมาพันธ์เอสเอ็มอี (จ.สงขลาและสตูล) YEC (จ.สงขลา สตูล และพัทลุง)
 
ทั้งนี้ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวถึงบทบาทของ NIA ในการเป็น "Focal Conductor: ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม" และแนวทางการดำเนินงาน ของ NIA ในปี พ.ศ. 2567 - 2571 ที่มีพันธกิจหลักในการสร้างและส่งเสริมระบบนวัตกรรมแห่งชาติ สร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม และยกระดับทักษะและขีดความสามารถทางนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และมี 5 เป้าหมายในการดำเนินงาน ประกอบด้วย การสร้างและเชื่อมโยงแพลตฟอร์มพัฒนาผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (IBEs) การสร้างนวัตกรและ IBEs ผ่าน NIA Academy การสร้างระบบนวัตกรรมไทยให้เข้มแข็ง การยกระดับนวัตกรรมไทยในดัชนีนวัตกรรมโลก และปรับบทบาท NIA ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้กลยุทธ์ของสำนักงาน พร้อมกันนี้ ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้พูดถึงกลไกสนับสนุนด้านการเงินรูปแบบใหม่ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มุ่งเน้นการสนับสนุนนวัตกรรมให้สามารถขยายผลเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น ทั้งระดับส่วนกลางและระดับภูมิภาค (Reginal Innovation)
 
ภายในงานได้เปิดเวทีให้หน่วยงานเครือข่ายนวัตกรรมได้ร่วมเเลกเปลี่ยนบทบาทในการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมในพื้นที่ภูมิภาคใต้ให้เเข็งเเกร่งขึ้นต่อไปในอนาคต