สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

มณฑา ไก่หิรัญ (นก)

ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม

02-017 5555 # 543

นวัตกรรม-ความสำเร็จอยู่ที่
ความตั้งใจจริงที่ได้ลงมือปฏิบัติ

WORK

“นวัตกรรม” หรือ “Innovation” เป็นคำยอดนิยมที่เข้าไปเกี่ยวข้องทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ หน่วยงาน หรือนโยบายระดับชาติ แต่ยังมีความเข้าใจในความหมายที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งดิฉันเริ่มทำงานเป็นนักพัฒนานวัตกรรม (Innovation Developer) ที่จะทำให้ความหมายของนวัตกรรมมีความเด่นชัดในเชิงปฏิบัติด้วยการทำหน้าที่เปรียบเหมือนเป็นมดงานตัวเล็กๆ หรือกองหน้าที่มีทุกส่วนงานเข้ามาร่วมสนับสนุนในการเข้าไปพัฒนา ริเริ่ม สร้างสรรค์ จุดประกาย เชื่อมโยงและสนับสนุนในทุกภาคส่วน เพื่อให้โอกาสเกิดแผนงานการสร้างนวัตกรรมที่มีความเป็นไปได้ทั้งเทคโนโลยี ธุรกิจ การเงิน และได้ลงมือทำจริง ซึ่งในการทำนวัตกรรมต่างๆ จะนึกถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่ผลกระทบด้านสังคมนับว่าเป็นอีกบทบาทที่ท้าทายที่จะทำให้เกิดการผนวกรวมกันเกิดขึ้นของ 3 P คือ People คนในสังคมได้รับประโยชน์ Profit การที่ต้องมีวัฏจักรของการดำเนินงานที่ต้องมีกำไรให้เหมาะสมกับต้นทุนเพื่อให้เกิดการอยู่ได้ขององค์กร และ Planet นวัตกรรมนั้นต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้ดำเนินงานแผนงานวิสาหกิจนวัตกรรมเชิงสังคม (Social Innovation Business, SIB) ที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมใน 3 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับองค์กรในการร่วมสร้างสรรค์สินค้าชุมชน 2. ระดับสังคมในการยกระดับคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาของชุมชนหรือสังคม และ 3. ระดับเมืองในการสร้างต้นแบบเมืองของการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม ทั้งในส่วนการสร้างนโยบายร่วมกับการสร้างระบบนิเวศ ซึ่งตอนนี้ได้รับผิดชอบดูแลในการดำเนินงานของศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (Agro Business Creative Center: ABC Center) เป็นการปรับเปลี่ยนภาคการเกษตรไทยจาก “เกษตรแบบดั้งเดิม” ไปสู่ “เกษตรอุตสาหกรรม” และก้าวไปสู่ “เกษตรบริการหรือธุรกิจเกษตร” ที่มีการใช้นวัตกรรมเป็นหลักในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทย

EXPERTISE

ดิฉันได้มีโอกาสร่วมงานในยุคบุกเบิกรุ่นที่ 2 ที่เริ่มมีการจัดตั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งได้ร่วมรังสรรค์และร่วมดำเนินการยุทธศาสตร์การพัฒนานวัตกรรมของ สนช. โดยรับผิดชอบหลักในการพัฒนาโครงการนวัตกรรมด้านวัสดุเป็นหลัก โดยมุ่งเน้นทางด้านยางพารา พลาสติกและวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีโครงการที่เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ซึ่งในขณะนี้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศคืออุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ และได้อาสาเป็น “นางฟ้าชุมชน” ที่จะเข้าไปร่วมสนับสนุนให้เกิดพัฒนานวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีความแตกต่างสามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ทั้งนี้จากการทำงานร่วมกับชุมชนทำให้เห็นกลุ่มเกษตรกรจำนวนมากที่ต้องการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับการปรับเปลี่ยนแนวทางการทำธุรกิจทางการเกษตรของประเทศไทยจึงมุ่งมั่นที่จะเป็น“เทพธิดาเกษตรกร” ที่ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนบูรณาการในทุกภาคส่วนที่จะช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนของธุรกิจเกษตรของประเทศไทยที่จะให้เกิด Agricultural Transformations ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรและยกระดับเกษตรกรของไทยให้อยู่อย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน

