สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
NIA ร่วมมือกับ Knowledge Capital Association เชื่อมโยงสตาร์ทอัพและร่วมพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่
ในวันอังคารที่ 21 พฤษภาคม 2562 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA นำโดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อํานวยการสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และ คุณวิเชียร สุขสร้อย รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือกับ Knowledge Capital Association ได้รับเกียรติจาก Dr.Hideo Miyahara, Representative Director เป็นผู้ลงนาม โดยมีที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมผู้แทนจากบริษัทร่วมก่อตั้งสมาคม ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนในการก่อสร้าง Grand Front Osaka อาคารอเนกประสงค์พื้นที่ติดกับสถานีโอซากาซึ่งได้ประมูลมาจากเมืองโอซากา ในการสร้างพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับการส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี ประกอบด้วยทั้งหมด 12 บริษัท ได้แก่
- NTT Urban Development Corporation
- OBAYASHI CORPORATION
- ORIX Real Estate Corporation
- Kanden Realty & Development Co.,Ltd.
- NIPPON STEEL KOWA REAL ESTATE CO.,LTD.
- Sekisui House, Ltd.
- Takenaka Corporation
- Tokyo Tatemono Co.,Ltd.
- NIPPON TOCHI-TATEMONO Co.,Ltd.
- Hankyu Corporation
- Hankyu Hanshin REIT, Inc.
- Mitsubishi Estate Co., Ltd.
.
Knowledge Capital Association เป็นหน่วยงานที่บริหารจัดการ Knowledge Capital ซึ่งเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ จากการสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างคุณค่าใหม่จากการเชื่อมโยงมนุษย์ (Human) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และเทคโนโลยี (Technology) เข้าด้วยกัน เช่นเดียวกับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ‘Omoshiroi’ ซึ่งมีความหมายว่า ‘ความน่าสนใจ’ อีกปัจจัยที่สำคัญที่ผลักดันให้เกิดความร่วมมือหรือการพัฒนาต่างๆ ขึ้นจาก Knowledge Capital คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร (Communicator) ผู้มีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ใช้บริการร่วมกัน หรือเชื่อมโยงไปยังผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ Knowledge Capital Association ยังมีความสนใจที่จะสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้น ให้สามารถเข้าถึงเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ อีกด้วย
ความร่วมมือสามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้านหลักๆ คือ
ความร่วมมือในเรื่องการส่งเสริมด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยการใช้ทรัพยากรต่างๆ ของทั้ง 2 หน่วยงานร่วมกัน เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญ การประสานงานร่วมกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงตลาดของทั้ง 2 ประเทศ เป็นต้น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้านหลักๆ คือ
1. เชื่อมโยงสตาร์ทอัพทั้งสองเมือง รวมทั้งภูมิภาคคันไซและกรุงเทพมหานคร ผ่าน Launching & Landing Pad
2.ร่วมพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่ผ่านการนำนักเรียนไทยมาเข้าอบรมที่โอซากาในด้านนวัตกรรมและ STEAM
3. พัฒนาแนวทางบริหารย่านนวัตกรรมร่วมกัน
4. นำเอานวัตกรรมและผลงาน MarTech ของไทยมาจัดนิทรรศการที่โอซากา