สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

4 Deep Tech Startups สัญชาติไทย สร้างโอกาสด้วยนวัตกรรม

บทความ 16 กันยายน 2564 6,509

4 Deep Tech Startups สัญชาติไทย  สร้างโอกาสด้วยนวัตกรรม


สตาร์ทอัพไทยก็มีของดี! พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรมสาย Deep Tech สู่สายตาคนไทยและคนทั่วโลก


เมื่อพูดถึงนวัตกรรมสาย Deep Tech หลายคนอาจกำลังนึกถึงนวัตกรรมที่มาจากต่างประเทศเป็นหลัก เพราะเป็นนวัตกรรมเชิงลึก ใช้เทคโนโลยีหลากหลาย อาทิ AI, Robotics, Machine Learning, IoT, Blockchain หรือแม้แต่ Immersive Technologies ผสมผสานกับงานวิจัยเพื่อนำไปพัฒนากับอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ การเกษตร อาหาร การเงิน อุตสาหกรรมการผลิตไปจนถึงเทคโนโลยีด้านอวกาศ และอีกมากมาย


ทราบกันไหมว่า…ประเทศไทยเองก็มีสตาร์ทอัพสายนี้อยู่ไม่น้อย และกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นอีกกลุ่มนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึง NIA เองก็ให้ทุนกับสตาร์ทอัพที่พัฒนานวัตกรรมในกลุ่มนี้มาโดยตลอด เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีในกลุ่มนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมเศรษฐกิจให้เติบโต


เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงภาพรวมในการพัฒนา เราก็อยากแนะนำสตาร์ทอัพไทยสาย Deep Tech ให้ทุกคนได้รู้จัก ซึ่งมีทั้งหมด 4 สตาร์ทอัพด้วยกัน ที่มีความโดดเด่นในการใช้เทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อเข้ามาแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมต่างๆ มาดูไปพร้อมกันเลย


#ENRES “วิเคราะห์การใช้พลังงานอาคารอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยี IoT และ AI


ธุรกิจชะงักเพราะไฟฟ้าไม่ทำงาน แอร์ไม่เย็นทำให้ลูกค้าไม่พอใจ 


เชื่อว่าหลายธุรกิจมักมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาคารอยู่บ่อยๆ เริ่มต้นกันที่สตาร์ทอัพแรกจึงขอแนะนำ “ENRES: Energy Optimization Platform” สตาร์ทอัพที่มีความโดดเด่นในการใช้เทคโนโลยี IoT และ AI เพื่อนำมาวิเคราะห์ ตรวจสอบคุณภาพ การใช้พลังงานอาคารอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า น้ำ อากาศ แบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่มีประโยชน์กับกลุ่มโรงแรม โรงงาน หรืออาคารสำนักงานต่างๆ มาก เพราะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงดูแลอาคาร ปลอดภัย เห็นปัญหาได้ทันที เพราะเชื่อมโยงกับระบบ Cloud แจ้งเหตุผิดปกติผ่าน Email และ LINE ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 


ทำความรู้จัก ENRES เพิ่มเติมได้ที่ > https://enres.co/


#Gensurv “สร้างรถฟอร์คลิฟท์ไร้คนขับนำทางด้วยเลเซอร์”


ประเทศไทยมีรถขนย้ายสินค้าไร้คนขับเป็นของตัวเองแล้ว! 


ต่อไปนี้อุตสาหกรรมการผลิตและการจัดการคลังสินค้าจะสะดวกสบายมากขึ้น เพราะเรามีนวัตกรรมจากสตาร์ทอัพที่ชื่อว่า “Gensurv Robotics” เข้ามาช่วยแล้ว สตาร์ทอัพนี้ได้ทำการสร้างรถฟอร์คลิปท์หรือรถขนย้ายสินค้าแบบไร้คนขับขึ้นมาในชื่อว่า “พลายเอจีวี” โดยมีระบบ Navigator แบบอัตโนมัติเป็นจุดเด่น ใช้ Laser Guided เป็นตัวนำทาง ซึ่งสามารถกำหนดได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะทำงานบนพื้น ชั้นเก็บสูงหรือสายพานก็ทำงานได้หลายรูปแบบ และยังมีโปรแกรม Fleet Management ที่ช่วยให้รถเลือกเส้นทางที่สั้นและประหยัดเวลาที่สุดอีกด้วย ผู้ประกอบการคนไหนที่อยากมีตัวช่วยในการจัดการคลังสินค้า นวัตกรรมนี้ช่วยได้มาก โดยเฉพาะคลังสินค้าหรือโรงงานที่มีความเสี่ยงก็สามารถใช้สิ่งนี้ทดแทนคนได้


