สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA นำโดย ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ ร่วมกับโครงการพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดกิจกรรม “การประชุมเพื่ออภิปรายการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง ประจำปีงบประมาณ 2567”

News 18 ธันวาคม 2566 1,741

NIA นำโดย ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ และ ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรฐกิจและสังคม ร่วมกับโครงการพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (หรือหลักสูตร WiNS 4) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดกิจกรรม “การประชุมเพื่ออภิปรายการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง ประจำปีงบประมาณ 2567” เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ณ อาคารอุทยานนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

MandatoryInnovation_1.jpg

ทั้งนี้ กิจกรรม “การประชุมเพื่ออภิปรายการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง ประจำปีงบประมาณ 2567 ผ่านเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย พัฒนาและผลิตด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่องในสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดและหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กลยุทธ ที่สำคัญ ดังนี้
 
- กลยุทธ์ที่ 1 : สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคคลากรในกลุ่มวิจัยมุ่งเป้า เพื่อพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีเชิงลึก
- กลยุทธ์ที่ 2 : พัฒนาทักษะทางเทคนิค เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ (Up Skill) ให้ตอบสนองความต้องการภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ
- กลยุทธ์ที่ 3 : เพิ่มจำนวนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญฯ โดยพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
- กลยุทธ์ที่ 4 : พัฒนาทักษะนวัตกร ให้มีความสามารถด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยี การลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
 
โดยทั้ง 4 กลยุทธ์ข้างต้น ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคคลากรในกลุ่มเทคโนโลยี Autonomous, Connected, Electric, and Shared Vehicles หรือ ACES ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการขับขี่แบบอัตโนมัติ การเชื่อมต่อ การปรับให้เป็นระบบไฟฟ้า และการพัฒนาแพลตฟอร์มการให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยการพัฒนาทักษะทางเทคนิค (Technical Skill) ไปยังภาคบริการที่มีความต้องการสูง และพัฒนาทักษะด้านการตลาดและการลงทุน (Business Skill) ในกลุ่มนักวิจัย นวัตกร นักลงทุน และผู้ประกอบการตลอดทั้ง Supply Chain ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง