สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

การรับรองบริษัทเป้าหมาย (Capital Gains Tax)

Target :
สตาร์ทอัพ/สมาร์ทเอสเอ็มอี/กิจการเพื่อสังคม
องค์กรต่างประเทศ
บริษัทขนาดกลาง-ใหญ่/นักลงทุน

การรับรองบริษัทเป้าหมายซึ่งประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน (Capital Gains Tax) 

 

ทำความเข้าใจ "มาตรการการยกเว้น Capital Gains Tax" คืออะไร

มาตรการการยกเว้น Capital Gains Tax คือ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) โดยการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับส่วนเกินทุน (Capital Gains) หรือกำไรจากการขายหุ้น ให้กับนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติที่ทำการลงทุนในบริษัทเป้าหมายซึ่งประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน โดยมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2575 ซึ่งมาตรการนี้นอกจากจะเป็นการสร้างแรงจูงใจ และดึงดูดคนมีทักษะสูงจากต่างประเทศให้เข้ามาทำงานหรือลงทุนในประเทศไทยมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้วิสาหกิจเริ่มต้นระดมทุนจากนักลงทุนได้เพิ่มขึ้นและง่ายขึ้น ส่งผลดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศอีกด้วย

 

ทั้งนี้ วิสาหกิจเริ่มต้นหรือบริษัทที่ประสงค์จะยื่นเรื่องใช้สิทธิ์ยกเว้น Capital Gains Tax ต่อกรมสรรพากรให้กับนักลงทุนนั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 750) พ.ศ. 2565 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 428) โดยต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย และได้รับการรับรองตามประกาศจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ว่าเป็นบริษัทเป้าหมายซึ่งประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน ที่มีการพัฒนาหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือรังสรรค์นวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินกิจการ และต้องอยู่ใน 14 อุตสาหกรรมตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ 1/2561 ประกาศกำหนด ดังต่อไปนี้

  1. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
  2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  3. อุตสากรรมการท่องเที่ยวระดับคุณภาพ
  4. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
  5. อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
  6. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
  7. อุตสาหกรรมการบิน
  8. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
  9. อุตสาหกรรมดิจิทัล
  10. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
  11. อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
  12. อุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยตรงและมีนัยสำคัญ เช่น การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นต้น
  13. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัยพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย
  14. อุตสาหกรรมเป้าหมายอื่นๆที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามที่คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายให้ความเห็นชอบ

capital gains tax

 

ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการการยกเว้น Capital Gains Tax
  • นักลงทุน (Investor) จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนของกำไรจากการขายหุ้นวิสาหกิจเริ่มต้น
  • วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เปิดโอกาสให้วิสาหกิจเริ่มต้นไทยได้รับการลงทุนจากนักลงทุนไทยและต่างชาติมากขึ้น

 

ขั้นตอนการขอรับรองบริษัทเป้าหมายซึ่งประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน

1. บริษัทเป้าหมายฯ ดำเนินการส่งเอกสารดังรายการต่อไปนี้ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม

(1) แบบคำขอรับรองฯ

(2) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

(3) บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ. 5 หรือ หส.2)

(4) ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) (ถ้ามี)

(5) งบการเงินย้อนหลัง 2 ปี

(6) เอกสารระบุความสอดคล้องกับเทคโนโลยีหลักที่ใช้เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินกิจการ (ถ้ามี)

(7) บทสรุปผู้บริหาร 1 หน้า

(8) ข้อมูลสรุปการประกอบธุรกิจ (Pitch Deck) 

(9) หลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียม

ส่งเอกสาร (ขนาดไฟล์รวมขนาดไม่เกิน 25 MB) ที่อีเมล [email protected] ภายในวันที่ 1 – 10 ของทุกเดือนเพื่อการพิจารณาตามรอบของสำนักงาน

2. สำนักงานฯ ดำเนินการตรวจสอบความครบถ้วนและพิจารณาเอกสารการขอรับรอง

3. สำนักงานฯ ประกาศรายชื่อบริษัทเป้าหมายที่ได้รับการรับรองภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์

 
เอกสารดาวน์โหลด

(1) แบบคำขอรับรองฯ โดย NIA

 
การชำระเงินค่าธรรมเนียม

กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้

  1. การขอรับรอง 2,500 บาทต่อครั้ง ซึ่งเป็นอัตราค่าธรรมเนียมที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
  2. การขอแก้ไขข้อมูลหรือต่ออายุการรับรอง 1,500 บาท ต่อครั้ง ซึ่งเป็นอัตราค่าธรรมเนียมที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

 

โดยทำการชำระเงินค่าธรรมเนียมไปยังบัญชีสำนักงาน ดังนี้

ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ชื่อบัญชี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
เลขที่บัญชี 980-1-39088-3

 

บริษัทเป้าหมายที่ได้รับการรับรองสามารถยื่นเรื่องใช้สิทธิ์ต่อกรมสรรพากรได้ภายในระยะเวลา 5 ปี
 
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

 

รายชื่อบริษัทเป้าหมายซึ่งประกอบกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุน (Capital Gains Tax) ที่ได้รับการรับรองจาก NIA

ข่าวกิจกรรม

ดูทั้งหมด

คอนเทนต์นวัตกรรม

ดูทั้งหมด