ทำความรู้จัก Gensurv เพิ่มเติม > https://www.gensurv.com/


#Algaeba “นับจำนวนสัตว์น้ำด้วย AI และ Computer Vision


นับด้วยคนแล้วไม่ทันใจ นับด้วย AI ไปเลย!


อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นอีกอุตสาหกรรมที่เรามักไม่ได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ สักเท่าไหร่ หนึ่งใน Pain Point หลักของเกษตรกรในกลุ่มนี้ก็คือ การนับลูกสัตว์น้ำเพื่อไปวางจำหน่าย เดิมทีใช้การนับด้วยคนซึ่งมักมีข้อผิดพลาด 5-20% ในทุกๆ ครั้งของการนับ และใช้เวลานานกว่าจะทำสำเร็จ สตาร์ทอัพที่มีชื่อว่า “Algaeba” มองเห็นปัญหาตรงนี้ จึงได้สร้าง “SeaThru COUNTER” ขึ้นมา โดยเป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนาด้วยการใช้เทคโนโลยี AI และ Computer Vision เพื่อนำมานับลูกสัตว์น้ำ ซึ่งมีความแม่นยำกว่า 95% พร้อมแสดงผลบนโทรศัพท์บนมือถือในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นและช่วยลดต้นทุนแรงงานในส่วนนี้ได้


ทำความรู้จัก Algaeba เพิ่มเติม > https://www.algaeba.com/


 #Perceptra “ใช้ AI ช่วยแพทย์วินิจฉัยเอ็กซเรย์ปอดผู้ป่วยโควิด”


ล้ำอีกขั้น! นวัตกรรมกำลังช่วยชีวิตผู้คนให้ผ่านพ้นวิกฤต


ปัจจุบันผู้ป่วยโควิดมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น การรักษาเป็นไปได้อย่างยากลำบาก เพราะแพทย์ก็มีจำนวนไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย โดยเฉพาะในกลุ่มงานฉายรังสี ซึ่งจากเดิมขาดแคลนอยู่แล้ว พอมาเจอกับโควิดยิ่งทำให้แพทย์ในกลุ่มนี้ทำงานหนักขึ้น “Perceptra” สตาร์ทอัพด้าน MedTech ของไทยจึงต้องการเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในส่วนนี้ ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มที่มีชื่อ “Inspectra” ขึ้นมา โดยการใช้ AI ในรูปแบบ Deep Learning เข้ามาช่วยแพทย์วินิจฉัยเอกซเรย์ปอดผู้ป่วยโควิด รวมถึงโรคที่มีอาการเกี่ยวข้องกับปอดโรคอื่นๆ ซึ่งผ่านกระบวนการทำงานร่วมกับแพทย์ในหลายขั้นตอน และใช้งานได้หลายระบบ เช่น การคัดกรองภาพถ่ายที่ใช้งานไม่ได้ (Defective image screening) การแปลงผลรายงานแพทย์ (Medical report analysis) การปรับภาพก่อนการวินิจฉัย (Pre-processing image) และการวินิจฉัย (Diagnosis) นับว่าเป็นนวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมอย่างมาก 


ทำความรู้จัก Perceptra เพิ่มเติม > https://inspectra.perceptra.tech/


ถ้าแค่นี้ยังไม่จุใจ! อยากรู้จักสตาร์ทอัพของไทยสาย Deep Tech ให้มากขึ้น เราก็อยากเชิญชวนคุณให้มาร่วมงาน Virtual Event “SITE 2021 DEEPTECH RISING – The Next Frontier of Innovation” ได้ตั้งแต่วันที่ 15-18 กันยายน 2564 นี้ คุณจะได้พบกับสตาร์ทอัพด้าน Deep Tech จากหลากหลายอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการอีกหลายธุรกิจในงานนี้เท่านั้น


คลิก! เพื่อเข้าชมงานได้ที่ > https://site.nia.or.th/