สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

นวัตกรรมเพื่อสังคม

โครงการ “คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” ตัวEDIT

เข้าสู่เว็บไซต์ "นวัตกรรมเพื่อสังคม"

โครงการ “คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” (STI Coupon for OTOP Upgrade)

เป็นการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ OTOP วิสาหกิจชุมชน โดยการน้า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ พัฒนาและออกแบบ บรรจุภัณฑ์ พัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต พัฒนาระบบมาตรฐาน พัฒนาและออกแบบเครื่องจักร พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบต้นน ้า ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้าและบริการ โดยเฉพาะในสาขาที่ตอบสนองต่อทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

กลุ่มเป้าหมายมี 3 กลุ่ม 

  1. ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการโอท็อปที่เพิ่งเริ่มต้น (OTOP StartUp)
    ประชาชนทั่วไป วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ที่ ยังไม่ขึ นทะเบียน OTOP ที่ต้องการน้าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ในการสร้างและพัฒนา นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่
  2. ผู้ประกอบการโอท็อปที่ขึ้นทะเบียนแล้วและต้องการยกระดับดาว (Existing)
    กลุ่มผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ OTOP ที่ต้องการน้าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน
  3. ผู้ประกอบการโอท็อปที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนและต้องการเพิ่มศักยภาพในการ ส่งออก (Growth)
    กลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นบริษัท และห้างหุ้นส่วนจ้ากัด ที่มีการ ผลิตและจ้าหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน/ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น /ผลิตภัณฑ์ OTOP ได้มีการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ OTOP ที่ต้องการน้าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ในการต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถแข่งขันทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

มีรูปแบบการให้บริการ 6 ด้าน

  1. พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์
  2. พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์
  3. พัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต
  4. พัฒนาระบบมาตรฐาน
  5. พัฒนาและออกแบบเครื่องจักร
  6. พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบต้นน้ำ

สนช. มีบทบาทและแนวทางที่สำคัญในการขับเคลื่อนภาควิสาหกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมให้เข้าสู่กระบวนการคิดที่เป็นระบบเพื่อรังสรรค์นวัตกรรมขึ้น เป็นดำเนินการควบคู่กับการสร้างความเข้าใจด้านนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เหมาะสม  การลงมือปฏิบัติจริง และการมีส่วนร่วมของชุมชนมุ่งเน้นการสร้างรูปแบบธุรกิจนวัตกรรมของกลุ่มโอทอปให้มีความชัดเจน ด้วยการวางรากฐานการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมชุมชนให้สามารถแข่งขันได้และมีความยั่งยืน ในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้จากธุรกิจขนาดใหญ่ไปสู่ธุรกิจชุมชน และการสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม ที่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับสังคมอย่างเท่าเทียมกัน

ตัวอย่างผลงานของ สนช. ที่ได้ร่วมสร้างสรรค์สินค้าชุมชนของวิสาหกิจนวัตกรรมเชิงสังคม เช่น

  • สารกั้นสีงานผ้าบาติกจากยางพาราร่วมกับวิสาหกิจชุมชนสงขลาบาติก  
  • เครื่องปั้นดินเผาโปร่งแสงและน้ำหนักเบาด้วยดินนาโนร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรม
  • เครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง
  • สิ่งทอเส้นใยธรรมชาติที่มีความเงาและความนุ่มแบบพิเศษร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าลายโบราณบ้านภูจวง

นวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation)

เป็นกลยุทธ์ใหม่ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ในการนำนวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาสังคม โดยเป็นกระบวนการ เครื่องมือ การดำเนินงาน หรือสิ่งต่างๆ ที่จะทำให้สังคมดีขึ้น และตอบโจทย์ความต้องการของสังคม โดยไม่จำกัดขอบเขต หรือความหมายในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ

การสร้างให้ชุมชนและสังคมในประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานรากที่สำคัญในการพัฒนาของประเทศให้สามารถมีกระบวนการใหม่ เกิดความยั่งยืนให้เกิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) ที่มีกลุ่มผู้ขับเคลื่อนหลัก เช่น วิสาหกิจชุมชน (Community Enterprises, CE) สหกรณ์ ร้านค้า กลุ่มเกษตรกร และกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprises, SE) เป็นต้น ร่วมกับการสร้างศักยภาพหรือสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมเพื่อเสนอรูปแบบวิธีการใหม่ (new solution) นั่นคือแนวทางการคิดใหม่ วิธีการใหม่ๆ ที่สามารถแก้ปัญหาที่เป็นเป้าหมายของการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผล ยั่งยืน และสามารถต่อยอดผลลัพธ์ได้ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมที่อาศัยทุนทางวัฒนธรรมและสังคม อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจชุมชน เพื่อสร้างให้เกิด "นวัตกรรมเพื่อสังคม" (Social Innovation)

สนช. ในฐานะองค์กรหลักในการพัฒนาระบบนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation System, NIS) ของประเทศไทย โดยอาศัยกลไกทั้งทางด้านวิชาการและการเงิน ซึ่งที่ผ่านมา มุ่งเน้นการยกระดับนวัตกรรมภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่ จึงได้ริเริ่มแผนการดำเนินงาน “วิสาหกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม" (Social Innovation Business) ซึ่งหมายถึงการวางรากฐานการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมชุมชนให้สามารถแข่งขันได้และมีความยั่งยืน ด้วยการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้จากธุรกิจขนาดใหญ่ไปสู่ธุรกิจชุมชน และการสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม ที่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับสังคมอย่างเท่าเทียมกัน (creating shared value)

  • สนช. เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เข้าร่วมบูรณาการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวง (สป.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ซึ่งมีกลไกหนึ่งที่สำคัญคือการมอบ “คูปองวิทย์เพื่อ OTOP” ให้บริการ 6 เรื่อง คือ พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบกระบวนการผลิต ออกแบบเครื่องจักร พัฒนาระบบมาตรฐาน ครอบคลุมกลุ่ม OTOP ทุกกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่ม OTOP Start Up ที่เริ่มดำเนินการธุรกิจ กลุ่ม OTOP Existing ที่ได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์แล้วมากกว่า 70,000 ผลิตภัณฑ์ และกลุ่ม OTOP Growth ที่เติบโตต้องการก้าวไปสู่ SMEs
  • สนช. ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “ประชารัฐร่วมยกระดับโอทอปด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันทางการเงิน และสถาบันทางการศึกษา จำนวน 35 หน่วยงาน เพื่อสร้างเครือข่ายส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับโอทอปด้วย วทน. ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการโอทอปและวิสาหกิจชุมชน ให้มีการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผนวกเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ และองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานให้กับสินค้าและบริการจนสามารถยกระดับจากผู้ผลิตที่ตอบสนองความต้องการระดับท้องถิ่น สู่ผู้ผลิตระดับ SMEs ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดในระดับสากลได้ นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน ท้องถิ่น รวมทั้งเป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากของประเทศ