สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
นวัตกรรมสำหรับสังคมสูงวัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของ "คนวัยเก๋า"
ประชากรในประเทศไทยนับวันจะมีผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากในปี พ.ศ. 2562 ถือเป็นปีแรกที่มีจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยมีประชากรผู้สูงอายุมากถึง 11.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.5 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งในปี พ.ศ. 2565 นี้ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (สัดส่วนผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20) และในปี พ.ศ. 2576 ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (สัดส่วนผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28) [1] ซึ่งสังคมผู้สูงอายุนี้กำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะการขาดแคลนแรงงานเนื่องจากวัยทำงานลดลง หรือการที่ภาครัฐมีค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุขและบริการสังคมแก่ผู้สูงอายุมากขึ้น ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว การผลักดันให้ประชากรสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย
อายุขัยที่เพิ่มขึ้นพร้อมสุขภาพที่ดีก็ยังไม่ดีเท่ากับการมีสุขภาพดีและการเป็นอิสระ ดังนั้น การสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีไม่ได้จำกัดอยู่เพียงด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่ยังครอบคลุมความเป็นอยู่ที่ดีทางอารมณ์ สังคม การศึกษา และการเงินของผู้สูงอายุ นวัตกรรมที่เข้ามามีบทบาทให้ประชากรสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี จึงเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่จะตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้สูงอายุ ช่วยเปลี่ยนประสบการณ์การสูงวัย เพิ่มความสะดวกสบาย ช่วยให้ใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้ง่ายและปลอดภัยมากขึ้น มีชีวิตที่ยืนยาว ตลอดจนมีสุขภาพที่ดี
ในบริบทของสังคมปัจจุบัน NIA ได้พัฒนาและสนับสนุนนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุใน 6 ด้าน เพื่อช่วยรับมือกับสังคมผู้สูงอายุของไทย ลองมาดูกันว่ามีนวัตกรรมด้านใดบ้าง
นวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นกระแสหลักของนวัตกรรมโลกในทศวรรษนี้ และนับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศที่กำลังเข้าสู่สังคมรูปแบบใหม่ให้สามารถเดินหน้า ไม่สะดุดล้มลงด้วยปริมาณประชากรส่วนใหญ่ที่อยู่ในวัยชรา การนำนวัตกรรมมาช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างปัจจัยสิ่งแวดล้อม และปรับวิถีชีวิตเพื่อที่ผู้สูงอายุจะสามารถใช้ชีวิตสะดวกสบายและง่ายขึ้น จะทำให้ผู้สูงอายุรอดพ้นจาก “ความจน การเจ็บป่วย และถูกทอดทิ้ง” [3] และมีกำลังไปช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม เพราะสังคมผู้สูงวัย ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของคนสูงวัย แต่เป็นเรื่องของคนทุกวัยที่จะต้องหันมาช่วยกันพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ เพราะสักวันหนึ่ง คุณเองก็จะต้องเป็นผู้สูงอายุเช่นกัน โอกาสที่คุณจะได้เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมนั้นคงไม่ไกลเกินตัวแน่นอน
อ้างอิงข้อมูล
บทความโดย
เฉลิมพงษ์ กล้าขยัน (เอ็ม)
นักพัฒนานวัตกรรมอาวุโส ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)