สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA หารือกับ Vinnova เสริมพลังการพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมผู้ประกอบการของสวีเดน

News 2 ธันวาคม 2567 994

NIA หารือกับ Vinnova เสริมพลังการพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมผู้ประกอบการของสวีเดน


ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วย นางอรุณรุ่ง โพธิ์ทอง ฮัมฟรีย์ส เอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม เข้าร่วมหารือกับ Mr. Rémy Kolessar, Deputy Director General/ Director for International Cooperation จาก Vinnova เรื่องนโยบายการพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 ณ ราชอาณาจักรสวีเดน

Vinnova คือ หน่วยงานรัฐที่ส่งเสริมเรื่องนวัตกรรมของสวีเดน อยู่ภายใต้ Ministry of Climate and Enterprise มีพันธกิจ คือ พัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมของสวีเดนและสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดว่า สวีเดนคือกำลังสำคัญของนวัตกรรมในโลกที่ยั่งยืน ทำหน้าที่หลักคือให้ทุนเพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งสวีเดนถือเป็นประเทศที่เป็นผู้นำทางด้านนวัตกรรมอันดับ 1 ของยุโรป หรือ อันดับ 2 ของโลก มีจำนวนหน่วยงานบ่มเพาะทั่วประเทศมากกว่า 31 หน่วยงาน มีมหาวิทยาลัย 25 แห่ง มีอุทยานวิทยาศาสตร์มากกว่า 30 แห่ง โดยมีกำลังคนที่มีความสามารถสูงและได้รับการศึกษาที่ดีคิดเป็น 45% ของจำนวนประชากรในประเทศ (highly skill and productive workforce and higher education qualified) ทั้งนี้ ที่ผ่านมา Vinnova ได้ให้ทุนไปแล้วกว่า 3.4 พันล้านโครนาสวีเดน (SEK) หรือประมาณ 312 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (USD) มีจำนวนพนักงาน 200+ คน มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ สตอกโฮล์ม บรัสเซลส์ ซิลิกอนวัลเลย์ เทลอาวีฟ และสิงคโปร์

ที่ผ่านมา NIA และ Vinnova ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดและองค์ความรู้ในการพัฒนานวัตกรรม ระหว่างไทย-สวีเดน โดยมี Mr. Kjell Hakan Narfelt, Chief Strategy Advisor ของคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติของ NIA สำหรับการหารือครั้งนี้ เน้นการแลกเปลี่ยนแนวคิดและนโยบายการพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีสีเขียว ซึ่ง Vinnova มีความเชี่ยวชาญนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น Energy Solution, Climate, Green Batteries, EV เป็นต้น โดยเห็นตรงกันว่าความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลของแต่ละประเทศ จำเป็นต้องมีเรื่องทรัพยากร เทคโนโลยีเกิดใหม่ และการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญหรือแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ ซึ่งระบบนวัตกรรมที่ดีจะต้องมีการรวมกลุ่มกันของ บริษัทภาคเอกชน นักวิจัย ภาครัฐ และภาคประชาสังคม Vinnova ได้รับงบประมาณจากภาครัฐเป็นราย 4 ปี โดยจัดสรรเป็นเงินให้ทุน 65-80% ส่วนอีก 20-35% จะเป็นกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

โอกาสความร่วมมือในอนาคต: NIA ได้เสนอการดำเนินงานในรูปแบบ Co-Funding เพื่อร่วมลงทุนพัฒนาผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมและสตาร์ท ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดการเรียนรู้เรื่องตลาดและระบบนิเวศนวัตกรรมของทั้งสองประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ต่อไป

#NIA #Vinnova #Innovation #Entrepreneur #Startup #InnovationSystem #Green #ClimateTechnology #Funding #Thailand #Sweden #SustainableFuture #CleanEnergy #Collaboration #CoFunding