สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จับมือภาคีเครือข่ายภาครัฐ - เอกชน จากหลักสูตร PPCIL ถกแนวทางการออกแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ นำร่องปั้น เชียงรายโมเดล การจัดการภัยพิบัติอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมมอบรางวัลเชิดชูเกียรติบุคคลผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรมเชิงนโยบาย

News 17 ตุลาคม 2567 372

NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จับมือภาคีเครือข่ายภาครัฐ - เอกชน จากหลักสูตร PPCIL ถกแนวทางการออกแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ นำร่องปั้น เชียงรายโมเดล การจัดการภัยพิบัติอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมมอบรางวัลเชิดชูเกียรติบุคคลผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรมเชิงนโยบาย

 

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA โดยสถาบันวิทยาการนวัตกรรม (NIA Academy) เปิดเวทีเสวนาในงาน “Policy Innovation Recognition” ซึ่งเป็นเวทีเชิดชูเกียรติบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์และขับเคลื่อนนวัตกรรมเชิงนโยบาย ที่สามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาการดำเนินงานทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ ณ อาคารอุทยานนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2567 

 

 

โดยภายในงานมีผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาเข้าร่วมงาน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางในการสร้างสรรค์นโยบายเชิงนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน พร้อมทั้งเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และนางสาวณาตยา แวววีรคุปต์ ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารวาระทางสังคมและนโยบายสาธารณะ Thai PBS ร่วมเสวนาพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการออกแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ”

 

 

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาที่มีความซับซ้อนหลายด้าน เช่น การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียม ความยากจน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ดังนั้นการออกแบบหรือพัฒนา นวัตกรรมเชิงนโยบายจึงเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถ แก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 

การขับเคลื่อนในเชิงนโยบาย อาจจะต้องเริ่มจากการทำ Sandbox  เช่น การแก้ปัญหาภัยพิบัติที่เชียงราย เริ่มต้นให้เห็นถึงการวางผังเมือง การวางแผนป้องกันในอนาคต หรือ การใช้ AI เตือนภัยพิบัติ สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อใช้ในอนาคต และวิเคราะห์ไปพร้อมกัน การแจ้งเตือนควรถึงระดับครัวเรือน ให้ประชาชนรับรู้เรื่องนี้เพื่อร่วมกันดำเนินการส่งข้อมูลเพื่อจะขยายผลไปถึงรัฐบาล เสนอแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริง สร้างผลลัพธ์การการทำงานที่เรียกว่า “นวัตกรรมเชิงนโยบาย” ดร.กริชผกา กล่าวทิ้งท้าย

 

#NIA #NIAAcademy #PPCIL #PolicyInnovation #PolicyInnovationRecognition #นวัตกรรมเชิงนโยบาย