สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
NIA ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เปิดตัวโครงการ “SPACE-F รุ่นที่ 6" อย่างเป็นทางการ ต้อนรับ 20 ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพสู่โครงการ SPACE-F รุ่นที่ 6
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ ไทยยูเนี่ยน มหาวิทยาลัยมหิดล ไทยเบฟ และเนสท์เล่ จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ “SPACE-F batch 6 Orientation Day” เพื่อต้อนรับ 20 ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ จาก 7 ประเทศ เข้าสู่โครงการ SPACE-F รุ่นที่ 6: โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2568 ณ SPACE-F ชั้น 6 ตึก N คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน ดร.โทมัส คริสโตเฟอร์ โอราน Open Innovation Leader Thai Union Group แนะนำโครงการ SPACE-F พร้อมทั้ง ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเการเงินนวัตกรรม NIA คุณปริวรรต วงษ์สำราญ รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA คุณธวัช สุธาสินีนนท์ ผู้อํานวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ผู้บริหารจากเครือข่ายหน่วยงานพันธมิตร และสตาร์ทอัพศิษย์เก่า เข้าร่วมงาน
ดร.กริชผกา กล่าวว่า "NIA ภายใต้บทบาทผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม มุ่งมั่นหนุนประเทศไทยสู่ศูนย์กลางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีอาหาร เชื่อมโยงสู่ตลาดเอเชียและสากล ด้วยแนวคิด Groom – Grant – Growth – Global ผ่านการสนับสนุนองค์ความรู้นวัตกรรม การส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม และการขยายโอกาสสู่ตลาดโลก เพื่อสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารสู่อนาคตอย่างยั่งยืน"
โครงการ SPACE-F คือหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันอุตสาหกรรมอาหารไทยให้แข่งขันได้ในระดับโลก ด้วยการบ่มเพาะฟู้ดเทคสตาร์ทอัพจากทั้งในและต่างประเทศ ให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตลาด และต่อยอดสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ในปีนี้ NIA ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพ โดยตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา SPACE-F สนับสนุนสตาร์ทอัพแล้วกว่า 80 ทีม จาก 18 ประเทศ เกิดการระดมทุนรวมกว่า 5,000 ล้านบาท ให้พร้อมต่อยอดธุรกิจสู่ตลาดอาเซียนที่มีศักยภาพสูงกว่า 60,000 ล้านบาท
SPACE-F รุ่นที่ 6 จะยังคงเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันสำคัญในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหาร และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น ‘ครัวของโลก’ ด้วยนวัตกรรมอย่างแท้จริง”
ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วิริยะ เตชะรุ่งโรจน์ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวปิดงาน รศ.ดร. พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำพื้นที่ SPACE-F และคุณดนัย ครามโกมุท รองผู้บริหารสำนัก ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ-ช่องทางการจัดจำหน่าย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วม Reverse pitching ในฐานะตัวแทน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
ติดตามเส้นทางของฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ โครงการ SPACE-F รุ่นที่ 6 พร้อมร่วมสร้างอนาคตของอุตสาหกรรมอาหารไทยไปพร้อมกัน
#NIA #SPACEF #Batch6 #Orientation #FoodTech #FoodTechStartup #FoodTechIncubator #FoodTechAccelerator #Thailand