 

CREATIVITY

ในทุกครั้งที่มีโอกาส การเดินทางได้ไปทำบุญในวัดหรือสถานที่ต่างๆ ทำให้เรารู้จักการให้และการแบ่งปัน ทั้งนี้จะได้เห็นมุมมองการสร้างสรรค์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเป็นแบบอย่างที่แตกต่างกันออกไป โดยสิ่งสำคัญจะช่วยให้เกิด “ศีล สมาธิ  ปัญญา” ที่จะช่วยกระตุ้นให้มองรอบตัวและเห็นส่วนเล็กๆ เหมือนเส้นผมบังภูเขาที่จะก่อให้เกิดเป็นแนวทางที่สำคัญในการพัฒนานวัตกรรมของประเทศให้ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

EDUCATION

  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

EXPERIENCE

  • การพัฒนานวัตกรรม
  • เริ่มและพัฒนานวัตกรรมประมาณ 14 ปี โดยมีการส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรให้ได้พิสูจน์แผนงานได้ลงมือทำ ที่ทำให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมด้านวัสดุ และอื่นๆ ก่อให้เกิดการสร้างรายได้และจ้างงานที่เพิ่มขึ้นให้กับประเทศ ตัวอย่าง เช่น
  • นวัตกรรมยางพารา เช่น “นกเงือก: มีดกรีดยางชนิด  เปลี่ยนใบมีดได้”“แล็กซ์: น้ำยานาโนป้องกันการติดของยา  สำหรับกระบวนการแปรรูปน้ำยางพารา”
  • นวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ เช่น “M-Bio: เม็ดคอมพาวนด์พลาสติกชีวภาพสำหรับผลิตถุงพลาสติกชีวภาพ” “CMU-Bioplastsorb: พอลิเมอร์ดูดซึมได้คุณภาพสูงสำหรับวัสดุทางการแพทย์
  • นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น “เฮมพ์ไทย: พรมจากยางพาราและกัญชง สำหรับยานยนต์และการตกแต่ง” “ไอริส: กระเบื้องเคลือบผลึกจากเศษกระจกรีไซเคิล”
  • นวัตกรรมเชิงสังคม เช่น “พิมย่า: ผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเส้นใยผักตบชวา” “พิณมิสา: เวชสำอางจากสารสกัดปลากระดูกอ่อน”
  • สื่อและสิ่งพิมพ์
  • ผู้ร่วมแต่งหนังสือ “ยุทธศาสตร์นวัตกรรมพลาสติกชีวภาพไทย” สนช. ISBN 978-616-12-0025-1
  • 5 กรกฎาคม 2555: บทความ “การสร้างนวัตกรรมยางพารา... ในยุคราคายางปรับตัวสูง” การยางแห่งประเทศไทย
  • ผู้ร่วมเขียนบทความและจัดทำหนังสือ “นวัตกรรมพลาสติกชีวภาพไทย” สนช. ISBN 978-616-12-363-4
  • 11 สิงหาคม 2558: บทสัมภาษณ์ “โชว์สิ่งทอฝีมือไทยจากเส้นใยพลาสติกข้าวโพดครั้งแรก” หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
  • 9 มิถุนายน 2559: บทสัมภาษณ์ “นวัตกรรมเส้นใยธรรมชาติ” ใน SME Clinic ของธนาคารกรุงเทพ
  • ตอน Innovation กลยุทธ์การสร้างนวัตกรรม
  • สำหรับผู้ประกอบการ SME

PORTFOLIO

ไม่มีข้อมูล

CURRENT POSITION

ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม