ระยะยาว (5 ปีขึ้นไป) มุ่งเน้นการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้น บนฐานของชีววิทยาสังเคราะห์ จนนําไปสู่การสร้างอุตสาหกรรมใหม่ (New S-curve)
จากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อ SynBio for SDGs: How to link Global SynBio with Thai Economy เพื่อแชร์ประสบการณ์ของการพัฒนาอุตสาหกรรมชีววิทยาสังเคราะห์ผ่านการสร้างเครือข่ายจากสิงคโปร์ (Singapore Consortium for Synthetic Biology) เกาหลีใต้ (Synthetic Biology Research Center Korea Research Institute of Bioscience and Biotechnology) เยอรมัน (German Association for Synthetic Biology) และ ประเทศไทย ที่แสดงให้เห็นแนวทางดำเนินงานร่วมกันคือการที่ภาครัฐสนับสนุนงานวิจัยขั้นพื้นฐาน (basic research) และสร้างกลไกสนับสนุนให้ภาคเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจะต้องมีงาน วิจัยพื้นฐานสนับสนุนให้มีการดำเนินงานอยู่ตลอดเวลาโดยภาครัฐ ทั้งนี้กลไกการสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยีเชิงลึกที่จะช่วยให้สามารถนำออกไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็ว ภาครัฐจำเป็นต้องสร้างระบบนิเวศให้เพียงพอเพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก หรือ DeepTech Industry