สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA ชวนรู้จักตลาดการเกษตรสำหรับคนรุ่นใหม่กับ “AgTech Connext : Growing Together @ตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์”

News 29 เมษายน 2565 2,693

NIA ชวนรู้จักตลาดการเกษตรสำหรับคนรุ่นใหม่กับ “AgTech Connext : Growing Together @ตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์”


รู้จักตลาดการเกษตรสำหรับคนรุ่นใหม่กับ “AgTech Connext : Growing Together @ตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์”


ในปัจจุบันแพลตฟอร์มสินค้าออนไลน์เข้ามามีบทบาทในตลาดมากขึ้น และเนื่องจากปัญหาสินค้าการเกษตรล้นตลาด ราคาตก สตาร์อัพไทยจึงนำเสนอการเข้าถึงตลาดเกษตรรูปแบบใหม่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่มีระบบการจัดการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาให้กับเหล่าเกษตรกรและผู้ประกอบการทางด้านการเกษตรได้จริง


NIA จัดงานสัมมนาตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ เมื่อวันที่ 22 เมษยน 2565 ที่ผ่านมา โดยมี ดร.กริชผกา  บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม กล่าวเปิดงานว่า AgTech Connext เป็นก้าวสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงและกระตุ้นภาคการเกษตรให้หันมาใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหามากขึ้น และโครงการ AgTech Connext จะเป็นแพลตฟอร์มสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพเกษตรได้พัฒนาทักษะการขยายสู่ตลาดพร้อมได้ลงมือปฏิบัติจริง ขยาย Traction ได้จำนวนมากขึ้น โดยหวังว่าจะมาตอบโจทย์การเกษตรเมืองไทยพร้อมการขยายผลระดับภูมิภาคอาเซียน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนทำงานร่วมกันบนความเชี่ยวชาญของทั้งสองกลุ่ม และเกิดการขับเคลื่อนภาคการเกษตรอย่างยั่งยืนและมั่นคงต่อไป


ต่อด้วยคุณกุลิสรา  บุตรพุฒ นักส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม NIA แนะนำโครงการ AgTech Connext 2022 : แพลตฟอร์มเชื่อมโยงสตาร์ทอัพด้านการเกษตรสู่เกษตรกรและผู้ใช้งาน สำหรับในปีนี้ ความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนให้สตาร์ทอัพเกิดการเติบโตและเปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นเกษตรอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีของสตาร์ทอัพ ประกอบด้วยหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมประมง กรมปศุสัตว์ หน่วยงานให้การสนับสนุนเงินทุนกับเกษตรกร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หน่วยงานพร้อมสนับสนุนเงินร่วมลงทุนให้กับสตาร์ทอัพอย่างบริษัท อินโนสเปรซ (ประเทศไทย) จำกัด รวมทั้งภาคเอกชนทั้งจากบริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้มอบเครดิต AWS Cloud ให้แก่สตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือก ในในปีนี้จะเพิ่มหน่วยงานพันธมิตรจากสภาอุตสาหกรรมและสภาหอการค้าไทย เพื่อเชื่อมต่อไปยังกลุ่มธุรกิจเกษตรให้ขยายการใช้งานให้มากขึ้น ที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพเกษตรได้พัฒนาทักษะการขยายสู่ตลาดพร้อมได้ลงมือปฏิบัติจริง ขยาย Traction ได้จำนวนมากขึ้น


เนื่องด้วยปัญหาเรื่องสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ ขาดตลาด ในการจัดงานครั้งนี้ จึงได้พบกับ 3 สตาร์ทอัพเกษตร ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ ได้แก่ 1) ฟาร์มโตะ 2) เฮิร์ป สตาร์ทเตอร์ 3) แคสปี้ พร้อมด้วยเกษตรกรบนแพลตฟอร์ม ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำงานและแนวทางในการแก้ไขปัญหาตลาดการเกษตรรูปแบบใหม่ เพื่อเป็นการแชร์ความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่นำเทคโนโลยีแพลตฟอร์มมาใช้จัดการสินค้าด้านการเกษตร ร่วมบริการต่างๆ จากแพลตฟอร์ม


