สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA ลงนามความร่วมมือกับ Gyeonggido Business & Science Accelerator ผลักดันนวัตกรรมและสตาร์ทอัพของไทย-เกาหลีใต้ ออกสู่ตลาดสากล

News 7 เมษายน 2567 67

NIA ลงนามความร่วมมือกับ Gyeonggido Business & Science Accelerator ผลักดันนวัตกรรมและสตาร์ทอัพของไทย-เกาหลีใต้ ออกสู่ตลาดสากล

Gyeonggido Business & Science Accelerator_1.jpg

 
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และ Gyeonggido Business & Science Accelerator หรือ GBSA หน่วยงานบ่มเพาะและเร่งรัดการพัฒนาสตาร์ทอัพออกสู่ตลาด ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของ Pangyo Techno Valley ย่านผลิตบริษัทนวัตกรรมของเกาหลีใต้ ผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industry 4.0) ในจังหวัดคย็องกี สาธารณรัฐเกาหลี ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) เรื่องการพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมสตาร์ทอัพ โดยมี ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA และ Mr. Sungcheon Kang, President of GBSA เข้าร่วมพิธีลงนาม เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ณ สาธารณรัฐเกาหลี
 
GBSA เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรจัดตั้งขึ้นโดยจังหวัดคย็องกี ทำหน้าที่บ่มเพาะและเร่งรัดการพัฒนาผู้ประกอบการ(SME/Startup) ออกสู่ตลาด ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ The 1st Pangyo Techno Valley เป็นพื้นที่รวบรวมบริษัทขนาดใหญ่ สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัย ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพ สมาคม หน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจและหน่วยงานพันธมิตรที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยกันในพื้นที่เดียว มีกิจกรรมและโครงการที่ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ส่งเสริมการทดสอบไอเดีย เร่งรัดนวัตกรรมแบบเปิดผ่านความร่วมมือระหว่างเครือข่ายอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัย ได้แก่ Hackathon, Auto-Driving Demo Zone, 5G Testbed, Networking, Forum เป็นต้น
 
ทั้งนี้ Pangyo Techno Valley คือโครงการพัฒนาย่านผลิตบริษัทนวัตกรรมและเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ ถูกจัดตั้งและพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2005 จนถึงปัจจุบัน เพื่อรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industry 4.0) โครงการนี้ถูกพัฒนาขึ้นในจังหวัดคย็องกีซึ่งเป็นจังหวัดที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในเกาหลีใต้ มีจำนวนประชากร 14.352 ล้านคน มี GDP 527 trillion KRW หรือประมาณ 390 Billion USD มีประชากรที่ทํางานในเชิงเศรษฐกิจ (Economically Active Population) 7.821 ล้านคน มีจำนวนของบริษัทร่วมลงทุน (VC) ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และมีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดในเกาหลีใต้
 
การพัฒนาพื้นที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน 3 ระยะ ดังต่อไปนี้
1) The 1st Pangyo Techno Valley (2005 - 2016) มีพื้นที่ 662,000 ตร.ม. สำหรับอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีขั้นสูง ในงบประมาณ 1.1 Billion USD มีบริษัทขนาดใหญ่คือ Nexon, NCSoft, Kakao, NHN เป็นต้น
2) The 2nd Pangyo Techno Valley (2015 - 2023) มีพื้นที่ 430,000 ตร.ม. สำหรับการพัฒนาอุตสากรรมแห่งอนาคต ในงบประมาณ 0.6 Billion USD มีบริษัทขนาดใหญ่คือ KT, Mando, Woowa Brothers, Interpark เป็นต้น
3) The 3rd Pangyo Techno Valley (2018 - 2025) มีพื้นที่ 583,000 ตร.ม. สำหรับการพัฒนาพื้นที่พักอาศัยและเขตอุตสาหกรรม ในงบประมาณ 1.1 Billion USD