สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

MIND CREDITS

MIND CREDIT

กลไกสนับสนุนด้านการเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรม” (Managing Innovation Development Credit) หรือ “MIND CREDIT” เป็นการสนับสนุนรูปแบบใหม่ของ สนช. สำหรับผู้ประกอบการไทย ให้สามารถเข้าถึงและใช้บริการจากบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาหรือขยายผลธุรกิจนวัตกรรม เพื่อยกระดับผู้ประกอบการไทยให้พร้อมในการแข่งขัน และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การสร้างให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจจากฐานนวัตกรรมของประเทศ ผู้ที่ประสงค์จะขอรับทุนภายใต้กลไก MIND CREDIT จะต้องส่งข้อเสนอโครงการต่อสำนักงานฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติ และบริษัทที่ปรึกษาที่ผู้ขอรับทุนจะใช้บริการจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ คัดเลือกและขึ้นทะเบียนโดยสำนักงานฯ ตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษากลไก MIND CREDIT ที่สำนักงานฯ กำหนด

วัตถุประสงค์ของกลไก MIND CREDIT 

กลไกสนับสนุน MIND CREDIT มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าถึงและใช้บริการจากบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ (4 สาขาภายในปี 60-61 และขยายเป็น 10 สาขาในระยะยาว) ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาหรือขยายผลธุรกิจนวัตกรรม เพื่อยกระดับผู้ประกอบการไทยให้พร้อมในการแข่งขัน และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบการสนับสนุน
สนช. จะให้การสนับสนุนในลักษณะของเงินให้เปล่า (Grant) ในรูปแบบทุนสนับสนุนค่าบริการที่ปรึกษาสูงสุด 1,000,000 บาท/โครงการ และคิดเป็นมูลค่าไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าโครงการ (มูลค่าโครงการ คือ ค่าบริการที่ปรึกษารวมทั้งหมด ตามใบเสนอราคาจากบริษัทที่ปรึกษา) ระยะเวลาการดำเนินโครงการไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ผู้ขอรับทุนทำสัญญารับทุนอุดหนุนโครงการนวัตกรรมกับ สนช.

ลงทะเบียนออนไลน์เพื่อแสดงความประสงค์ขอรับทุน MIND CREDIT

แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการนวัตกรรม MIND CREDIT  (MIND CREDIT Proposal Form)

สอบถามเพิ่มเติม
คุณศิรประภา รุ้งพราย
ผู้จัดการโครงการ
โทรศัพท์ : 02-017-5555 ต่อ 502
โทรสาร : 02-017-5566

คุณจุฑามาศ รัตนายุ
ผู้ประสานงานโครงการ
โทรศัพท์ : 02-017-5555 ต่อ 506
โทรสาร : 02-017-5566

คุณเปรมนภา โชติญาณพิทักษ์
ผู้ประสานงานโครงการ
โทรศัพท์ : 02-017-5555 ต่อ 506
โทรสาร : 02-017-5566

อีเมล์ : [email protected]

การทำสัญญาและเบิกจ่าย

การจัดทำสัญญารับทุนระหว่างผู้ขอรับทุน และ สนช.
ผู้ขอรับทุนโครงการที่ได้รับการอนุมัติจะต้องทำสัญญารับทุนกับ สนช. ตามรูปแบบที่ สนช. กำหนด ผู้ขอรับทุนจะไม่มีสิทธิขอเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือข้อสัญญาใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ขอรับทุนต้องเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการทําสัญญาจํานวน 2 ชุด ดังต่อไปนี้
1. สําเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกให้โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่จะมาลงนามในสัญญา จํานวน 2 ชุด พร้อมประทับตราสําคัญนิติบุคคลและลงนามรับรองสําเนาถูกต้อง
2. สําเนาบัตรประชาชนของผู้มีอํานาจลงนาม (ตามที่ระบุในหนังสือรับรองนิติบุคคล) จํานวน 2 ชุด พร้อมประทับตราสําคัญนิติบุคคลและลงนามรับรองสําเนาถูกต้อง
3. กรณีมอบอํานาจลงนาม ให้ทําหนังสือมอบอํานาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาทต่อเรื่อง โดยส่งตัวจริง 1 ฉบับ และสําเนา 1 ฉบับ และแนบสําเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอํานาจ และผู้รับมอบอํานาจ จํานวน 2 ชุด พร้อมลงนามรับรองสําเนาถูกต้อง
4. ข้อเสนอโครงการนวัตกรรมฉบับที่นําเสนอ สนช. (ระบุเลขหน้า) (ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการของ สนช.)
5. ชื่อพยานที่จะร่วมลงนามในวันเซ็นสัญญา (ส่งสําเนาบัตรประชาชนของพยานมายัง สนช. ล่วงหน้า)
6. ตรายางประทับของบริษัท

เงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินทุน MIND CREDIT
1. ระบบการจ่ายเงินทุนสนับสนุนค่าบริการที่ปรึกษาให้แก่ผู้ขอรับทุนอยู่ในรูปแบบการเบิกจ่ายย้อนหลัง (Reimbursement) กล่าวคือ ผู้ขอรับทุนจะต้องชำระค่าใช้จ่ายให้แก่บริษัทที่ปรึกษาก่อน แล้วจึงนำใบเสร็จรับเงินจากบริษัทที่ปรึกษามาประกอบการเบิกจ่ายเงินกับ สนช. พร้อมทั้งจัดทำเอกสารประกอบการเบิกจ่ายรายงวดตามที่ สนช. กำหนด
2. เงินทุนสนับสนุนค่าบริการที่ปรึกษาที่ได้รับการอนุมัติใช้ได้ภายในระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในสัญญารับทุนเท่านั้น
3. อำนาจในการพิจารณาเบิกจ่ายเงินทุนสนับสนุนเป็นอำนาจของ สนช. แต่เพียงฝ่ายเดียว และให้ถือเป็นที่สิ้นสุด

การประเมินข้อเสนอโครงการ

หลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอโครงการ
สนช. ได้แต่งตั้งผู้ประเมินข้อเสนอโครงการภายใต้กลไก MIND CREDIT เพื่อทำหน้าที่ประเมินข้อเสนอโครงการในเบื้องต้น โดยคณะผู้ประเมิน (3 ท่านต่อโครงการ) จะทำการประเมินข้อเสนอโครงการตามหลักเกณฑ์การประเมินที่ สนช. กำหนด โดยจะพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ประกอบกัน
1.มีความเป็นนวัตกรรมอย่างชัดเจน
2. กลยุทธ์ธุรกิจนวัตกรรม
3. ความสำคัญ/สอดคล้องกันระหว่างสาขาบริการที่ปรึกษาที่ขอรับทุนกับธุรกิจนวัตกรรม
4. ศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจนวัตกรรม รวมถึงความเป็นผู้นำ (Leadership) / ความชำนาญของธุรกิจ และโครงสร้างองค์กรและบุคลากร
5. ความเหมาะสมของสาขาคำปรึกษาและงบประมาณที่ขออนุมัติ
การพิจารณาอนุมัติเงินทุนสนับสนุนภายใต้กลไก MIND CREDIT
การพิจารณาอนุมัติเงินทุนสนับสนุนภายใต้กลไก MIND CREDIT นั้นจะพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการพิจารณาและกลั่นกรองโครงการนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ หรือด้านสังคม ของ สนช. การพิจารณาอนุมัติโครงการให้เป็นไปตามดุลพินิจของคณะอนุกรรมการฯ และผลการพิจารณาให้ถือเป็นที่สิ้นสุด

ขั้นตอนขอรับทุน

ผู้ขอรับทุนจะต้องดำเนินการยื่นขอรับทุน พร้อมแนบเอกสารประกอบต่างๆ ตามที่ สนช. กำหนด ดังนี้

  1. ลงทะเบียนออนไลน์ เพื่อยื่นข้อมูลความประสงค์ขอรับทุน (กรอกข้อมูลเบื้องต้น) ผ่านช่องทาง www.nia.or.th หรือคลิกที่นี่ ท่านจะได้รับการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่เพื่อให้ข้อมูลที่จำเป็นและแนะนำรายละเอียดการดำเนินการในขั้นต่อไป
  2. จัดทำข้อเสนอโครงการกลไกสนับสนุนด้านการเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรม (Managing Innovation Development Credit : MIND CREDIT) ตามแบบฟอร์มของ สนช. (สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ MIND CREDIT ได้ที่ http://www.nia.or.th/nia/th/about-mind-credit/ หรือคลิกที่นี่) พร้อมแนบเอกสารประกอบ ดังนี้
    • กรณีนิติบุคคล
      1. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์รับรองมาแล้วไม่เกิน 3 เดือน หรือหนังสือรับรองการจัดตั้งเป็นนิติบุคคลขึ้นตามกฎหมายอื่นๆ เช่น สหกรณ์การเกษตร
      2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ยื่นข้อเสนอโครงการ (ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง) พร้อมหนังสือมอบอำนาจจากนิติบุคคลหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ที่ยื่นข้อเสนอโครงการมีอำนาจในการยื่นข้อเสนอโครงการในนามของนิติบุคคล
      3. หนังสือรับรอง (Certificate) หรือเอกสารหลักฐานแสดงการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมของ สนช. ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
        • ผ่านการฝึกอบรมของ สนช. จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง
        • เคยได้รับทุนการสนับสนุนโครงการนวัตกรรมจาก สนช.
        • เคยผ่านการฝึกอบรมหรือการประเมินศักยภาพด้านนวัตกรรมภายใต้โครงการ Total Innovation Management (TIM) ของ สนช.
        • เคยได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติหรือรางวัลจากการประกวดอื่นๆ ของ สนช.
      4. ใบเสนอราคา (Quotation) จากบริษัทที่ปรึกษาที่ขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาภายใต้กลไก MIND CREDIT ของ สนช.
    • กรณีวิสาหกิจชุมชน
      1. หนังสือรับรองการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน
      2. สำเนาใบต่ออายุการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน จากกรมส่งเสริมการเกษตร
      3. สำเนาบัตรประชาชนของประธานวิสาหกิจชุมชนผู้มีอำนาจทำการแทนวิสาหกิจชุมชน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
      4. หนังสือรับรอง (Certificate) หรือเอกสารหลักฐานแสดงการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมของ สนช. ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
        • ผ่านการฝึกอบรมของ สนช. จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง
        • เคยได้รับทุนการสนับสนุนโครงการนวัตกรรมจาก สนช.
        • เคยผ่านการฝึกอบรมหรือการประเมินศักยภาพด้านนวัตกรรมภายใต้โครงการ Total Innovation Management (TIM) ของ สนช.
        • เคยได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติหรือรางวัลจากการประกวดอื่นๆ ของ สนช.
      5. ใบเสนอราคา (Quotation) จากบริษัทที่ปรึกษาที่ขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาภายใต้กลไก MIND CREDIT ของ สนช.
  3. ยื่นข้อเสนอโครงการ (ฉบับจริง) พร้อมแนบเอกสารประกอบต่างๆ มาที่
    สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
    73/2 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
    (Attn: คุณศิรประภา รุ้งพราย ผู้จัดการโครงการ โทรศัพท์ : 02-017-5555 ต่อ 502 อีเมล์: [email protected])

คุณสมบัติ

ผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรมที่สามารถขอรับทุนภายใต้กลไก MIND CREDIT ได้แก่

  • วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup)
  • วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
  • บริษัทขนาดใหญ่

คุณสมบัติของผู้ขอรับทุนภายใต้กลไก MIND CREDIT

  1. เป็นนิติบุคคล ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทยตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 หรือผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) หรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน ที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 และแสดงหนังสือรับรองนิติบุคคลของกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และ/หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีอายุไม่เกิน 90 วัน
  2. ไม่เป็นผู้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นในโครงการเดียวกันในระหว่างการยื่นข้อเสนอโครงการจนถึงพิจารณาโครงการ เว้นแต่ทุนนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ซ้ำซ้อนกับค่าใช้จ่ายที่ขอรับการสนับสนุน
  3. ไม่เป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง หรือผู้ต้องโทษในคดีอาญา อันอาจมีผลต่อความสามารถในการดำเนินงานให้สำเร็จตามข้อผูกพันของโครงการนวัตกรรม

มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
       4.1 เคยผ่านการฝึกอบรมของ สนช. จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมงขึ้นไป ในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 
             o โครงการพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมของผู้ประกอบการใหม่ภาคเหนือ (Northern Innovative Startup Thailand)
             o โครงการอบรมและพัฒนาศักยภาพขั้นสูงทางนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการ
             o โครงการฝึกอบรมอื่นๆ ที่ สนช. ออกหนังสือรับรอง (Certificate) ว่ามีจำนวนชั่วโมงไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง จึงจะสามารถใช้ประกอบข้อเสนอโครงการภายใต้กลไก MIND CREDIT ในกรณีนี้ เครดิตการฝึกอบรมจะยึดตามชื่อบริษัท ที่ส่งพนักงานเข้าร่วมการฝึกอบรมเท่านั้น ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมไม่สามารถนำหนังสือรับรอง (Certificate) ดังกล่าวไปใช้ในการขอรับทุนในนามของนิติบุคคลอื่นได้ ตัวอย่างใบประกาศ
       4.2 เคยได้รับทุนการสนับสนุนโครงการนวัตกรรมจาก สนช. 
       4.3 เคยผ่านการฝึกอบรมหรือการประเมินศักยภาพด้านนวัตกรรมภายใต้โครงการ Total Innovation Management (TIM) ของ สนช.
       4.4 เคยได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติหรือรางวัลจากการประกวดอื่นๆ ของ สนช.

