สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA ร่วมผนึกกำลังกับ ธกส. และภาคีเครือข่าย ในงานตลาดนัดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (Investor Day)

News 13 ธันวาคม 2564 1,380
NIA ร่วมผนึกกำลังกับ ธกส. และภาคีเครือข่าย ในงานตลาดนัดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (Investor Day)
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. เป็นหนึ่งใน 9 ภาคีเครือข่ายของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ร่วมจัดงาน “ตลาดนัดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (Investor Day)” ณ ธกส.สำนักงานใหญ่ อาคารบางเขน โดยมี 3 สตาร์ทอัพด้านการเกษตร ที่ผ่านการอบรม บ่มเพาะและได้รับทุนสนับสนุนของ สนช. ร่วมแสดงผลงาน เพื่อส่งเสริมและเชื่อมประสานการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ยกระดับให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ SME เกษตร ต่อยอดขยายผลการใช้งานต่อไป เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 

โดยมี นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม NIA ร่วมกล่าวการดำเนินงานที่สนับสนุนภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยการเร่งสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมและสตาร์ทอัพด้านการเกษตรให้เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (Change Maker) จากเกษตรดั้งเดิมเป็นเกษตรสมัยใหม่ โดยอาศัยแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการเกษตรรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาช่วยสร้างให้เกิดเป็น Smart Farmers สอดคล้องกับนโยบายเกษตร 4.0 และการขับเคลื่อนด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “BCG Model” ร่วมกับการให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาโครงการนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจและสังคม จากนั้นส่งต่อเชื่อมโยงการขยายการเติบโตร่วมกับภาคีเครือข่ายในการขยายผลการใช้งานร่วมกับเกษตรกร รวมไปถึงการส่งต่อเชื่อมโยงกับกองทุนร่วมลงทุนของ ธกส. ต่อไปด้วย

นอกจากนี้ภายในงานยังมี 3 สตาร์ทอัพด้านการเกษตร ที่ผ่านการอบรม บ่มเพาะ และได้รับทุนสนับสนุนจาก สนช. ได้แก่ 

1) ฟาร์มบุ๊ค เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยเกษตรกรวางแผนการผลิตในลักษณะซื้อขายล่วงหน้าไปยังกลุ่มตลาดภาคธุรกิจ ที่จะทำให้เกิดตลาดนำการผลิต ซึ่งเป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพที่ได้รับการร่วมลงทุนจาก ธกส. 

2) น้ำเชื้อว่องไว นำเทคโนโลยีชีวภาพมาสร้างความแม่นยำในการเกิดลูกวัวได้เพศตามต้องการสำหรับวัวเนื้อและวัวนม ทำให้โอกาสในการสมเทียมได้ความแม่นยำมากว่าร้อยละ 90 และได้เพศของลูกโคตรงกับความต้องการเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75 และ 

3) เดอะบริคเก็ต นำเสนอระบบบริหารจัดการฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด ด้วยการควบคุมไอโอทีอย่างแม่นยำ ทำให้นำข้อมูลไปใช้ขอมาตรฐาน GAP ทำได้ง่ายขึ้น อีกทั้งการให้อาหารอย่างเป็นระบบ ช่วยลดต้นทุนด้านอาหารได้ร้อยละ 20-30  ซึ่งจะเป็นการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างสตาร์ทอัพด้านการเกษตร กับ เกษตรกร ทายาทเกษตรกร ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และสถาบันเกษตรกร ให้เข้าถึงการรับรู้และสามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างโอกาสการขยายผลนวัตกรรมการเกษตรสู่การใช้งานจริงต่อไป

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของ 3 สตาร์ทอัพด้านการเกษตรได้ที่