MANDATORY INNOVATION

คือ ทุนให้เปล่า (Grant) แบบอุดหนุนบางส่วน (Matching Fund) สำหรับสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมเพื่อพัฒนาและนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงพาณิชย์มาทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน (Efficiency) ในสภาพแวดล้อมจริง (หรือใกล้เคียง) ก่อนและหลังออกสู่ตลาด ทดสอบตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และที่ปรึกษาสำหรับขับเคลื่อนการขยายธุรกิจ โดยต้นแบบดังกล่าวต้องมีความเป็นนวัตกรรมระดับประเทศขึ้นไป ในด้านผลิตภัณฑ์ (Product)  บริการ (Service) หรือกระบวนการ (Process) และสามารถสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่กำหนด (Theme) ​

NIA Academy MOOCs

แพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านนวัตกรรม สำหรับผู้ที่สนใจขอทุนสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ จากทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อเป็นการเรียนรู้ประเภทของทุน เงื่อนไขต่าง ๆ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมก่อนและหลังการได้รับทุน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการมากขึ้น และรวดเร็ว

กลไกการสนับสนุน (Mechanisms)

นวัตกรรมแบบมุ่งเป้า

การทดสอบตลาด การปรับปรุงผลิตภัณฑ์
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
และการลงทุน

ที่ปรึกษาพัฒนานวัตกรรม

การจ้างที่ปรึกษา การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กรด้านกลยุทธ์ธุรกิจ การตลาด ทรัพย์สินทางปัญญา การบัญชี การเงินและการลงทุน การค้าระหว่างประเทศ

มาตรฐานสำหรับธุรกิจ

การจ้างที่ปรึกษา การปรับปรุงพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ทดสอบเพื่อขอขึ้นทะเบียน การตรวจประเมินและขอรับรองมาตรฐาน

การขยายธุรกิจนวัตกรรม

การดำเนินงานทดสอบใช้งานในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย พร้อมกับการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการดำเนินธุรกิจ

ดอกเบี้ยเพื่อเสริมสภาพคล่อง

การเพิ่มสภาพคล่องเพื่อการเติบโตของธุรกิจฐานนวัตกรรมด้วยเงินทุนสนับสนุนดอกเบี้ยร่วมกับสถาบันทางการเงิน

นวัตกรรมดีไม่มีดอกเบี้ย

การขยายผลิตภัณฑ์หรือบริการสู่เชิงพาณิชย์ด้วยเงินทุนสนับสนุนดอกเบี้ยร่วมกับสถาบันทางการเงิน

ขยายธุรกิจด้วยแหล่งเงินทุน

กิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การเพิ่มกำลังการผลิต การขยายทีม การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

*สนับสนุบร่วมกับนักลงทุนที่ผ่านการรับรอง

สาขาที่เปิดรับสมัคร


อาหารและผลไม้มูลค่าสูงเพื่อการส่งออก


พืชและสัตว์เศรษฐกิจ


เศรษฐกิจหมุนเวียน และคาร์บอนต่ำ


พลังงานสะอาด


ธุรกิจดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน ARI


ยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวณเนื่อง

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
  2. นิติบุคคลที่สมัครรับทุนต้องมีผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติไทยอย่างน้อยร้อยละ 51
  3. นิติบุคคลที่สมัครรับทุนต้องมีผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติไทยอย่างน้อยร้อยละ 51
  4. นิติบุคคลเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในเทคโนโลยีหลัก (Core Technology) ที่ใช้ในโครงการ
    ทั้งนี้ สามารถเป็นการขอใช้สิทธิ์ (Licensing) ในทรัพย์สินทางปัญญาได้ (Intellectual Property; IP)
  5. มีโมเดลธุรกิจ (Business Model) และแผนการดำเนินธุรกิจ (Business Plan) ที่ชัดเจน เพื่อรองรับการขยายผลโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. นิติบุคคล หรือกรรมการบริหารของนิติบุคคล มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเป้าหมายไม่น้อยกว่า 3 ปี

ขั้นตอนและระยะเวลาเปิดรับสมัครขอรับทุน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารและผลไม้ไทยมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก (High-Value Food and Fruit for Export) โทร. 099-256-1455 (จิตรภณ)
  • ธุรกิจนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการพืชและสัตว์เศรษฐกิจหลักของประเทศตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain of Economic Plants and Animals) โทร. 087-563-2074 (ภัสสร)
  • ธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า (Circular and Low-Carbon Economy) โทร. 085-911-4691 (วัลยา)
  • ธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy) โทร. 085-911-4691 (วัลยา)
  • ธุรกิจนวัตกรรมดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI Tech) โทร. 085-525-5241 (สุทธิรักษ์) หรือ 083-992-6298 (วีรวัฒน์)
  • ธุรกิจนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) โทร. 093-535-9498 (อภิวัฒน์)

**เงื่อนไขการพิจารณาโครงการเป็นไปตามที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. กำหนด**

Scroll to Top