สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

Health Tech Acceleration Program

30 พฤษภาคม 2024 3313

ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 ถึง 14 มิถุนายน 2567

Health Tech Acceleration Program

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Health Tech Acceleration Program 

ขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการทั้ง 10 รายที่ผ่านการคัดเลือก และขอขอบคุณสตาร์ทอัพทุกรายที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

Poster_HealthTech Acceleration program_FINALISTS

 

หลักเกณฑ์การพิจารณารอบสัมภาษณ์

หลักเกณฑ์ 

น้ำหนักการให้คะแนน

การนำเสนอ Solutions เพื่อตอบโจทย์ Pain Points ของกลุ่มลูกค้า

  • นำเสนอเทคโนโลยี/นวัตกรรมที่ตอบโจทย์และตรงกับความต้องการ

30%

ศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อการตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า

  • ความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • มีความโดดเด่นและสามารถสร้างคุณค่าให้กับกลุ่มลูกค้า
  • มีข้อได้เปรียบเหนือผู้เล่นรายอื่น/มีผลงานที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา

25%

ความน่าสนใจของตลาด

  • มีโอกาสทางการตลาดและมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน
  • สามารถนำเอา Solutions ไปต่อยอดและขยายตลาด
  • มีศักยภาพในการเติบโตและขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ 

20%

ความพร้อมของบุคลากร

  • ทีมผู้ก่อตั้งเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเอง
  • มีทัศนคติและความมุ่งมั่นในการเป็นผู้ประกอบการ
  • มีสมาชิกในทีมที่มีทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและทีมงานพัฒนาธุรกิจ

15%

ความสามารถในการสื่อสารและการนำเสนอ

  • ความชัดเจนของเนื้อหาในการนำเสนอจาก Pitch Deck
  • ความสามารถในการสื่อสาร
  • ความสามารถในการตอบคำถาม

10%

 

HealthTech Acceleration program

ในยุคที่โลกให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น ประเทศไทยก็ได้กำหนดเป้าหมายการปฏิรูประบบสุขภาพสู่ "ประเทศไทย 4.0" ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและพัฒนาประเทศด้วยนวัตกรรม

 

Health Tech Acceleration Program ได้ริเริ่มดำเนินงานโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรด้านสุขภาพและการแพทย์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีสุขภาพ ให้สามารถพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ให้เกิดการรักษาแบบแม่นยำ ยกระดับระบบบริการสุขภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ และผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางสุขภาพระดับนานาชาติ

 

โครงการนี้มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีสุขภาพใน 3 สาขาหลัก ได้แก่ Digital Health, Clinical Decision Support Tools และ Wellness and Service ผ่านการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ การบ่มเพาะธุรกิจ และการเชื่อมโยงกับพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ

 

นอกจากการได้รับความรู้และประสบการณ์จากกระบวนการเร่งสร้างธุรกิจแล้ว สตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกจะมีโอกาสทดสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการผลิตและจำหน่ายจริง

 

การผลักดันนวัตกรรมด้านสุขภาพสู่เชิงพาณิชย์ จะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ พร้อมผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพที่สำคัญในระดับสากล

 

Health Tech Acceleration program

  • ส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีสุขภาพให้มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง
  • เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพสามารถสร้างรายได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน หรือได้รับการระดมเงินทุนจากนักลงทุน ผ่านการพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์อย่างเป็นระบบ
  • พัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีสุขภาพแบบครบวงจร โดยสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนชั้นนำ เพื่อร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านสุขภาพ ผ่านการสนับสนุนด้านเงินทุน องค์ความรู้ และการเปิดช่องทางธุรกิจให้แก่สตาร์ทอัพ
  • มุ่งเน้นการบ่มเพาะและเร่งพัฒนาศักยภาพของสตาร์ทอัพเทคโนโลยีสุขภาพ เพื่อให้สามารถก้าวสู่การเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านสุขภาพในระดับสากลต่อไป

 

Highlight

  • พัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด: มีการให้คำแนะนำรายบุคคลแบบตัวต่อตัว พร้อมโอกาสในการพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์/บริการกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับสตาร์ทอัพด้านสุขภาพ
  • สร้างความรู้และทักษะที่จำเป็น: เสริมสร้างความสามารถด้านการเป็นผู้ประกอบการด้วยองค์ความรู้และกลยุทธ์ระดับแนวหน้าสำหรับตลาดเทคโนโลยีสุขภาพที่แข่งขันสูง พร้อมได้รับคำปรึกษาใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน-การลงทุน
  • เข้าถึงเครือข่ายระดับประเทศและระดับนานาชาติ: สร้างพันธมิตรกับผู้มีบทบาทสำคัญจากทั้งภาครัฐ-เอกชนในและต่างประเทศ นักลงทุน หุ้นส่วนธุรกิจ และองค์กรนานาชาติ
  • เข้าถึงทรัพยากรที่มีประโยชน์สูงสุด: ได้ใช้ทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก เครือข่ายพันธมิตรในการเข้าถึงโอกาสในการทดสอบผลิตภัณฑ์ และชุมชนผู้ประกอบการที่เอื้อต่อการสนับสนุนซึ่งกันและกัน

 

คุณสมบัติ

  • สตาร์ทอัพที่จดทะเบียนนิติบุคคลสัญชาติไทย โดยมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลที่มีสัญชาติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51
  • มีผลิตภัณฑ์หรือบริการต้นแบบที่พร้อมเข้าสู่ตลาด
  • มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สอดคล้องกับสาขาที่เปิดรับ
  • มีแผนธุรกิจและกลยุทธ์ทางการตลาดเบื้องต้น
  • ผู้เข้าร่วมโครงการต้องสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดทั้งโครงการ

 

Timeline

วันนี้ –14 มิถุนายน 2567

ช่วงรับสมัคร

19 มิถุนายน 2567

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ในการคัดเลือกผ่านเว็บไซต์ NIA >> www.nia.or.th/event/Health-Tech-Acceleration-Program

  1. บริษัท โดซี่ เฮลธ์ จำกัด
  2. บริษัท คูรา กรุ๊ป จำกัด
  3. บริษัท เฟิร์สคลาสฮอนเนอร์ จำกัด
  4. โอ แอล ดี เค
  5. บริษัท ไดโนคิว จำกัด
  6. บริษัท ไอเอส ซอฟต์แวร์ จำกัด
  7. สมาร์ทเมดิซินจำกัด
  8. บริษัท สาติ จำกัด
  9. บริษัท แอ็กนอสเฮลท์ จำกัด
  10. ป๊าม้าพลัส
  11. มาย สรีระ
  12. บริษัท ซอล์ฟสมาร์ท จำกัด
  13. แคนวาส ลองเจวิตี้ (เจ็นโฟสิส)
  14. บริษัท คอนทินิวอัม แคร์ ซิสเต็ม จำกัด
  15. บริษัท เอมวิทย์ เฮลท์ พลัส จำกัด
  16. บลูโอ๊ค 
  17. โกลเบิล เฮลพ์แคร์ โซลูชั่น
  18. ฟิตสลอธ

 

2 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 - 12.00 น.

*จะแจ้งวันและเวลาสัมภาษณ์ภายในวันที่ 26 มิถุนายน 2567

 

สัมภาษณ์ผู้สมัคร

5 กรกฎาคม 2567

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบผ่านเว็บไซต์ NIA >> www.nia.or.th/event/Health-Tech-Acceleration-Program 

กรกฎาคม – สิงหาคม 2567 

กระบวนการบ่มเพาะและเร่งสร้างผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น

• Mentoring

• Networking

• Business matching

• Innovation Clinic

• Smart Hospital Observation

19 กันยายน 2567  Demo Day

*หมายเหตุ : วันเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 

สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ - 14 มิถุนายน 2567 ได้ที่นี่ 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: