สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA นำโดย ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA จัดประชุมเครือข่ายนวัตกรรมในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่ภาคเหนือ

News 23 ธันวาคม 2566 630

NIA นำโดย ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม เเละ นายชาญวิทย์ รัตนราศรี ผู้อำนวยการฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม จัดประชุมเครือข่ายนวัตกรรมในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่ภาคเหนือ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม Win Chill โรงแรม วินทรี ซิตี้ รีสอร์ท เชียงใหม่

Northern Conference_1.jpg

การจัดประชุมเครือข่ายนวัตกรรมพื้นที่ภาคเหนือครั้งนี้มีหน่วยงานเครือข่ายนวัตกรรมในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และสมาคม เข้าร่วมประชุมมากกว่า 10 หน่วยงาน โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเครือข่ายเข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภาคเหนือ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยเเม่โจ้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดเชียงใหม่ หอการค้า จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ YEC หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรม จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สาขาภาคเหนือตอนบน) และหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving Unit) ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
 
ทั้งนี้ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวถึงบทบาทของ NIA ในการเป็น Focal Conductor: ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม และแนวทางการดำเนินงาน ของ สนช. ในปี พ.ศ. 2567 - 2571 ที่มีพันธกิจหลัก 3 พันธกิจ ในการสร้างและส่งเสริมระบบนวัตกรรมแห่งชาติ สร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงการสร้างพื้นฐานนวัตกรรม และ ยกระดับทักษะและขีดความสามารถทางนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และมี 5 เป้าหมายหลักในการดำเนินงาน ประกอบด้วย การสร้างเชื่อมโยงแพลตฟอร์มพัฒนา IBEs การสร้างนวัตกรและ IBEs ผ่าน NIA Academy การสร้างระบบนวัตกรรมไทยและ Innovation Ecosystem ให้เข้มแข็ง การยกระดับนวัตกรรมไทยในดัชนีนวัตกรรมโลก และปรับบทบาท NIA ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้กลยุทธ์ของสำนักงาน พร้อมกันนี้ ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้พูดถึงกลไกสนับสนุนด้านการเงินรูปแบบใหม่ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนนวัตกรรมให้สามารถขยายผลเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น
 
ภายในงานได้เปิดเวทีให้หน่วยงานเครือข่ายนวัตกรรมได้ร่วมเเลกเปลี่ยนบทบาทในการพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานร่วมกันในการพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมตลอดจนระบบนิเวศนวัตกรรมในพื้นที่ภูมิภาคเหนือให้เเข็งเเกร่งขึ้นในอนาคต