A
A
A
TH
home
phone_in_talk
share
Facebook
Youtube
Instragram
Twitter
Line@
search
search
MENU
เกี่ยวกับเรา
องค์กร
ความเป็นมา
วิสัยทัศน์
นโยบาย
นโยบายผู้บริหาร
ยุทธศาสตร์
แผนดำเนินงาน
การดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและแนวทางการปฏิบัติงาน
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (ITA)
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
อุทยานนวัตกรรม
ข้อมูลทั่วไป
1: OPEN INNOVATION SPACE
M: IDEATION SPACE
2: IOT CITY INNOVATION CENTER
3: CO-INNOVATING SPACE
4: INNOVATION STRATEGY SPACE
5: INNOTORIUM SPACE
6: IMPLEMENTORIUM SPACE
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์
ดาวน์โหลด
กิจกรรม
ขอรับการสนับสนุนโครงการนวัตกรรม
นวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ
นวัตกรรมเพื่อสังคม
นวัตกรรมแบบมุ่งเป้า
นวัตกรรมแบบเปิด
E-Service
PMU
Innovation Thailand Expo
รางวัลนวัตกรรม
Startup Thailand
อบรม สัมมนา
สื่อ
สื่อ
รายงานประจำปี
หนังสือ
โบรชัวร์
โปสเตอร์
อินโฟกราฟิก
เปิดโลกนวัตกรรม
บล็อก
จัดซื้อจัดจ้าง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศร่าง TOR / ร่างเอกสารประกวดราคา
ประกาศเชิญชวน
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา
ยกเลิกประกาศเชิญชวน
ประกาศราคากลาง
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
บุคลากร
โครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการ
ที่ปรึกษา
ผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่
ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ
ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม
ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม
ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม
ฝ่ายยุทธศาสตร์นวัตกรรม
ฝ่ายบริหารองค์กร
งานตรวจสอบภายใน
รับสมัครงาน
ติดต่อเรา/แจ้งปัญหา
ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งการทุจริต
ติดต่อเรา
ช่องทางแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ชมเชย
FAQ
home
keyboard_arrow_right
NIA เข้าร่วมการประชุม Plenary Meetings of the OECD Initiative for Policy Dialogue on Global Value Chains, Production Transformation and Development ครั้งที่ 18
NIA เข้าร่วมการประชุม Plenary Meetings of the OECD
Initiative for Policy Dialogue on Global Value Chains, Production Transformation and Development ครั้งที่ 18
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2565 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นการประชุมต่อยอดจากการประชุม Global Value Chain ของ OECD ในเดือนพฤศจิกายน 2564
การจัดงานในครั้งนี้มุ่งเน้นถึงประเด็นการพัฒนาการสนับสนุนด้านการเงินรูปแบบใหม่เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ (Financing a Transformative Recovery) การพัฒนาและขยายระบบนิเวศนวัตกรรม (Chasing Innovation Frontier) และนโยบายการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ (Production Transformation Policy) โดยมีจุดประสงค์หลักของคณะทำงาน OECD Development คือการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาด้านต่างๆ ของประเทศสมาชิกตั้งแต่ปี 2558 ในปัจจุบัน OECD Development ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการลงทุนเพื่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงภาคการผลิต (Investing in transformative sector) เพื่อสอดรับกับความท้าทายใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากวิกฤต COVID-19
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา OECD Development ได้มีตัวแทนจากภาครัฐและภาคเอกชนในระดับต่างๆ รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฯลฯ ที่ได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติของแต่ละประเทศในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศและทำให้เกิดการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ รวมไปถึงการลงทุนของกลุ่มประเทศ OECD และประเทศอื่นๆ ที่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
Dr. Analisa Primi หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ (Economic Transformation and Development: ETD) จาก OECD Development ได้สรุปถึงสิ่งที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) ในความร่วมมือ มี 3 ประการ คือ 1. ความทะเยอทะยานและการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Aspiration and Change) ซึ่งหมายถึงการยอมรับและการให้คำชื่นชมประเทศที่มีความคิดในการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ที่ประเทศอื่นๆ สามารถเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ได้ 2. แนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน (Concrete Solution) มีการทำงานของทีมงานของ ETD สามารถรวบรวมแนวทางการพัฒนาและคำแนะนำในการออกนโยบายหรือการดำเนินนโบายด้านการพัฒนาสำหรับประเทศที่สนใจได้อย่างละเอียดและใช้งานได้จริง 3. ความร่วมมือที่เข้มแข็งของสมาชิก (Strong cooperation) ในระดับโลก
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ได้รับเชิญจาก OECD Development ในฐานะตัวแทนจากประเทศไทยให้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ เพื่อหารือความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศไทยในประเด็นที่มีความสอดคล้องกับ OECD Development ในปัจจุบัน เช่น การทำให้เกิดระบบห่วงโซ่อุปทานระดับโลก (Supply Chain) ที่มีความเข้มแข็ง การเน้นการลงทุนในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน หรือ การลงทุนด้านวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ (Cultural & Creative Sector) เป็นต้น
ในการนี้ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ได้รับเชิญให้บรรยายในหัวข้อ Startup Asia: Chasing the innovation frontier ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนและแชร์แนวทางการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมของประเทศไทย เช่น Innovation Thailand, Southeast Asian Startup Assembly, National Startup Committee เป็นต้น เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กับนานาประเทศและเพื่อเป็นการดึงดูดและสร้างความร่วมมือใหม่ๆ ที่เกิดจากการต่อยอดการแลกเปลี่ยนครั้งนี้
#NIA
#OECD
#InnovationDiplomacy
#InnovationThailand
แชร์