สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

มาฝึกฝนทักษะ 5I เพื่อเป็นนวัตกรในศตวรรษที่ 21

บทความ 31 พฤษภาคม 2562 22,308

มาฝึกฝนทักษะ 5I เพื่อเป็นนวัตกรในศตวรรษที่ 21


ยุคสมัยที่ผันเปลี่ยนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน พวกเรากำลังเดินทางจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเดิมเข้าสู่ “โลกยุคดิจิทัล” ในศตวรรษที่ 21 หมายความว่าเราไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเพียงเพื่อความบันเทิงหรือเพื่ออำนวยความสะดวกอีกต่อไป แต่สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องจักรและหุ่นยนต์ กำลังถูกพัฒนาให้มีทักษะเทียบเท่าจนสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ในราคาที่ถูกกว่า


สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum หรือ WEF) ได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการของตลาดแรงงาน รวมถึงแนวโน้มเทคโนโลยีในองค์กรใหญ่ ๆ ทั่วโลก พบว่าเด็กที่จะอยู่รอดในยุคดิจิทัลนี้ต้องมีทักษะทางด้านสังคมและอารมณ์ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับยุคเก่า เนื่องจากมีความต้องการอาชีพที่ต้องใช้ทักษะด้านสังคมเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการอาชีพที่ไม่ต้องใช้ทักษะนี้ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเพราะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผลการวิจัยยังบอกอีกว่าร้อยละ 65 ของเด็กที่กำลังเรียนอยู่ในตอนนี้จะต้องประกอบอาชีพที่ในปัจจุบันนี้ยังไม่เกิดขึ้น พูดง่าย ๆ ว่า


“สิ่งที่เด็กเรียนอยู่ในตอนนี้ อาจจะไม่เหลืออาชีพนั้นให้ทำในอนาคตแล้ว”

 ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21


จากความเคยชินที่เด็ก ๆ เรียนรู้ผ่านกรอบเดิมซ้ำ ๆ รวมถึงใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากจนเกิดผลกระทบด้านกระบวนการคิด เด็กยุคใหม่จึงต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้สร้างสรรค์และริเริ่มนวัตกรรม เป็นนวัตกรที่เข้าใจปัญหา มองเห็นทางแก้ รู้จักวางแผน และลงมือทำจริง ก่อนที่หุ่นยนต์จะเข้ามาแทนที่อาชีพที่ไม่ต้องใช้ความซับซ้อนในการวิเคราะห์และตัดสินใจนั่นเอง


ด้วยเหตุนี้ สภาเศรษฐกิจโลกจึงได้สรุปทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ออกมาทั้งหมด 16 ทักษะ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่

 กระบวนการสอน 3 รูปแบบ


ดังนั้นแล้ว การฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ และเนื่องจากทักษะไม่ใช่ความรู้ การสอนแบบเดิมที่มีครูเป็นผู้สอนแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ได้ผลอีกต่อไป ครูจะต้องเปลี่ยนบทบาทหน้าที่จาก “ผู้บรรยายหน้าห้องเรียน” เป็น “ผู้อำนวยการเกิดการเรียนรู้” โดยสภาเศรษฐกิจโลกได้ผลวิเคราะห์ออกมาเป็นกระบวนการสอน 3 รูปแบบ

 กระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน เพื่อให้มีทักษะ 5I 


เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรุ่นใหม่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ได้ริเริ่มโครงการ STEAM4INNOVATOR หรือแผนการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรม สำหรับเยาวชนไทยที่ต้องการก้าวไปเป็นนวัตกร โดยบูรณาการศักยภาพด้านธุรกิจเข้ากับพื้นฐานความรู้ด้าน STEAM (Science, Technology, Engineering, Art, Mathematics) เพื่อให้เยาวชนได้พัฒนาตนเองผ่านการเรียนรู้ประสบการ์ด้านธุรกิจนวัตกรรมและการรับคำแนะนำจากผู้ประกอบการจริง


เยาวชนจะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน เพื่อให้มีทักษะ 5I อันเป็นลักษณะเฉพาะของนวัตกร ได้แก่ Inspiration มีแรงบันดาลใจ Imagination มีจินตนาการ Ideation มีความคิดริเริ่มหลากหลาย Integration มีความสามารถในการวางแผนเชิงองค์รวม Implementation มีความสามารถในการนำไปปฏิบัติและขยายผล

 สร้างแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมให้กับเยาวชน


การสร้างแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมให้กับเยาวชน เพื่อให้รู้จักวิธีการมองปัญหาและแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ เป็นเป้าหมายหลักของแผนพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หากเยาวชนในอนาคตเติบโตด้วยแนวคิดนี้ การสร้างสังคมที่มีวัฒนธรรมนวัตกรรมอย่างแพร่หลายย่อมเกิดขึ้นและสร้างความเจริญให้กับประเทศได้อย่างแน่นอน

.

แหล่งอ้างอิง

https://joo.gl/Flih

https://read.oecd-ilibrary.org/education/impacts-of-technology-use-on-children_8296464e-en#page15

https://medium.com/base-the-business-playhouse/about