สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรในงานประชุมระดับนานาชาติ “ISPIM Connects Bangkok 2020”

News 2 มีนาคม 2563 2,371

NIA ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรในงานประชุมระดับนานาชาติ “ISPIM Connects Bangkok 2020”


คุณธีรีสา มัทวพันธุ์ รองผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์องค์กร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรในงานประชุมระดับนานาชาติ “ISPIM Connects Bangkok 2020” ในวันนี้ จัดโดย International Society for Professional Innovation Management (ISPIM) ซึ่งเป็นเครือข่ายระดับนานาชาติด้านการจัดการนวัตกรรมที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 37 ปี และมีเครือข่ายด้านการจัดการนวัตกรรมในกว่า 70 ประเทศทั่วโลกที่มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสถาบันการศึกษา โดยงาน ISPIM Connects Bangkok 2020 จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด Partnering for a Innovative Community เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านนวัตกรรมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในหลากหลายด้านที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย อาทิ Driving Innovation 4.0 in Emerging Market, Sustainable and Social Innovation, Developing Innovation Ecosystems

คุณธีรีสาฯ ได้เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “Stimulating Innovation in South-East Asia” โดยได้แลกเปลี่ยนมุมมองภาพรวมนวัตกรรมในบริบทประเทศไทยและอาเซียน ดังนี้

ประเทศไทยมีการพัฒนานวัตกรรมขึ้นอย่างต่อเนื่องดังเห็นได้จากดัชนีนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index: GII) ปี 2019 ที่ขยับขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 43 ถือเป็นประเทศที่สามารถพัฒนานวัตกรรมเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มอาเซียนในการส่งออกสินค้าเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ ถือว่าเป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมผ่านโครงการต่างๆ ที่จะส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้นและธุรกิจนวัตกรรมขึ้นในประเทศ ทั้งนี้ แต่ละประเทศในอาเซียนมีความก้าวหน้าของนวัตกรรม และแนวทางพัฒนานวัตกรรมที่แตกต่างกัน โดยประเทศไทยขณะนี้มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม รวมถึงการปลดล็อคข้อกฎหมายในระดับนโยบายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น ซึ่งส่งผลให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้นจากประเทศไทยหลายบริษัทที่สามารถขยายธุรกิจไปในอาเซียนแล้ว เช่น QueQ ที่มีระบบการจัดการคิวที่สามารถขยายไปสู่หลากหลายธุรกิจทั้งร้านอาหาร ธนาคาร โรงพยาบาล ซึ่งที่ผ่านมา วิสาหกิจเริ่มต้นของไทยได้เกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ต่อไปในระดับโลก

ในส่วนที่ประเทศในอาเซียนต้องรีบปรับตัวเพื่อส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้นและธุรกิจนวัตกรรมมากขึ้น โดยการลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดเนื่องจากกฎระเบียบของภาครัฐ การพัฒนาสถาบันการศึกษาให้มีหลักสูตรในการสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ การเปลี่ยนวัฒนธรรมให้ยอมรับความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนานวัตกรรมรวมถึงการเปิดรับความคิดเห็นที่หลากหลายโดยเฉพาะจากคนรุ่นใหม่ให้มากขึ้น

#NIA #สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ #ISPIM