ข้อควรทราบในการขอรับทุน MIND CREDIT

  1. ผู้ขอรับทุน 1 ราย สามารถขอรับทุนภายใต้กลไก MIND CREDIT ได้ไม่เกิน 1 โครงการ
  2. ผู้ขอรับทุนจะต้องรับผิดชอบค่าบริการที่ปรึกษาในส่วนที่เกินจากที่ได้รับการอนุมัติเงินสนับสนุนจาก สนช.
    - ยกตัวอย่างเช่น
    บริษัทที่ปรึกษาออกใบเสนอราคาให้ผู้ขอรับทุนรวมทั้งสิ้น 1,000,000 บาท และ สนช. อนุมัติเงินสนับสนุนในกรอบวงเงิน 750,000 บาท (75% ของมูลค่าโครงการ) แต่เมื่อดำเนินงานไปแล้วปรากฏว่ามีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นทั้งหมด 1,200,000 บาท (เนื่องจากผู้ขอรับทุนสั่งงานบริษัทที่ปรึกษาเพิ่มเติมจากที่ตกลงกันไว้เดิมตามใบเสนอราคา) ในกรณีเช่นนี้ ผู้ขอรับทุนจะสามารถเบิกจ่ายเงินสนับสนุนจาก สนช. ได้สูงสุด 750,000 บาท ตามที่ได้รับการอนุมัติโครงการเท่านั้น ผู้ขอรับทุนจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกิน คือ 450,000 บาท ด้วยตนเอง
  3. หากภายหลังปรากฏเหตุอันเกิดข้อพิพาทที่เกี่ยวกับโครงการนวัตกรรมที่ได้รับทุนจาก สนช. ว่ามีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และ/หรือปลอมแปลงเอกสารของผู้อื่น หรือไม่ว่าประการใดก็ตาม ผู้ขอรับทุนจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งทางแพ่งและทางอาญาแต่เพียงผู้เดียว

บริษัทที่ปรึกษา

ผู้ให้บริการคำปรึกษาภายใต้กลไก MIND CREDIT ได้แก่ บริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ (Professional Service Providers) ที่สามารถให้คำปรึกษาหรือบริการได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส คุ้มค่า โดยผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ คัดเลือก และขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษากลไก MIND CREDIT โดย สนช.

หลักเกณฑ์คุณสมบัติของบริษัทที่ปรึกษาภายใต้กลไก MIND CREDIT

  1. เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 3,000,000 บาทขึ้นไป
  2. มีบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องมากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  3. มีจำนวนพนักงานในบริษัทไม่น้อยกว่า 10 คน
  4. สามารถรับงานได้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  5. มีคุณสมบัติเฉพาะที่กำหนดในแต่ละด้านตามที่ สนช. กำหนด

แบบฟอร์มการขึ้นทะเบียนเป็นที่ปรึกษาภายใต้กลไก MIND CREDIT

  1. หนังสือแสดงความประสงค์เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาภายใต้กลไกสนับสนุน MIND CREDIT

Download หนังสือแสดงความประสงค์เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาภายใต้กลไกสนับสนุน MIND CREDIT

พร้อมแนบเอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้

  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล อายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันลงนาม พร้อมทั้งลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามพร้อมทั้งลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  • กรณีมีการมอบอำนาจ ให้แนบหนังสือมอบอำนาจ (ปิดอากรให้ครบถ้วนถูกต้อง) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ฉบับจริง 1 ฉบับ  และสำเนา 1 ฉบับ โดยลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  1. แบบฟอร์มข้อมูลบริษัทพร้อมประวัติที่ปรึกษา (สรุปเนื้อหาข้อมูล ไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ ตามแบบฟอร์มของ สนช.)

