สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

"Passion Economy" เศรษฐกิจจากความหลงใหล

22 มกราคม 2566 4,201

Passion-Economy

 

"Passion Economy" เศรษฐกิจจากความหลงใหล
10 เทรนด์อนาคตสุขภาพจิตที่คนไทยต้องเผชิญในอีก 10 ปีข้างหน้า

จับตามองความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพจิตและเศรษฐกิจในอนาคต เมื่อผู้คนเปลี่ยนความชอบให้กลายเป็น "งานเพื่อสร้างรายได้"

 

Passion Economy

ในช่วงที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในแวดวงภาคธุรกิจและเศรษฐศาสตร์หนึ่ง ที่เรียกว่า “Passion Economy” หรืออาจแปลเป็นภาษาไทยได้ง่าย ๆ ว่า “เศรษฐกิจจากความหลงใหล” สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งใช้เวลา ความเชี่ยวชาญ หรือของบางสิ่งที่อาจจับต้องไม่ได้ นำมาสร้างมูลค่าให้เกิดรายได้ของตนเอง เศรษฐกิจแนวใหม่นี้กำลังมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก เนื่องจากผู้คนจำนวนมากเริ่มมองเห็นคุณค่าในการนำเสนอชุดทักษะเฉพาะของตนเองออกไปสู่ตลาดในวงกว้าง

หลักการของ“เศรษฐกิจจากความหลงใหล” เชื่อว่า เราทุกคนนั้นมีทักษะและความสนใจเฉพาะกลุ่มซึ่งสามารถนำไปแบ่งปันกับผู้อื่นได้ ยกตัวอย่างก็เช่น งานเขียน การถ่ายภาพ หรือการสร้างคอนเทนต์ ในขณะที่ปัจจุบันแพลตฟอร์มเพื่อให้ศิลปินสร้างคอนเทนต์รูปแบบต่าง ๆ กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นโอกาสของทุกคนในการสร้างรายได้จากงานอดิเรกและความสนใจของตนเองไปด้วย ทั้งยังช่วยโอกาสสำหรับผู้ที่ขาดการศึกษาหรือขาดช่องทางเชื่อมต่อเพื่อเข้าสู่อาชีพที่ต้องการด้วยตลาดใหม่แห่งนี้

ในอนาคต ผู้คนจำนวนหนึ่งจะเริ่มไม่ชอบความรู้สึกที่เหมือนว่าตัวเองถูกล่ามโซ่ไว้กับโต๊ะทำงานตั้งแต่ 9 โมงถึง 5 โมงเย็น “เศรษฐกิจจากความหลงใหล” จึงอาจกลายเป็นทางออกหนึ่งสำหรับพวกเขา ผู้คนอาจปรับเปลี่ยนบทบาทกลายเป็นเจ้านายของตนเองได้หากพวกเขาพบศักยภาพที่จำเป็นและเข้าถึงทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม รูปแบบเศรษฐกิจใหม่เช่นนี้จะสร้างความรู้สึกเป็นอิสระและแนวคิดแปลกใหม่ขึ้นมาได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจไม่เกิดขึ้นจากการทำงานในที่ทำงานรูปแบบเดิม ๆ และนอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อาจได้รับประโยชน์จาก“เศรษฐกิจจากความหลงใหล” นั่นคือ บุคคลที่ต้องการหารายได้เสริมนอกเหนือไปจากรายได้จากงานประจำ พวกเขาอาจใช้ทักษะของตนเองเพื่อสร้างธุรกิจเสริมที่เป็นแหล่งรายได้เพิ่มเติม และสามารถนำไปใช้สนับสนุนเป้าหมายทางการเงินที่ใหญ่ขึ้นของตนเอง เช่น การชำระหนี้สิน หรือเก็บออมเพื่อซื้อของสำคัญที่มีมูลค่าสูงได้

เพราะฉะนั้น “เศรษฐกิจจากความหลงใหล” นี้จึงเป็นหนึ่งเทรนด์ใหม่ที่น่าสนใจและน่าจับตามอง ถ้าเราเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพในตนเองที่จะเปลี่ยนความหลงใหลหรือแรงบันดาลใจ ให้กลายเป็นกิจการที่ทำกำไรได้ด้วยความสามารถที่เหมาะสมและแพลตฟอร์มที่เหมาะสม เราทุกคนก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจและสังคมโลกในอนาคตได้

 

อ้างอิงจาก