สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สร้างความพร้อมอย่างไรให้กับธุรกิจนวัตกรรมไทย

บทความ 5 มกราคม 2565 1,901

ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สร้างความพร้อมอย่างไรให้กับธุรกิจนวัตกรรมไทย

 

พร้อมเดินหน้าผลักดันผู้ประกอบการไทยให้คนทั้งประเทศและทั่วโลกหันมาจับตา!  

 

ท่ามกลางสนามธุรกิจที่มีแต่การแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ มีสตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน หรือสตาร์ทอัพที่มีไอเดียเจ๋งๆ แต่ขาดเงินทุนหรือการต่อยอดนวัตกรรมก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก NIA ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ (Innovation for Economy) จึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้และสร้างกลไกในหลากหลายมิติเพื่อให้ผู้ประกอบการมีทั้งต้นทุนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและธุรกิจ เงินทุน พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายธุรกิจและการลงทุน นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตและมีความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ ผ่าน 3 ขั้นตอนดังนี้

เตรียมความพร้อมก่อนคว้าทุน

ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจประเภทไหนหรือกำลังพัฒนานวัตกรรมอะไร “ความรู้” เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ NIA ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจจึงมีการปูพื้นฐานความรู้ด้านนวัตกรรมและธุรกิจ ผ่าน 3 ช่องทางด้วยกัน ได้แก่

 

1.คอร์สเรียน Innovation/Startup ในระดับ 101 และ 102 ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ สำหรับ Startup หรือ Smart SMEs ที่สมัครเข้าร่วมโครงการกับฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ

 

2.NIA Massive Open Online Courses (NIA MOOCs)
แพลตฟอร์มที่เปิดให้ทุกคนสามารถร่วมลงทะเบียนเรียนด้านนวัตกรรมและธุรกิจแบบไม่มีค่าใช้จ่าย โดยคอร์สเรียนของแพลตฟอร์มนี้มีอยู่ 3 ระดับด้วยกัน แบ่งออกเป็น

- Explore คอร์สเรียนระดับพื้นฐาน เช่น Innovation 101, Startup 101, Intro to Startup, IP for Business Innovation ฯลฯ
- Expertise คอร์สเรียนความรู้เฉพาะทาง เช่น Art Technology, Space Technology for Business Innovation ฯลฯ
- Expand คอร์สเรียนเชิงลึกเพื่อต่อยอดธุรกิจ เช่น Data Analytic for Business Innovation, IP Practical Guild for Entrepreneur ฯลฯ

สามารถลงทะเบียนเรียนฟรีผ่านเว็บไซต์ https://moocs.nia.or.th/

3.ศูนย์ให้คำปรึกษาในระดับภูมิภาคกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย

ภาคเหนือ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ภาคกลางและภาคตะวันออก : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ภาคอีสาน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ภาคใต้ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ออกสตาร์ทไอเดียนวัตกรรม

“เงินทุน” เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ NIA ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจให้การสนับสนุน เพื่อนำไปพัฒนานวัตกรรมและขยายธุรกิจให้เกิดผล โดยผู้ประกอบการสามารถเข้ามาร่วมขอทุนได้ผ่าน 2 กลไก ดังนี้

 

• โครงการ “นวัตกรรมแบบเปิด” (Open Innovation)

มุ่งเน้นการส่งเสริมสตาร์ทอัพและ Smart SMEs ในกลุ่มเศรษฐกิจที่เตรียมพร้อมสู่อุตสาหกรรมอนาคต โดยมีการจัดโครงการตลอดทั้งปี และมีการตระเวนจัดโครงการในระดับภูมิภาค เปิดรับทุกนวัตกรรมที่สอดรับกับ 3 กลุ่มเศรษฐกิจด้านล่าง ซึ่งครอบคลุมแทบทุกธุรกิจที่กำลังเติบโตในปัจจุบันและในอนาคต

1.สาขาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) 

- ชีวเภสัชภัณฑ์
- อาหารแห่งอนาคต
- ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร
- เวชสำอาง
- ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
- นวัตกรรมสมุนไพรคุณภาพสูง

 

2.สาขาเศรษฐกิจการผลิตและการหมุนเวียน (Manufacturing and circular Economy) 

- ยานยนต์
- หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม
- หัตถอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์
- การจัดการของเสีย
- พลังงานสีเขียว
- อิเล็กทรอนิกส์

 

3.สาขาเศรษฐกิจบริการและการแบ่งปัน (Service and sharing economy)

- ธุรกิจนวัตกรรมบริการ
- ธุรกิจนวัตกรรมเชิงสังคม
- อุตสาหกรรมดิจิทัล
- การขนส่งและโลจิสติกส์

 

📌จำนวนเงินทุนสนับสนุน : สูงสุดไม่เกิน 1,500,000 บาท / โครงการ

โดยวงเงินสนับสนุนเป็นสัดส่วน ไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าโครงการ

 