Download แบบฟอร์มข้อมูลบริษัท

  1. ประวัติการทำงาน (Resume) ของที่ปรึกษาที่ความเชี่ยวชาญประสบการณ์การทำงาน 10 ปีขึ้นไปของภายในบริษัท จำนวน 2 ท่าน

พร้อมแนบเอกสารประกอบ ดังนี้

  • ใบประกาศนียบัตรหรือหนังสืออนุญาตที่ท่านได้ผ่านการรับรองตามที่ระบุใน Resume/CV อาทิเช่น License CEA/CISA เป็นต้น

ส่งเอกสารตัวจริงที่กรอกข้อมูลและลงนามโดยครบถ้วนมายังสำนักงานฯ
โดยจ่าหน้าซองไปรษณีย์ถึง นางสาววลัยรัชต  โมกขะเวส

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ที่อยู่: เลขที่ 73/2 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

Email: [email protected]
Tel: 02-017-5555 ต่อ 503

รายชื่อบริษัทที่ปรึกษาภายใต้กลไก MIND CREDIT

กฎหมายธุรกิจ และการขึ้นทะเบียน/การขอใบอนุญาตจากภาครัฐ
บริษัท ซิโก้ลอว์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จํากัด
บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
บริษัท สำนักกฎหมายดำเนิน สมเกียรติ และบุญมา จำกัด
บริษัท ลีกัล สปิริต จำกัด
บริษัท สิทธิชน แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด
บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส จำกัด
บริษัท สำนักงานที่ปรึกษาภาษีเอสซีแอล จำกัด
บริษัท สำนักภาษี เคพีเอ็มจี ภูมิไชย จำกัด
บริษัท กุดั่น แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด
บริษัท สำนักกฎหมายสากล สยามพรีเมียร์ จำกัด
บริษัท คอมพาสลอว์ จำกัด
บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด

ทรัพย์สินทางปัญญา
บริษัท ซิโก้ลอว์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จํากัด
บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
บริษัท สำนักกฎหมายดำเนิน สมเกียรติ และบุญมา จำกัด
บริษัท สัตยะพล แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด

การเงิน/บัญชีและการลงทุน
บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอส จำกัด
บริษัท หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)
บริษัท อีวาย คอร์ปอเรท เซอร์วิสเซส จำกัด
บริษัท ดี ไอ เอ ออดิท จำกัด
บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำกัด
บริษัท เอ็น.อาร์.กรุ๊ป แอดไวซอรี่ จำกัด
บริษัท หลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด
บริษัท หลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด
บริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด
บริษัท หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัท หลักทรัพย์ อาร์เอชบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัท พีแอนด์แอล อินเทอร์นอล ออดิท จำกัด
บริษัท ดิสคัฟเวอร์ แมเนจเม้นท์ จำกัด
บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด
บริษัท ตรวจสอบภายในธรรมนิติ จำกัด
บริษัท สำนักภาษี เคพีเอ็มจี ภูมิไชย จำกัด
บริษัท ธรรมนิติการบัญชีและภาษีอากร จำกัด
บริษัท เอ็ม เอ็ม เอ็ม ซินดิเคท จำกัด
บริษัท วิระ แอนด์ เอ.ซี. แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด
บริษัท เจย์ แคปปิตอล แอดไวเซอรี่ จำกัด
บริษัท บัญชีกิจบริหาร จำกัด
บริษัท หลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด(มหาชน)
บริษัท หลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ จำกัด
บริษัท แคปิตอล พลัส แอดไวซอรี่ จำกัด
บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย ที่ปรึกษาธุรกิจ จำกัด
บริษัท มัลติพลัส ออดิท แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0
บริษัท ซิม ซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท เบ็กซ์ซิส จำกัด
บริษัท เน็ตซีส แอนด์ คอมพิวเตอร์ จำกัด 
บริษัท อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
บริษัท ซอฟต์สแควร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
บริษัท เอวิชั่น จำกัด
บริษัท เอ็กซ์เซลเลนซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด

สาขาบริการคำปรึกษา

กลไก MIND CREDIT เปิดโอกาสให้ผู้ขอรับทุนสามารถใช้บริการจากบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาหรือขยายผลธุรกิจนวัตกรรม โดยจะเริ่มจาก 4 สาขา* ภายในปี 2560 - 2561 และจะขยายเป็น 10 สาขาในระยะต่อไป ทั้งนี้ ผู้ขอรับทุนสามารถเลือกสาขาบริการที่ปรึกษาได้ไม่เกิน 3 สาขาต่อโครงการ

  1. กฎหมายธุรกิจ และการขึ้นทะเบียน/การขอใบอนุญาตจากภาครัฐ*
  2. ทรัพย์สินทางปัญญา*
  3. การเงิน/บัญชีและการลงทุน*
  4. การพัฒนาธุรกิจ/การจัดการ (เช่น พัฒนากลยุทธ์/รูปแบบธุรกิจนวัตกรรม การจัดการนวัตกรรม เป็นต้น)
  5. การตลาด
  6. มาตรฐานอุตสาหกรรม
  7. การออกแบบ (เช่น การออกแบบทางวิศวกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรม เป็นต้น)
  8. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0*
  9. การขนส่ง/โลจิสติกส์
  10. การค้าระหว่างประเทศ

ปัจจุบัน สนช. เปิดให้ขอรับทุนได้ใน 4 สาขาหลัก (จากทั้งหมด 10 สาขา) มีรายละเอียดในแต่ละสาขาดังต่อไปนี้

1. สาขากฎหมาย (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหรือขยายธุรกิจ)

  • คำปรึกษาด้านกฎหมายธุรกิจ
  • คำปรึกษาด้านสัญญาและการเจรจาธุรกิจ
  • การขึ้นทะเบียนหรือขอใบอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐ
  • การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์

2 สาขาทรัพย์สินทางปัญญา

  • คำปรึกษาด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
  • ร่างคำขอรับสิทธิบัตร/ออกแบบและเขียนแบบ (drawing) ประกอบคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบ/อนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร
  • ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/เครื่องหมายทางการค้าในประเทศไทย
  • ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/เครื่องหมายทางการค้าในต่างประเทศ
  • ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/เครื่องหมายทางการค้าในประเทศไทย
  • ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/เครื่องหมายทางการค้าในต่างประเทศ
  • ตรวจสอบและวิเคราะห์ IP Gap
  • คำปรึกษา/การสืบค้นงานที่ปรากฏอยู่แล้วที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ (Prior Art Search and Analysis)
  • คำปรึกษาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
  • คำปรึกษา/ประเมินความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิบัตรของบุคคลอื่น (Freedom-to-operate - FTO Search and Analysis)
  • ฟ้องร้อง/ดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
  • ฟ้องร้อง/ดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
  • คำปรึกษาด้านสัญญาและการเจรจาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
  • คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (IP Portfolio Management)
  • การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา (IP Valuation)
  • การจดแจ้งลิขสิทธิ์ในประเทศและต่างประเทศ

3. สาขาการเงิน/การบัญชี และการลงทุน

การวางแผนและการจัดทำงบประมาณ (Planning & Budgeting)

  • การวางระบบบริหารการเงินในกิจการ
  • การวางแผนกลยุทธ์ทางการเงิน
  • การบริหารทางการเงิน
  • การวางโครงสร้างของธุรกิจเพื่อจัดทำงบประมาณ
  • การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานทางการเงินด้วยรายได้และต้นทุน เพื่อพัฒนาข้อมูลเชิงลึกด้านโครงสร้างและแนวโน้มทางการเงิน
  • คำปรึกษาด้านการวางแผนการเงิน การจัดทำแผนงบประมาณสำหรับธุรกิจ และการวางแผนควบคุมงบกระแสเงินสด

การบัญชีเพื่อการจัดการ (Managerial Accounting)

  • วางแผนภาษีอากร (Tax Planning)
  • จัดทำบัญชี และภาษีอากรตามมาตรฐานการบัญชี
  • ออกแบบและวางระบบงานทางด้านบัญชีต้นทุน
  • จัดทำประมาณการงบกระแสเงินสด
  • พัฒนาแพลตฟอร์มรายได้ รายจ่าย เงินสด งบดุล เข้าด้วยกัน
  • ปรึกษาการวางระบบบัญชี การเลือกใช้ซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมกับกิจการและอุตสาหกรรม

การวิเคราะห์การลงทุน และการวางแผนการเงินเพื่อการเติบโต (Investment Analysis and Planning for Growth)

  • วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
  • คำปรึกษาเพื่อขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • จัดทำแผนธุรกิจเพื่อระดมทุน
  • ปรับโครงสร้างกิจการ

4. ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0

  • ระบบอัตโนมัติ (Automation)
  • ระบบบริหารจัดการสารสนเทศ (Management Information System)
  • ระบบบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับการผลิต (Manufacturing Resource Planning)
  • ระบบสารสนเทศวิเคราะห์ที่นำไปสู่ Business Insight