สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

Climate Tech Acceleration program ประตูสู่โลกที่ยั่งยืน

15 พฤษภาคม 2024 1725

ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ถึง 29 พฤษภาคม 2567

 Climate Tech Acceleration program ประตูสู่โลกที่ยั่งยืน

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ในการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ "Climate Tech Acceleration Program"

Announced_ClimateTech

NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผนึกกำลังพันธมิตรทั้งไทยและต่างประเทศ ยกระดับนวัตกรรมด้านการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศไทยเพื่อผลักดันความยั่งยืนของโลก ขอเชิญสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการ และผู้สนใจนวัตกรรมด้านการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ สมัครเข้าร่วม Climate Tech Acceleration Program

 

Climate Tech Acceleration program
 
โอกาสที่จะได้รับการพัฒนาความสามารถ ต่อยอดธุรกิจอย่างยั่งยืน ได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินการลงทุนอย่างใกล้ชิด พร้อมสร้างเครือข่ายกับพันธมิตรโครงการ หน่วยงานรัฐ บริษัทขนาดใหญ่จากประเทศไทยและต่างประเทศ โอกาสในการพัฒนาหรือทดสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และโอกาสในการนำเสนอผลงานกับนักลงทุนและบริษัทชั้นนำที่มีความสนใจในเทคโนโลยีด้านการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ

 

Climate Tech Acceleration program มุ่งเน้นผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการจากวิสาหกิจเริ่มต้นสาขาการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในช่วงการเติบโตและขยายตลาด ผ่านกิจกรรมการให้คำปรึกษา และสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานพันธมิตรโครงการ หน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชน สถาบันการเงิน และ บริษัทขนาดใหญ่ รวมไปการทดสอบทดสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการกับหน่วยงานพันธมิตร

 

โครงการนี้มีเป้าประสงค์ในการส่งเสริมและสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 40 ภายในปี 2573 ผ่านงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้การร่วมมือในทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนั้นในภาคอุตสาหกรรมยังให้ความสำคัญกับพลังงานทางเลือก (Alternative energy) ที่เป็นพลังงานสะอาดและหมุนเวียนได้ (Clean and renewable energy) การกักเก็บพลังงาน (Energy storage) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ พลังงาน (Energy efficiency) และการออกแบบตามหลักการหมุนเวียน (Circular design) รวมถึงการพัฒนา เทคโนโลยีดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (Carbon capture, utilization and storage: CCUS) ซึ่งถือ เป็นการหมุนเวียนทรัพยากรและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในคราวเดียวกัน อีกทั้งมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี หลากหลายเพื่อต่อยอดการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart grid) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ที่มีทั้งผู้เล่นรายใหม่อย่างวิสาหกิจเริ่มต้น และผู้เล่นรายใหญ่ที่มองหาเทคโนโลยีทางเลือกที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการเร่งด่วนในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น ยังนำมาซึ่งการสร้างคุณค่าในการมีส่วนร่วม ให้เกิดเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ของผู้คนในสังคม เช่น เทรนด์สินค้ารักษ์โลก แพลตฟอร์มซื้อขาย คาร์บอนเครดิต อีกด้วย

 

Climate Tech Acceleration program

  • ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้ Climate Tech Startup ให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการเข้าสู่ตลาด ตรงต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้า ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
  • แสวงหาโอกาสให้ Climate Tech Startup สามารถสร้างรายได้ หรือได้รับการร่วมลงทุน
  • พัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นสาขาการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ (Climate Tech) โดยเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ขับเคลื่อนบนฐานนวัตกรรมในการสนับสนุนเงินทุน องค์ความรู้ และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้แก่ Climate Tech Startup

 

Highlight

  • โอกาสในการพัฒนาหรือทดสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
  • ได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินการลงทุนอย่างใกล้ชิด
  • โอกาสในการสร้างเครือข่ายกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักลงทุน และหน่วยงานจากต่างประเทศ
  • โอกาสในการทดสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการกับหน่วยงานพันธมิตร

 

คุณสมบัติ

  • วิสาหกิจเริ่มต้นที่จดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว
  • มีผลิตภัณฑ์หรือบริการพร้อมขยายตลาด
  • มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถแก้ไข้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศได้
  • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดระยะเวลาการดำเนินโรงการ

 

Timeline
วันนี้ – 29 พฤษภาคม 2567  ช่วงรับสมัคร
10 มิถุนายน 2567 

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ในการคัดเลือกผ่านเว็บไซต์ NIA

12 - 19 มิถุนายน 2567  สัมภาษณ์ผู้สมัคร
26 มิถุนายน 2567  ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบ 5 ราย ผ่าน Facebook Page: NIA
มิถุนายน – กันยายน 2567 

กระบวนการบ่มเพาะและเร่งสร้างผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น

  • Coaching & Mentoring
  • Networking
  • Business Matching
13 กันยายน 2567  Demo Day

*หมายเหตุ : วันเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการพร้อมขยายออกสู่ตลาด ใน 4 หัวข้อ ได้แก่
  • Clean Energy นวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด เช่น พลังงานชีวมวล พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ระบบการจัดการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด
  • Energy Conservation นวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เช่น การจัดการพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
  • Data Analytics นวัตกรรมด้านการจัดการข้อมูล เช่น ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก C credit
  • Waste Utilization นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่า/จัดการ ขยะ
 
คุณสมบัติผู้สมัคร
  • วิสาหกิจเริ่มต้นที่จดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว
  • มีผลิตภัณฑ์หรือบริการพร้อมขยายตลาด
  • มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถแก้ไข้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศได้
  • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ

 

แนวทางการพิจารณาโครงการ

  1. การสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า (Value Preposition)
  2. โอกาสและความพร้อมในการเติบโตของธุรกิจและแผนกลยุทธ์ในการขยายตลาด
  3. ศักยภาพการบริหารจัดการโครงสร้างต้นทุนและรายได้ของธุรกิจ
  4. การบริหารจัดการเทคโนโลยี และ/หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา (IP Management) และการจัดการด้านกฏหมาย/มาตรฐานต่างๆ (Standard & Regulation)
  5. ความเป็นผู้นำ (Leadership) วิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจ

 

สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 29 พฤษภาคม 2567 เท่านั้น

ส่งรายละเอียดของทีม/บริษัท พร้อมทั้งแผนธุรกิจ (Pitch Deck) ได้ที่ https://forms.gle/6gY88jFEmZ34x2jK6

 

ติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่ ดร.ณัฐกาญจน์ พรหมศิริ

 

#NIA #ClimateTechAccelrelator #green #sustainability #Startup #Innovation