สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ได้รับเชิญร่วมเสวนาวิชาการในหัวข้อ “งานวิจัยและนวัตกรรมที่มีผลกระทบสูง และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ” ในงานมหกรรมงานวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2565 (CMU High Impact Research & Innovation Expo)

News 22 กรกฎาคม 2565 899

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ได้รับเชิญร่วมเสวนาวิชาการในหัวข้อ “งานวิจัยและนวัตกรรมที่มีผลกระทบสูง และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ” ในงานมหกรรมงานวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2565 (CMU High Impact Research & Innovation Expo)


 ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ได้รับเชิญร่วมเสวนาวิชาการในหัวข้อ “งานวิจัยและนวัตกรรมที่มีผลกระทบสูง และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ” ในงานมหกรรมงานวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2565 (CMU High Impact Research & Innovation Expo) วันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติเสวนาร่วมกับ รศ.ดร. ธงชัย สุวรรณสิชณน์ รองผู้อำนวยการด้านบริหารงานวิจัย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และ ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้ได้ร่วมเสวนาในประเด็นบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ที่มีผลกระทบสูงและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 


โดย ดร.พันธุ์อาจ ได้บรรยายถึง บทบาทของ NIA ในการช่วยส่งเสริมให้เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามพันธกิจของสำนักงานฯ 5 ด้าน ได้แก่ 1. ยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ และอุตสาหกรรมใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งระดับภูมิภาค ระดับประเทศและนานาชาติ 2. เชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอย่างบูรณาการ โดยให้การสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและการเงิน 3. ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมที่อยู่ในภูมิภาคร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ทั้งภาคการศึกษา ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดทรายเม็ดใหม่ที่เป็นทั้ง Stratup และ SMEs 4. สนับสนุนการยกระดับทักษะความสามารถของบุคลากรด้านเทคนิค และการบริหารจัดการองค์กร ให้เกิดเป็นองค์กรนวัตกรรม และ 5. สร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมนวัตกรรมทั้งในระดับอุตสาหกรรม ระดับองค์กร และประชาชน

สุดท้ายได้กล่าวถึงแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมไว้ว่า ต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ ในการสร้างระบบนวัตกรรมแบบเปิดทั้งในระดับภูมิภาค ประเทศ และนานาชาติ  เพื่อเอื้อให้ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในพื้นที่ ส่งเสริมให้เกิดทรายเม็ดใหม่ และเกิดการกระจายตัวของ Startup และ SMEs ไปยังภูมิภาคมากขึ้น โดยมหาวิทยาลัยจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ผู้ประกอบการนำงานวิจัยไปใช้ในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