สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

สนช. ร่วมกับ อีจีเอ

News 16 มิถุนายน 2561 2,256

สนช. ร่วมกับ อีจีเอ ผลัก MEGA 2017 สร้างเศรษฐกิจเชิงข้อมูล ดันสตาร์ทอัพไทยใช้ข้อมูลภาครัฐสร้างแอปบริการประชาชน พร้อมอัดเงินก้อนใหญ่นำแนวคิดไปสู่เชิงพาณิชย์ให้ได้

โครงการประกวดผลงานนวัตกรรมการพัฒนาโมบายโซลูชันภาครัฐ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2560” (Mobile Enterprise d-Government Award 2017 : MEGA 2017) ในปีนี้ถือเป็นปีแรกที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรืออีจีเอ จัดร่วมกันด้วยแนวคิดหรือ Theme หลักคือ Data Economy ที่เป็นการจัดสรรระบบข้อมูลภาครัฐเพื่อพัฒนาเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ ที่จะขับเคลื่อนทั้งภาครัฐและเอกชนไปด้วยกัน

โครงการนี้จึงถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ สนช. ตั้งเป้าหมายที่จะสร้าง Data Economy ร่วมกับ อีจีเอ และคาดหวังให้เกิดผลผลิตในเชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างผลงานชนะเลิศการประกวดเท่านั้น ยังเป็นโครงการที่สอดคล้องและนำไปต่อยอดกับโครงการย่านนวัตกรรม (Innovation District) ในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of innovation : EECi) ที่ จะร่วมมือกันขับเคลื่อนย่านมาก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม วิสาหกิจเริ่มต้น ภายในย่านนวัตกรรม  โดยกำหนดวางผังย่านและจัดทำแผนพัฒนาในปีงบประมาณ 2560

เปิดเผยว่า สนช. ได้สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมในหลายสาขาธุรกิจ เน้นหนักไปทางผู้ประกอบการในกลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) แม้ว่าในกลุ่ม Data Economy ที่เน้นการสร้างนวัตกรรมจากข้อมูลภาครัฐยังมีความตื่นตัวในวงจำกัด โครงการนี้ถือเป็นโอกาสใหม่อันดีในการรังสรรค์นวัตกรรมและผลักดันโซลูชันกลุ่มนี้ให้มีมากขึ้นในเชิงพาณิชย์ต่อไปการประกวดครั้งนี้ สนช. จะมีส่วนร่วมในการเข้ามาสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการเป็นหลัก โดยเฉพาะผู้เข้าประกวดต้องนำเสนอความคิดและไอเดียสู่ความเป็นนวัตกรรม ที่มีรูปแบบของแผนธุรกิจ ที่สามารถนำไปสู่การประยุกต์ใช้ที่แท้จริง โดยครอบคลุมประเด็นทางเทคโนโลยี การเงิน การตลาด และความสามารถของทีม ซึ่งอาจเป็นโครงการที่พัฒนามาแล้วในระดับห้องปฏิบัติการวิจัยให้มาสู่การปฏิบัติการระดับอุตสาหกรรมในเชิงพาณิชย์ หรืออาจอยู่ในขั้นตอนของการทำต้นแบบ (Prototype) รูปแบบทดลอง (Experimental units) การทดสอบในระดับนำร่อง (Pilot Scale) เพื่อยืนยันความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีก่อนจะนำไปสู่การผลิตจริง โรงงานนำร่อง (Pilot Plant) การปฏิบัติการก่อนเป็นเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ (Pre-Commercial) ตลอดจนการทดสอบในกระบวนการผลิตจริง (Full Scale Trial) เมื่อผ่านเข้ารอบจึงพัฒนาเป็น Prototype และ Demo/MVP ที่สามารถนำไปสร้าง Business Model ได้จริงต่อไป และนำมาแสดงต่อคณะกรรมการในรูปแบบของ Demo/MVP ที่พร้อมต่อการพัฒนาต่อยอด

