สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

สิรพัฒน์ ชนะกุล (ป๊อป)

นักส่งเสริมนวัตกรรมอาวุโส ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม

02-017 5555 # 544

ประสบการณ์ที่ผมได้เรียนรู้จากการเป็นนักพัฒนานวัตกรรมนั้นเราควรจะมองทุกอย่างเป็นบวก คิดว่าต้องทำได้ เพราะผมคิดว่าไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้

 

WORK

ก่อนหน้านี้ ผมทำหน้าที่เป็นนักพัฒนานวัตกรรม (Innovation Developer) มุ่งเน้นบริหารจัดการ บูรณาการ และเชื่อมโยงทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานวิชาการ ภาครัฐ และเอกชน เพื่อพัฒนาโครงการนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ โดยศึกษาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ทั้งด้านเทคโนโลยี ความใหม่ ธุรกิจและการเงินเพื่อสร้างให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมที่มีศักยภาพการแข่งขันและมีโอกาสทางการตลาดสูง ซึ่งปัจจุบันผมได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลในการดำเนินงานของศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจ

นวัตกรรมการเกษตร (Agro Business Creative Center : ABC Center)ซึ่งเป็นแผนงานของฝ่ายยุทธศาสตร์ S3 พัฒนาความสามารถทางนวัตกรรม (Innovation Capability) ของ สนช. โดยศูนย์ฯ มีพันธกิจหลักเพื่อเร่งสร้างเสริมความสามารถแก่ผู้ประกอบการธุรกิจที่พัฒนานวัตกรรมการเกษตร โดยมุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมแก้ไขปัญหาการเกษตรตลอดห่วงโซ่มูลค่าตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาผู้ประกอบการให้บริการนวัตกรรมการเกษตร (Agtech Solution Provider) เพื่อช่วยยกระดับศักยภาพและเปลี่ยนผ่านภาคการเกษตรของไทยใน 5 มิติ ได้แก่

•การปรับเปลี่ยนจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้แรงงาน (Perspiring Agriculture) เป็นการทำเกษตรอัตโนมัติ (Automated Agriculture)

•การปรับเปลี่ยนจากการทำเกษตรที่ใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มีการปลดปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อม (Waste of Agriculture) เป็นการเกษตรแบบลีน (Lean Agriculture)

•การปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจเกษตรพ่อค้าคนกลาง (Middle-man Economy) เป็นการสร้างรายได้โดยตรงจากเกษตรกรรม  (Monetization of Agriculture)

•การปรับเปลี่ยนจากการตลาดเกษตรแบบผูกขาดอยู่กับบริษัทขนาดใหญ่หรือผู้รับซื้อรายเดียว (Supply Dominated Market เป็นตลาดเกษตรแบบวิถีประชาธิปไตย (Democratized Market)

•การปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้ใช้ หรือพึ่งพาผู้ให้บริการเทคโนโลยีการเกษตร (Agtech Follower) เป็นผู้นำด้านการให้บริการเทคโนโลยีการเกษตร (Agtech Leager)

ดังนั้นแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ฯ จึงเป็นพลังขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้มีศักยภาพการแข่งขันกับระดับสากลได้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย “Thailand 4.0” ที่ต้องการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจไปสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” สู่ความมั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืน

