สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ กรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ เข้าเยี่ยมชมโรงงานและร่วมประชุมหารือกับบริษัท SUEHIRO ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567

News 12 ตุลาคม 2567 18

NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ กรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ เข้าเยี่ยมชมโรงงานและร่วมประชุมหารือกับบริษัท SUEHIRO ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567

 

NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ กรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ เข้าเยี่ยมชมโรงงานและร่วมประชุมหารือกับบริษัท SUEHIRO ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567

บริษัท SUEHIRO ดำเนินธุรกิจด้านวิศวกรรมโรงงานผลิตน้ำมัน อุปกรณ์แปรรูปอาหารเชิงพาณิชย์ และเครื่องจักรเฉพาะ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1953 โดยเป็นบริษัทผลิตเครื่องจักร จำนวน 2 แบบหลักๆ ได้แก่

1. Oil Expeller: เครื่องบีบสกัดน้ำมัน “แบบสกรูเพลส” ใช้สกรูเป็นตัวลำเลียงวัตถุดิบไปพร้อมๆ กับการค่อยๆ บีบอัด ซึ่งจะสามารถแยกของเหลว (น้ำมัน/น้ำ) และของแข็ง (กากที่เหลือจากการสกัด) ออกจากกันได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการทำงานที่หลากหลาย เช่น สกัดน้ำมันเรพซีด น้ำมันคาโนลา น้ำมันงา เศษอาหารและไขมันสัตว์ เป็นต้น โดยแบ่งออกเป็น 3 รุ่น อันประกอบด้วย
• V-Series: รุ่นมาตรฐาน สำหรับบีบสกัดน้ำมันจากวัตถุดิบเมล็ดพืชประเภทเมล็ดแข็งเป็นหลัก เช่น เมล็ดเรพซีด จมูกข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฝ้าย เมล็ดคามิเลีย เป็นต้น 
• F-Series: รุ่นที่มีกำลังมากขึ้น สำหรับบีบสกัดน้ำมันจากเศษอาหาร หรือวัตถุดิบจากสัตว์ ใช้ในการแปรรูปเศษอาหาร และการแปรรูปเศษซากสัตว์ เช่น วัว หมู ไก่ เป็นต้น 
• S-Series: เป็นเครื่องที่ใช้สำหรับสกัดน้ำมันงา 

2. Twin Screw Extruder: เครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ คืออุปกรณ์ที่ใช้ลำเลียงวัตถุดิบไปยังทางออกโดยการหมุนของสกรู ผ่านกระบวนการอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มจากการนวด การผสมวัตถุดิบเข้าด้วยกัน ด้วยการให้ความร้อนและความดันที่เพิ่มสูงขึ้น เพียงปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเรียงสกรู และรูปร่างของแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นช่องทางออกของผลิตภัณฑ์ และการควบคุมอุณหภูมิในบาร์เรลก็สามารถปรับตั้งค่าพารามิเตอร์และสภาวะการทำงานของเครื่องที่เหมาะสมกับวัตถุดิบและวัตถุประสงค์การใช้งานได้

 

 

นอกจากนี้ บริษัท SUEHIRO ได้นำเครื่องจักรมาพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม เนื้อเทียมจากถั่วเหลืองไขมันสูง หรือ “Bean to Meat” ด้วยวิธีการ BTM 
ขั้นตอนที่ 1 กระบวนการบีบสกัดน้ำมัน
ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการผลิตเนื้อเทียมจากถั่วเหลือง
วิธีการผลิตคือ การนำวัตถุดิบหลักคือถั่วเหลืองมาผ่านกระบวนการแปรรูปจากเครื่องจักร ผลิตออกเป็นเนื้อแปรรูปจากถั่วเหลือง โดยสามารถนำเนื้อแปรรูปไปผลิตเมนูอาหารได้หลากหลาย อาทิ เนื้อ Hamburg ผัดกะเพรา ซาลาเปา Hamburger และสปาเกตตี้มีตซอส เป็นต้น 

 

 

ทั้งนี้ NIA ได้เข้าพบหารือกับคณะผู้บริหาร และเข้าเยี่ยมชมโรงงาน พร้อมรับชมการสาธิตการทำงานของเครื่องจักรเพื่อทดสอบประสิทธิภาพและพลังการผลิตของเครื่องจักร โดยได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการทำงานและแนวทางการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในภาคธุรกิจนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ นวัตกรรมเพื่อสังคม และกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยบริษัท SUEHIRO มีเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องจักรกล และขยายฐานการตลาดเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมของประเทศไทย และแสวงหาโอกาสในการพัฒนาต่อยอดความร่วมมือสู่การพัฒนาโครงการร่วมกันระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นต่อไป ซึ่งทางบริษัท SUEHIRO ได้ขยายสำนักงานมาตั้งสาขาที่ประเทศไทย ณ ตึก Jasmine City ถนนสุขุมวิท เพื่อเป็นสำนักงานหลักสำหรับเจรจาคู่ค้ากับผู้ประกอบการไทย

 

#NIA #InnovationPartnership #Japan #SUEHIRO