สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

LInG Local Innovative Government สร้าง ‘ผู้นำท้องถิ่น’ ขับเคลื่อนนวัตกรรมเชิงนโยบาย แก้ปัญหาในระดับพื้นที่

28 มีนาคม 2567 472

LInG Local Innovative Government สร้าง ‘ผู้นำท้องถิ่น’ ขับเคลื่อนนวัตกรรมเชิงนโยบาย แก้ปัญหาในระดับพื้นที่

🌫 อากาศสะอาด ปัญหาปากท้อง อุบัติเหตุบนถนน ฝุ่น PM 2.5 ขยะส่งกลิ่นเหม็นทั่วเมือง การศึกษาที่เท่าเทียม ฯลฯ อีกสารพัดปัญหาที่ลำพังแค่การจัดการโดยนโยบายจากส่วนกลางอาจไม่สามารถดูแลได้ครอบคลุมทั้งหมด

🗃 ตัวแปรสำคัญในสมการนี้ คือ “หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น” ซึ่งจะต้องเข้ามาทำหน้าที่รับไม้ต่อ นำนโยบายระดับชาติไปพัฒนาแผนแก้ไขปัญหาชุมชน นอกจากนั้น การมีอยู่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างผู้นำทางการเมือง และมีส่วนช่วยในการกระจายอำนาจให้แต่ละชุมชน ที่จะสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง ทำให้เกิดการพัฒนาที่เหมาะสม ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นที่ต่างมีจุดเด่นหรือจุดที่ต้องปรับแก้ที่ไม่เหมือนกัน

👮 แต่การจะพัฒนาพื้นที่ให้มีศักยภาพ ต้องเริ่มจากการสร้าง ‘ผู้นำท้องถิ่น’ ที่มาจากหลายองค์ประกอบ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคม สื่อมวลชน  ให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความท้าทาย และความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในการปกครอง พร้อมทั้งต้องได้รับการฝึกฝนทักษะการบริหารงาน การจัดการ การนำนวัตกรรมเชิงนโยบายไปขับเคลื่อน ซึ่งจะเป็นได้ทั้งการนำไปเพื่อแก้ไขปัญหาเดิมที่กำลังเผชิญอยู่ หรือพัฒนาเป็นบริการสาธารณประโยชน์ใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และสร้างสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ภายในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น 

ดังนั้น การจะพัฒนาผู้นำท้องถิ่นให้เข้มแข็ง NIA จึงได้จัดทำหลักสูตรสร้างผู้นำและเครือข่ายด้านนวัตกรรมระดับท้องถิ่น หรือ Local Innovative Government (LInG) อ่านว่าหลักสูตร “ลิ้ง” ที่มีเป้าหมายในการสร้างผู้นำและเครือข่ายนวัตกรรมระดับท้องถิ่น ซึ่งแนวทางในการพัฒนากลุ่มผู้นำระดับท้องถิ่นจะต้องเรียนรู้ในเรื่องใดบ้าง ไปดูเนื้อหาในหลักสูตรนี้กัน!  

1. Unlocking the local power : เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจถึงคำว่า ‘นวัตกรรม’ ทลายกรอบแนวคิดเดิมๆ จนเกิดเป็นการสร้างนวัตกรท้องถิ่น ที่สามารถนำนวัตกรรมมาช่วยแก้ไขปัญหา

2. Find spatial issues : การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาในเชิงพื้นที่ว่าคืออะไร พร้อมทั้งสะท้อนข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้นในการสร้างนวัตกรรม

3. Identify need & want : การมองเห็นความต้องการของแต่ละพื้นที่อย่างเข้าใจ และนำมาเรียบเรียงใหม่อย่างเป็นระบบเพื่อช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ

4. Let’s innovate : ระดมสมอง ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดด้านนวัตกรรม และทำให้เกิดการรวบรวมแนวทางการจัดการปัญหา

5. Everything else about innovation : เรียนรู้ผ่านตัวอย่างที่ล้มเหลวและประสบความสำเร็จ ในการพัฒนานวัตกรรมระดับท้องถิ่น

6. Exploring your local innovation eco-system : สำรวจแนวทางการสร้างระบบนิเวศและองค์กรนวัตกรรมในท้องถิ่นของตัวเอง

7. Initiate and create prototypes : การผลิตต้นแบบนวัตกรรมในพื้นที่ โดยจะมีการแลกเปลี่ยนไอเดีย ความคิด คำแนะนำที่ดีจากพื้นที่อื่นๆ ควบคู่กัน

8. Sub-unit : การเรียนรู้จากกรณีศึกษาอย่างลงลึกด้วยการเข้าไปสำรวจพื้นที่ ที่มีการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรม

9. Stakeholders pitching : นำเสนอต้นแบบนวัตกรรมนโยบายที่เกิดจากความร่วมมือของผู้เข้าอบรมในแต่ละพื้นที่

📑 จากแนวทางทั้งหมดนี้ หลักสูตร LInG จะเข้ามาช่วยสร้างผู้นำต้นแบบ ในการจัดการปัญหาของชุมชน ด้วยการนำองค์ความรู้ และแนวทางการบริหารจัดการด้านนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ สร้างองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นองค์กรฐานนวัตกรรม และเกิดการพัฒนาพื้นที่ด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เป็นการเสริมความเข้มแข็งให้กับกลไกภาครัฐ สู่การแก้ไขปัญหาเชิงระบบและสร้างบริการสาธารณประโยชน์ที่เกิดจากความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง 

พี่ใหญ่ระดับท้องถิ่นท่านใดที่สนใจอยากมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ เตรียมตัวเข้ามาเรียนรู้กับ NIA Academy ได้เลย!
สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม และสมัครเข้าร่วมการอบรมได้ที่ : https://forms.gle/mtL5iQ5r3KysbGU67 

ระยะเวลาการอบรม : อบรมทุกวันศุกร์-เสาร์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. - 22 มิ.ย. 2567
สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ - 22 เมษายน 2567

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
อีเมล: [email protected]
โทร. 080-0882-8287 (นุ๊ก)

อ้างอิงข้อมูลจาก : 
http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การปกครองส่วนท้องถิ่น