ส่วนหัวข้อการประกวดของผู้ประกอบการจะแบ่งเป็น 3 หมวดหลักที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of innovation : EECi) ได้แก่ การขนส่งและการเดินทาง (Logistic / Transport), เมืองน่าอยู่ (Waste / Safety / Urban / Security / Sanitary), การเข้าถึงบริการภาครัฐ (Public Service Accessibility / Health Tech) โดยในส่วนการเข้าถึงบริการภาครัฐ จะมีอีก 2 หมวดย่อยพิเศษ คือ Chatbot และ Traffic / Queue / Resource Management เป็นต้น

ส่วนของรางวัลสำหรับผู้ประกอบการ นอกจากโอกาสการต่อยอดทางธุรกิจกับหน่วยงานภาครัฐ และโอกาสในการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะและความรู้ในด้านต่างๆ รวมถึงเงินรางวัลหลักทั้ง 8 รายการของโครงการแล้ว สำหรับทีมที่ผ่านเข้ารอบในรอบ Prototype จะได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนาต้นแบบ จาก สนช. สูงสุด 1,000,000 บาทต่อทีม โดยเงื่อนไขเงินทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนาต้นแบบจะอยู่ในรูปแบบของเงินสนับสนุน ไม่มีข้อผูกมัดในเรื่องการเข้าถือหุ้น ถือเป็นเงิน Seed Money ที่ทำให้ต้นแบบเป็นเชิงพาณิชย์และเข้าสู่รอบ Seed Round หรือ Pre Series A ต่อไป

โดยผู้ผ่านเข้ารอบตามกติกามีสิทธิได้รับการสนับสนุนจะต้องลงทุนในโครงการในรูปของเม็ดเงิน (In-Cash) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายโครงการ ขณะที่ สนช. จะสนับสนุนเงินอุดหนุนในรูปแบบของเงินสนับสนุนไม่เกินร้อยละ 75 ของค่าใช้จ่ายโครงการ ในวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาทต่อโครงการ โดยคงระยะเวลาการสนับสนุนไม่เกิน 6 เดือน

ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ อีจีเอ เปิดเผยว่า โครงการนี้ต้องการเน้นสิ่งที่ภาครัฐมี คือฐานข้อมูลที่เข้าถึงการบริการประชาชนทั้งประเทศในทุกภาคส่วน ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนเองสามารถคิดค้นแอปพลิเคชันใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยคาดหวังว่าจะดึงภาคเอกชนฝีมือดีเข้ามาพัฒนาต่อยอดและสร้างหน่ออ่อนจากนักศึกษาที่กำลังจบจากมหาวิทยาลัยให้มีความคุ้นชินกับเรื่องรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และเข้ามาพัฒนางานร่วมกัน ดังนั้น การเร่งผลักดัน Open Data ของภาครัฐต่อเนื่องด้วยการสร้าง KDI หรือชุดซอฟต์แวร์ที่ทำให้สามารถดึงข้อมูลภาครัฐไปใช้ได้อย่างอัตโนมัติจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้ถือเป็นปีเริ่มต้นที่เริ่มเปิด KDI และจะเป็นปีทดลองที่มีนัยสำคัญต่อการพัฒนาอย่างมาก

การทำให้ผลงานหรือแนวคิดที่เกิดจากโครงการ MEGA 2017 สามารถต่อยอดและเติบโต ยิ่งถ้านำไปสู่การเป็น Tech Start-Up ได้ จะถือเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งยวด ซึ่งโครงการในปีนี้ได้สร้างกระบวนการเช่นเดียวกับที่ Tech Start-Up จะต้องเจอ ไม่ว่าจะเป็นการ Pitch Idea การสร้างที่ปรึกษา หรือ Mentor และการนำเสนอผลงานต่อนักลงทุนจริงๆ ซึ่งเป็น Ecosystem ที่ผู้ประกวดต้องประสบ ดังนั้น มาตรฐานในกระบวนการประกวดจะสูงขึ้น และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมจริงของบริษัท Start-up” ดร.ศักดิ์ฯ กล่าว