EXPERTISE

หลังศึกษาจบการศึกษาระดับปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ในปี 2551 ผมได้มีโอกาสเข้ามาทำงานกับ สนช. ตลอดระยะเวลาการทำงานจนถึงปัจจุบันผมมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญการพัฒนาโครงการนวัตกรรมได้ไม่น้อยกว่า 70 โครงการ ซึ่งผลงานส่วนหนึ่ง มีการนำไปใช้จริงอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับแนวทางการทำงานของผม ในช่วงแรกของการทำงานที่ สนช. ผมไม่ได้มุ่งเน้นจะพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอะไรเป็นสำคัญ เพียงแต่ผมมองว่าการได้พัฒนาตัวเองจากการได้เรียนรู้และพัฒนาโครงการนวัตกรรมในสาขาอื่นๆ ที่ตัวเองไม่ได้มีประสบการณ์ด้านนั้นโดยตรงนั้นส่งผลให้ผมมีองค์ความรู้ที่หลากหลายและสามารถจับเชื่อมโยงให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมต่างสาขาแบบบูรณาการได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ประสบการณ์โดยตรงด้านการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมที่ได้กล่าวมาแล้ว ผมยังได้มีโอกาสได้เขียนบทความลงหนังสือสุดยอดนวัตกรรมไทย ไม่น้อยกว่า 30 บทความและมีโอกาสเป็นวิทยากรบรรยายและถ่ายทอดความรู้แนวทางการสร้างธุรกิจนวัตกรรมเพื่อให้ผู้สนใจนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจจากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากการเป็นนักพัฒนานวัตกรรมนั้น เราควรจะมองทุกอย่างเป็นบวก คิดว่าต้องทำได้ เพราะผมคิดว่าไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้เพียงแต่จะลงมือหรือใส่ใจทำหรือไม่ อย่างน้อยถ้าคิดที่จะทำก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้แต่ถ้าไม่คิดที่ทำเลย โอกาสของคุณหมดทันที

CREATIVITY

สำหรับกิจกรรมยามว่างจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเลิกงานตอนเย็นและช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ผมจะให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตัวเอง เพราะคิดว่าถ้าร่างกายเราแข็งแรงสมบูรณ์ส่งผลให้เราสามารถทำงานทุกอย่างได้เต็มประสิทธิภาพ ผมเลือกวิธีการออกกำลังกาย โดยการฟิตเนสและเตะฟุตบอล ซึ่งเป็นกีฬาที่ผมชื่นชอบและเล่นมาโดยตลอด เพราะช่วยสร้างความสัมพันธ์และความสามัคคีในการทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วผมใช้เวลาว่างกับการค้นหาข้อมูลใหม่ๆ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นแหล่งคลังความรู้ขนาดใหญ่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เพื่อสนับสนุนการทำงานของผมที่ทำอยู่ในปัจจุบันที่ต้องพัฒนาตัวเองให้เป็นผู้รอบรู้ด้านนวัตกรรมอยู่ตลอดเวลา เวลาได้พูดคุยกับผู้อื่นจะทำให้เรามีข้อมูลความรู้แลกเปลี่ยนกับคนอื่นได้อย่างมั่นใจและอีกฝ่ายจะเห็นว่าเรามีความสำคัญและสามารถช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำได้ การได้เข้ามาทำงานและเป็นส่วนหนึ่งของ สนช. ช่วยพัฒนาทักษะผมหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทักษะพูดคุยกับบุคคลอื่นที่อาวุโสและมีประสบการณ์ชีวิตมากกว่า การกล้าแสดงออกการได้รับรู้ประสบการณ์การทำธุรกิจและการใช้ชีวิตเพื่อนำมาปรับใช้กับตัวเองรวมทั้งการที่ผมได้รู้จักกับเจ้าของธุรกิจหลากหลายธุรกิจทำให้ผมมีโอกาสมากกว่าคนอื่นที่จะพัฒนาต่อยอดและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับตัวเองในอนาคตได้อีกด้วย

EDUCATION

  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

EXPERIENCE

  • มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมร่วมกับภาครัฐ และเอกชนไม่น้อยกว่า 10 ปี
  • คณะกรรมการร่วมพิจารณาการให้ทุนวิจัยรวมทั้งการประเมินติดตามโครงการให้ทุนวิจัยภาครัฐ
  • วิทยากรบรรยายแนวทางการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม
  • ดูแลและรับผิดชอบการดำเนินงานของศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร เพื่อเร่งสร้างผู้ให้บริการนวัตกรรมการเกษตรช่วยยกระดับศักยภาพและเปลี่ยนผ่านภาคการเกษตรสู่เกษตร 4.0

PORTFOLIO

ไม่มีข้อมูล

CURRENT POSITION

นักส่งเสริมนวัตกรรมอาวุโส ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม