สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

Climate Tech Acceleration program ประตูสู่โลกที่ยั่งยืน

15 พฤษภาคม 2024 5999

ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ถึง 29 พฤษภาคม 2567

 Climate Tech Acceleration program ประตูสู่โลกที่ยั่งยืน

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ "Climate Tech Acceleration Program"

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ในการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ "Climate Tech Acceleration Program"

Announced_ClimateTech

NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผนึกกำลังพันธมิตรทั้งไทยและต่างประเทศ ยกระดับนวัตกรรมด้านการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศไทยเพื่อผลักดันความยั่งยืนของโลก ขอเชิญสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการ และผู้สนใจนวัตกรรมด้านการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ สมัครเข้าร่วม Climate Tech Acceleration Program

 

Climate Tech Acceleration program
 
โอกาสที่จะได้รับการพัฒนาความสามารถ ต่อยอดธุรกิจอย่างยั่งยืน ได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินการลงทุนอย่างใกล้ชิด พร้อมสร้างเครือข่ายกับพันธมิตรโครงการ หน่วยงานรัฐ บริษัทขนาดใหญ่จากประเทศไทยและต่างประเทศ โอกาสในการพัฒนาหรือทดสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และโอกาสในการนำเสนอผลงานกับนักลงทุนและบริษัทชั้นนำที่มีความสนใจในเทคโนโลยีด้านการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ

 

Climate Tech Acceleration program มุ่งเน้นผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการจากวิสาหกิจเริ่มต้นสาขาการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในช่วงการเติบโตและขยายตลาด ผ่านกิจกรรมการให้คำปรึกษา และสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานพันธมิตรโครงการ หน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชน สถาบันการเงิน และ บริษัทขนาดใหญ่ รวมไปการทดสอบทดสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการกับหน่วยงานพันธมิตร

 

โครงการนี้มีเป้าประสงค์ในการส่งเสริมและสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 40 ภายในปี 2573 ผ่านงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้การร่วมมือในทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนั้นในภาคอุตสาหกรรมยังให้ความสำคัญกับพลังงานทางเลือก (Alternative energy) ที่เป็นพลังงานสะอาดและหมุนเวียนได้ (Clean and renewable energy) การกักเก็บพลังงาน (Energy storage) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ พลังงาน (Energy efficiency) และการออกแบบตามหลักการหมุนเวียน (Circular design) รวมถึงการพัฒนา เทคโนโลยีดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (Carbon capture, utilization and storage: CCUS) ซึ่งถือ เป็นการหมุนเวียนทรัพยากรและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในคราวเดียวกัน อีกทั้งมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี หลากหลายเพื่อต่อยอดการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart grid) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ที่มีทั้งผู้เล่นรายใหม่อย่างวิสาหกิจเริ่มต้น และผู้เล่นรายใหญ่ที่มองหาเทคโนโลยีทางเลือกที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการเร่งด่วนในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น ยังนำมาซึ่งการสร้างคุณค่าในการมีส่วนร่วม ให้เกิดเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ของผู้คนในสังคม เช่น เทรนด์สินค้ารักษ์โลก แพลตฟอร์มซื้อขาย คาร์บอนเครดิต อีกด้วย

 

Climate Tech Acceleration program

  • ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้ Climate Tech Startup ให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการเข้าสู่ตลาด ตรงต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้า ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
  • แสวงหาโอกาสให้ Climate Tech Startup สามารถสร้างรายได้ หรือได้รับการร่วมลงทุน
  • พัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นสาขาการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ (Climate Tech) โดยเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ขับเคลื่อนบนฐานนวัตกรรมในการสนับสนุนเงินทุน องค์ความรู้ และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้แก่ Climate Tech Startup

 

Highlight

  • โอกาสในการพัฒนาหรือทดสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
  • ได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินการลงทุนอย่างใกล้ชิด
  • โอกาสในการสร้างเครือข่ายกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักลงทุน และหน่วยงานจากต่างประเทศ
  • โอกาสในการทดสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการกับหน่วยงานพันธมิตร

 

คุณสมบัติ

  • วิสาหกิจเริ่มต้นที่จดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว
  • มีผลิตภัณฑ์หรือบริการพร้อมขยายตลาด
  • มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถแก้ไข้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศได้
  • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดระยะเวลาการดำเนินโรงการ

 

Timeline
วันนี้ – 29 พฤษภาคม 2567  ช่วงรับสมัคร
10 มิถุนายน 2567 

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ในการคัดเลือกผ่านเว็บไซต์ NIA

12 - 19 มิถุนายน 2567  สัมภาษณ์ผู้สมัคร
26 มิถุนายน 2567  ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบ 5 ราย ผ่าน Facebook Page: NIA
มิถุนายน – กันยายน 2567 

กระบวนการบ่มเพาะและเร่งสร้างผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น

  • Coaching & Mentoring
  • Networking
  • Business Matching
13 กันยายน 2567  Demo Day

*หมายเหตุ : วันเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการพร้อมขยายออกสู่ตลาด ใน 4 หัวข้อ ได้แก่
  • Clean Energy นวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด เช่น พลังงานชีวมวล พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ระบบการจัดการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด
  • Energy Conservation นวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เช่น การจัดการพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
  • Data Analytics นวัตกรรมด้านการจัดการข้อมูล เช่น ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก C credit
  • Waste Utilization นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่า/จัดการ ขยะ
 
คุณสมบัติผู้สมัคร
  • วิสาหกิจเริ่มต้นที่จดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว
  • มีผลิตภัณฑ์หรือบริการพร้อมขยายตลาด
  • มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถแก้ไข้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศได้
  • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ

 

แนวทางการพิจารณาโครงการ

  1. การสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า (Value Preposition)
  2. โอกาสและความพร้อมในการเติบโตของธุรกิจและแผนกลยุทธ์ในการขยายตลาด
  3. ศักยภาพการบริหารจัดการโครงสร้างต้นทุนและรายได้ของธุรกิจ
  4. การบริหารจัดการเทคโนโลยี และ/หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา (IP Management) และการจัดการด้านกฏหมาย/มาตรฐานต่างๆ (Standard & Regulation)
  5. ความเป็นผู้นำ (Leadership) วิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจ

 

สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 29 พฤษภาคม 2567 เท่านั้น

ส่งรายละเอียดของทีม/บริษัท พร้อมทั้งแผนธุรกิจ (Pitch Deck) ได้ที่ https://forms.gle/6gY88jFEmZ34x2jK6

 

ติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่ ดร.ณัฐกาญจน์ พรหมศิริ

 

#NIA #ClimateTechAccelrelator #green #sustainability #Startup #Innovation