สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA ร่วมกับ สวก. แนะโอกาส AgTech Startup ต่อยอดงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเกษตรด้วยกลไกการสนับสนุนจากภาครัฐ

News 26 มกราคม 2565 2,211

NIA ร่วมกับ สวก. แนะโอกาส AgTech Startup ต่อยอดงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเกษตรด้วยกลไกการสนับสนุนจากภาครัฐ


สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จัดงานสัมมนา “แหล่งเงินทุนสำหรับสตาร์ทอัพเกษตร Source of Fund for AgTech Startup series II” ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมมากกว่า 120 คน เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา


นายปริวรรต  วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม และผู้อำนวยการศูนย์วิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทย NIA กล่าวเปิดงานว่า จากนโยบายในการเร่งสร้างสตาร์ทอัพด้านการเกษตรของไทยให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพลิกโฉมการเกษตรโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้วยการประสานงานให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการเกษตรสมัยใหม่ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดระบบนิเวศสตาร์ทอัพด้านการเกษตร (AgTech Startup Ecosystem) ที่มีการเชื่อมโยงในทุกภาคส่วนและสนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพ ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือ แหล่งทุนสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของ Deep Tech ที่ต้องมีพื้นฐานจากการวิจัยระดับสูง มาสร้างให้เกิดธุรกิจ สู่การเติบโตและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศได้


คุณภาวดี ใจเอื้อ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สวก. ได้นำเสนอบทบาทภารกิจของ สวก. ในการบริหารจัดการวิจัยการเกษตรเพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาด้านการวิจัย ทั้งในส่วนงานวิจัยเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และเชิงพาณิชย์ ด้านบุคลากรด้านการเกษตร ในรูปแบบทุนระยะยาวเป็นทุนการศึกษา และทุนระยะกลาง-สั้น เป็นลักษณะการอบรม และข้อมูลสารสนเทศด้านการเกษตร จัดทำเป็นศูนย์กลางข้อมูลการวิจัยการเกษตรของประเทศ (Thailand Agriculture Research Repository; https://tarr.arda.or.th )


ด้วยบทบาทที่สำคัญของ สวก. ที่เป็นหนึ่งในหน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม (Program Management Unit, PMU) ในการเป็นแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาให้กับภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีแนวทางสำคัญในการสนับสนุนทุนด้านเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต ที่มีหลักการตลาดนำการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพันธุ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ กลางน้ำด้านเทคโนโลยีการผลิตพืชและอาหาร จนไปถึงปลายน้ำด้านการเพิ่มมูลค่าการผลิต โดยประเด็นงานวิจัยต้องสร้างการเปลี่ยนแปลง ผลกระทบสูง ตอบโจทย์นโยบายเร่งด่วน สามารถใช้ได้จริงในเกษตรกรทุกระดับ เกิดจากความต้องการและมีส่วนร่วมในการวิจัยของผู้ใช้งาน เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคง ลดการอุดหนุนจากภาครัฐ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน 


โดยมีกลไกการสนับสนุนทุนวิจัยไม่จำกัดกรอบวงเงิน ได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการ เกษตรกร ทั้งที่เป็นบุคคล หรือนิติบุคคล โดยมีหลักเกณฑ์ และสิทธิประโยชน์ทางทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีการอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยตามการร่วมสนับสนุนทุนวิจัย พร้อมนำเสนอตัวอย่างโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนและถ่ายทอดผลงานวิจัยจากทาง สวก. ที่ผ่านมา 


ที่สำคัญในเร็วๆ นี้ จะเปิดรับกรอบแผนงานวิจัยปี 2566 ใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ 


1) การส่งออกอาหารและผลไม้ไทยคุณค่าสูง 

2) กระบวนการผลิตพืชและสัตว์ตลอดห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม

3) ยกระดับการเกษตรด้วย smart farming 

4) แก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติด้านนิเวศน์เกษตรสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และ 

5) การบริหารจัดการน้ำด้านการเกษตร  


ทั้งนี้ รายละเอียดแผนงานและการพัฒนาโจทย์แนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการได้ตรงเป้าหมาย เพื่อให้ตอบโจทย์ตรงกับความต้องการแผนงาน สามารถติดตามข่าวประชาสัมพันธ์จากทางเว็บไซต์และสื่อประชาสัมพันธ์ของทาง สวก. ได้ต่อไป


สามารถชมย้อนหลังได้ที่ 


#AgTechStartup #Funding #NIA #ARDA #Agricuture #Innovation