คุณพิชิต พิชิตนภากุล CEO ฟาร์มโตะ กล่าวว่าปัญหาสินค้าการเกษตรล้นตลาดราคาตกเกิดขึ้นเนื่องจากการปลูกตามๆกันโดยไม่ดูความต้องการของตลาด ฟาร์มโตะมีกลยุทธแก้ไขปัญหาหลากหลาย เช่น เพิ่มตลาดจากB2Bเป็นB2C สร้างstoryเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า อีกทั้งยังนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ซึ่งนอกจากจะแก้ไขปัญหาสินค้าล้นตลาดของเกษตรกรแล้ว ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าอีกด้วย


คุณอิสรีย์ นิตยสมบูรณ์ CMO and Co-founder เฮิร์ป สตาร์ทเตอร์ กล่าวว่าเกษตรกรไทยมีความเชี่ยวชาญด้านการปลูกเป็นอย่างดี แต่ยังขาดความเข้าในเรื่องการตลาดออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันเข้ามามีส่วนสำคัญมากๆในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ทางเฮิร์ป สตาร์ทเตอร์จึงมีบริการ one stop service ช่วยฝึกอบรมให้ผู้ใช้งานเข้าใจระบบตลาดออนไลน์อย่างจริงจังตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงกระบวนการขนส่งจนไปถึงมือลูกค้า


คุณรังสิ ทุวิรัตน์ CEO and founder แคสปี้ กล่าวว่าสินค้าจากแคสปี้ผ่านการคัดสรรและมีการควบคุมคุณภาพที่ได้มาตรฐานจับต้องได้โดยใช้ระบบStandard Certificate ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเชื่อถือในสินค้า อีกทั้งมีการจัดการโละสินค้าเกษตรเป็นการจัดการเพื่อลดwasteอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทางแคสปี้ยังเน้นถึงการสร้างแบรนด์เพื่อให้เป็นที่จดจำแก่ลูกค้า ซึ่งเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจและน่าผลักดันให้เกษตรกรมีการเรียนรู้และเพิ่มมูลค้าให้กับสินค้าการเกษตรของตน


พร้อมด้วยเกษตรกรที่อยู่ในแพลตฟอร์มได้แชร์ประสบการณ์การทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพ ที่มาเปิดแนวทางการตลาดออนไลน์ให้กับสินค้าเกษตร และชุมชน เกิดยอดขายได้จริงและมีความต่อเนื่อง โดยมีข้อแนะนำด้วยว่า ทางกลุ่มเกษตรกรและชุมชน ต้องปรับตัวและเปิดใจในการพัฒนาสินค้าและกระบวนการต่างๆ ให้ตอบโจทย์กับลูกค้า ที่จะทำให้เกิดตลาดนำการผลิตให้เกิดขึ้น สร้างแบรนด์สินค้าชุมชนให้เกิดขึ้นเป็นที่จดจำกับผู้บริโภคได้อย่างชัดเจน


คุณมณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม NIA ได้กล่าวสรุปว่า การเติบโตในตลาดสินค้าการเกษตรต้องเติบโตไปพร้อมกันทั้งกลุ่มของสตาร์ทอัพและเกษตรกรเอง และสิ่งสำคัญในการเพิ่มมูลค้าสินค้าการเกษตรคือการควบคุมคุณภาพและการสร้างตัวตนให้กับผลิตภัณฑ์หรือที่เรียกว่าการสร้างแบรนด์ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้สินค้ามีความแตกต่าง ทำให้ผู้บริโภคจดจำและตัวสินค้าสามารถอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น การที่เกษตรกรเริ่มต้นใช้บริการตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ถือเป็นการยกระดับการจัดการสินค้าเกษตรของประเทศที่จะเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป


VDO รับชมย้อนหลัง


#NIA #FarmTo # HerbsStarter #Kaspy #AgTechStartup #AgTechconnext #Investor #Innovation #StartupThailand #Sectoral Development #Marketplace #Onlineplatform #GrowingTogether