โครงการ MEGA 2017 จัดประเภทการประกวดเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทนักศึกษา (Idea Student) และประเภทผู้ประกอบการ (Accelerator) สำหรับผู้ประกอบการจะเป็นการนำเสนอผลงาน หรือนวัตกรรม ที่กำลังพัฒนา หรือพัฒนาสำเร็จแล้ว และนำมาแสดงต่อคณะกรรมการในรูปแบบของ Prototype/MVP ที่สามารถนำไปสร้าง Business Model ได้จริง
นอกจากนี้ ทั้ง 2 ประเภท ผู้ประกวดสามารถนำชุดข้อมูลในรูปแบบของ Open Government Data ใน data.go.th มาพัฒนาเป็นผลงานในการประกวดได้ และสำหรับปีนี้ทาง EGA จะเตรียมข้อมูล Open Data ของภาครัฐในรูปแบบ KDI ไว้ให้ใช้งานสำหรับในบางหมวดด้วย ซึ่งจะให้ใช้เฉพาะกลุ่มผู้เข้าประกวดระดับผู้ประกอบการก่อน เนื่องจากยังถือเป็นเรื่องใหม่ในวงการซอฟต์แวร์ภาครัฐ

นอกจากการประกวดแล้ว MEGA2017 ยังมีกิจกรรม “แคมป์บ่มเพาะ” (Incubation) ให้แก่รุ่นนักศึกษา โดยมีการบ่มเพาะรวมทั้งหมด 3 ครั้งสำหรับผู้เข้าประกวดที่ผ่านการคัดเลือกแต่ละรอบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและดึงศักยภาพสูงสุดในตัวผู้เข้าประกวดและทีมงาน ตลอดจนเสริมสร้างความรู้เรื่องเทคโนโลยี เครื่องมือการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สำคัญ รวมทั้งสารประโยชน์ แนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ๆ ของโลก และเรื่องสำคัญอื่นๆ อีกมากมายเพื่อเป็นการบ่มเพาะเพิ่มทักษะทางธุรกิจ เพื่อก้าวสู่กลุ่ม Start-up  นอกจากนั้น ผู้เข้ารอบยังมีโอกาสได้พบกับเจ้าของหน่วยงานภาครัฐที่เลือกพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะโดยตรง อีกทั้งอาจเป็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจต่อไปหลังจบโครงการ

สำหรับรางวัลของการประกวดประกอบด้วย โอกาสการต่อยอดทางธุรกิจ (Business Opportunity) กับหน่วยงานภาครัฐในทุกผลงาน รางวัลหลัก 8 รางวัล แบ่งเป็นประเภทนักศึกษา รางวัลชนะเลิศ ถ้วยรางวัลพระราชทาน โล่เกียรติคุณ เกียรติบัตร พร้อมทุนสนับสนุนเป็นจำนวนมูลค่า 100,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โล่เกียรติคุณ เกียรติบัตร พร้อมทุนสนับสนุนเป็นจำนวนมูลค่า 70,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โล่เกียรติคุณ เกียรติบัตร พร้อมทุนสนับสนุนเป็นจำนวนมูลค่า 50,000 บาท รางวัลชมเชย เกียรติบัตร พร้อมทุนสนับสนุน เป็นจำนวนมูลค่า รางวัลละ 20,000 บาท

ประเภทผู้ประกอบการ รางวัลชนะเลิศ ถ้วยรางวัลพระราชทาน โล่เกียรติคุณ เกียรติบัตร พร้อมทุนสนับสนุนเป็นจำนวนมูลค่า 100,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โล่เกียรติคุณ เกียรติบัตร พร้อมทุนสนับสนุนเป็นจำนวนมูลค่า 70,000 บาท

ข่าวเผยแพร่ในสื่อ

สนช. จับมือ อีจีเอ. ลงนาม ผลัก MEGA 2017 สร้างแอปพลิเคชั่น บริการประชาชน (ThaiPR)

ความร่วมมือ สนช. และ อีจีเอ. (โพสต์ทูเดย์)