สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

กระบวนการสร้าง ‘โค้ช’ ใน STEAM4INNOVATOR Trainers’ LAB

11 สิงหาคม 2565 2,009

กระบวนการสร้าง ‘โค้ช’ ใน STEAM4INNOVATOR Trainers’ LAB มีหลักสำคัญอะไรบ้าง?

#TrainersLabSeries

กระบวนการสร้าง ‘โค้ช’ ใน STEAM4INNOVATOR Trainers’ LAB
 
ก่อนที่จะพูดถึงกระบวนการสร้างโค้ช ต้องบอกก่อนว่าโครงการ Trainers’ LAB ตั้งใจที่จะสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์ผ่านการสร้างโค้ช โดยแบ่ง Phase การพัฒนา “ผู้-สร้าง-นวัตกร” ดังนี้
  • Phase 1 “ผู้” นำศูนย์ฯ - สร้างกลุ่มอาจารย์แกนนำ Node ผู้กระจายความรู้การโค้ชและการสร้างนวัตกรแบบ STEAM4INNOVATOR ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
  • Phase 2 “สร้าง” โค้ชและเครือข่าย - ขยายเครือข่ายโค้ชออกไปยังมหาวิทยาลัยที่ดูแล
  • Phase 3 “นวัตกร” ในพื้นที่ - สู่การเผยแพร่ความรู้ให้กับน้องนวัตกรรุ่นเยาว์ด้วยทักษะการโค้ช
 
แล้วหลักสำคัญในกระบวนการสร้าง ‘โค้ช’ มีอะไรบ้าง?
  •  ลองประสบ
    ให้ผู้เป็น ‘โค้ช’ ได้ลองเรียนรู้และทำกิจกรรมในฐานะผู้เข้าร่วมเอง เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจมุมมองของผู้เข้าร่วมหรือจำลองสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น และเปิดพื้นที่ให้บรรดาโค้ชได้ถกเถียงหรือทำกิจกรรมเอง เป็นการปล่อยให้เกิดการเรียนรู้และตกตะกอนด้วยตนเอง
  • ถามให้คิด
    ต่อยอดจากการกระทำของโค้ช ให้ลองถามและคิดต่อยอดจากปัญหาหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นขณะทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้พัฒนาทักษะการเป็นโค้ชต่อไป
  • สะท้อนคิด
    โค้ชจะเห็นตัวเองมากขึ้นเมื่อได้รับการ feedback จากคนอื่น ฉะนั้นการสร้างโค้ช จึงมีช่วงของการสะท้อนคิดของตัวเองและจากผู้สังเกตการณ์ด้วยเสมอซึ่งการสะท้อนและตกตะกอนการเรียนรู้สามารถทำในลักษณะกลุ่ม เพื่อเพิ่มความเข้มข้นและแบ่งปันการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้มีหลากหลายมุมมองขึ้น

  • มองตัวอย่าง
    ให้เรียนรู้การโค้ชจากต้นแบบ ทั้ง facilitator ผู้นำกิจกรรมในหลัก และกิจกรรมย่อย เพื่อนำทักษะต่างๆ ไปใช้ในการโค้ชหรือการจัด workshop ครั้งต่อไป

  • เสริมความมั่นใจ
    หาจุดชื่นชมจากใจจริงให้กับโค้ชแต่ละคน เพื่อสร้างเสริมความมั่นใจและสามารถไปโค้ชให้กับเยาวชนต่อได้อย่างเต็มที่

  • อัพสกิล
    หลังจากที่โค้ชได้ทดลอง เรียนรู้ สะท้อน และตกตะกอนบทเรียนแล้ว ให้โค้ชทดลองทำกระบวนการทั้งหมดอีกครั้ง เพื่อพัฒนาความสามารถไปอีกขั้นหนึ่ง ในส่วนนี้จะช่วยให้โค้ชเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง
หลักในการสร้างโค้ชในครั้งนี้ ได้นำมาจากการถอดบทเรียน Phase 1 ของโครงการ
ซึ่งเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะเรายังมีกิจกรรมและบทเรียนจากอาจารย์แกนนำ Node อีกมากมายให้ติดตาม
 
สามารถติดตามเนื้อหา ของผู้สร้างนวัตกรได้ทาง #TrainersLab และ FB Page: STEAM4INNOVATOR