• โครงการ  “นวัตกรรมแบบมุ่งเป้า” (Thematic Innovation)

มุ่งเน้นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์กับอุตสาหกรรม ตามเป้าหมาย (Theme) ในแต่ละปี ซึ่งผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำนวัตกรรมในธุรกิจนวัตกรรมมุ่งเป้า ไม่ต่ำกว่า 3 ปี โดยสาขาที่เปิดรับสมัครประจำปี 2565 ได้แก่

 

1.ธุรกิจดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้าน  AI, Robotic, Immersive & IoT (ARI TECH)

- ธุรกิจดิจิทัลด้านการดูแลสุขภาพ (Digital in Healthcare business)
- ธุรกิจดิจิทัลด้านการขนส่ง (Digital in Logistic business)
- ธุรกิจดิจิทัลด้านการบริการ (Digital in Service business)
- ธุรกิจดิจิทัลด้านการผลิต (Digital in Manufacturing business)

 

2.ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารแห่งอนาคต (Future Food)

- ธุรกิจนวัตกรรมด้านอาหารเฉพาะบุคคล (Personalized Food)
- ธุรกิจนวัตกรรมด้านโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein)
- ธุรกิจนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism)
- ธุรกิจนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับสร้างสมดุลภูมิคุ้มกัน (Immunity Balance)

 

📌จำนวนเงินทุนสนับสนุน : ทุนให้เปล่า สูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท / โครงการ

โดยวงเงินสนับสนุนเป็นสัดส่วน ไม่เกินร้อยละ 75 ของมูลค่าโครงการ

 

📌อ่านรายละเอียดข้อมูลโครงการ Thematic Innovation ประจำปี 2565 เพิ่มเติมได้ที่นี่ > https://bit.ly/32hcNIL 

 

📝เงื่อนไขผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1.วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อชุมชน (Social Enterprise) หรือผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์ โดยมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด

 

2.ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติตามประกาศกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2562 ได้แก่

2.1.ภาคการผลิต แบ่งออกเป็น

- วิสาหกิจขนาดย่อย (Micro) รายได้ไม่เกิน 1.8 ลบ. มีการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
- วิสาหกิจขนาดย่อม รายได้ไม่เกิน 100 ลบ. มีการจ้างงานไม่เกิน 50 คน
- วิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) รายได้ไม่เกิน 500 ลบ. มีการจ้างงานไม่เกิน 200 คน

 

2.2.ภาคการค้าและบริการ แบ่งออกเป็น

- วิสาหกิจขนาดย่อย (Micro) รายได้ไม่เกิน 1.8 ลบ. มีการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
- วิสาหกิจขนาดย่อม รายได้ไม่เกิน 50 ลบ. มีการจ้างงานไม่เกิน 30 คน
- วิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) รายได้ไม่เกิน 300 ลบ. มีการจ้างงานไม่เกิน 100 คน 

เร่งสปีด…การเติบโตอย่างก้าวกระโดด

ในการทำสตาร์ทอัพ มีเพียงความรู้และเงินทุนอาจยังไม่เพียงพอ NIA ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ จึงพร้อมสร้างเครือข่ายและต่อยอดธุรกิจให้เติบโตทั้งในภาคการลงทุนและเชื่อมโยงกับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ผ่านหลากหลายโครงการด้วยกัน อาทิ 

 

• นวัตกรรมดีไม่มีดอกเบี้ย ร่วมกับเครือข่ายธนาคาร 

โครงการขยายผลทางธุรกิจในด้านเงินลงทุนกับธนาคารต่างๆ โดย NIA เป็นผู้สนับสนุนดอกเบี้ยเงินกู้แทนผู้ประกอบการนวัตกรรม

 

*เงื่อนไขเป็นไปตามข้อตกลงที่ สนช. และธนาคารกำหนด

 

• SPACE-F Global FoodTech Incubator and Accelerator Program

โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจด้านเทคโนโลยีอาหาร ผ่านการพัฒนาศักยภาพและการเชื่อมโยงเครือข่ายในระบบนิเวศ เพื่อให้วิสาหกิจเริ่มต้นด้านเทคโนโลยีอาหาร (FoodTech startup) สามารถเติบโตได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

📌ดูรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม คลิก! > https://www.space-f.co/

 

• Growth Program for Startups 

โครงการพัฒนาศักยภาพสตาร์ทอัพเพื่อส่งเสริมการต่อยอดธุรกิจ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงนักลงทุน และส่งเสริมระบบนิเวศสตาร์ทอัพในประเทศและภูมิภาค

 

• Bilateral Program ร่วมกับเครือข่ายต่างประเทศ

โครงการพัฒนาความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับหน่วยงานต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการเติบโตของผู้ประกอบการธุรกิจฐานนวัตกรรม หนึ่งในตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจ คือ Thailand-Israel R&D Cooperation Program ภายใต้ความร่วมมือกับ Israel Innovation Authority (IIA)