สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรจัดเสวนาสร้างเครือข่ายผลักดันสตาร์ทอัพสาย Deep Tech

News 18 พฤษภาคม 2564 1,744

NIA ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรจัดเสวนาสร้างเครือข่ายผลักดันสตาร์ทอัพสาย Deep Tech ให้มีโอกาสเติบโตในพื้นที่ EEC 30 เมษายน 2564 - เสร็จสิ้นไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับงานสัมมนาผ่านทางออนไลน์กับกิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในเขตพื้นที่ EEC ภายใต้ชื่องาน “Startup Growth Journey : EEC พื้นที่แห่งการเติบโต” จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร โดยกิจกรรมครั้งนี้ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้เข้าร่วมงานจำนวนมากกว่า 150 คน อาทิ Startup นักลงทุน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจและผู้ที่กำลังมองหาโอกาสเข้าไปเติบโตในพื้นที่เศรษฐกิจ ก่อนเริ่มงาน คุณปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม NIA ได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมีเป้าหมายในการสร้างให้เกิด Global Startup Hub @EEC ที่ในอนาคตจะเป็นศูนย์ให้บริการสำหรับสตาร์ทอัพทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้บริการข้อมูลธุรกิจ จัดกิจกรรมสร้างเครือข่าย และกิจกรรมให้ความรู้แก่สตาร์ทอัพ และได้รับเกียรติจากคุณมุกต์ ศรีบุญเรือง ผู้ช่วยเลขาธิการ ด้านยุทธศาสตร์การลงทุน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มาแสดงให้เห็นถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC ที่มีความพร้อมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน นโยบาย และกำลังคน ซึ่งเป็นพื้นที่ศักยภาพและรองรับการเติบโตในอนาคต งานเสวนาในช่วงแรกพบกับเครือข่ายพันธมิตรที่พร้อมสนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพในพื้นที่ EEC ทั้งจากภาครัฐ นักลงทุน และ สตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จระดับประเทศ มาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองและชี้แนวทาง เรื่อง “เส้นทางการเติบโตของสตาร์ทอัพจากพื้นที่ EEC สู่เวทีระดับโลก” ทำให้ผู้เข้าร่วมทราบถึงโอกาสการเติบโตในพื้นที่ EEC และความพร้อมของพื้นที่ในการช่วยผลักดันให้เกิดระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพในพื้นที่ EEC ที่มีทั้งห้องทดสอบ โรงงานต้นแบบ และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ พร้อมสนับสนุนเต็มกำลังและทำงานกับทุกๆ ภาคส่วน โดย คุณปิยะฉัตร ใคร้วานิช เบอร์ทัน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาพื้นที่และกำลังคน เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ ดร.ชินวุธ พิพัฒน์ภานุกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา รวมถึงคุณธีระ กนกกาญจนรัตน์ CEO, Arincare มาแชร์ประสบการณ์ของสตาร์ทอัพที่มาจากภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรีที่สามารถเติบโตได้ในระดับประเทศด้วย Solutions ที่แก้ปัญหาได้ตรงจุดพร้อมตอบโจทย์ยุคปัจจุบัน มาให้คำแนะนำการเตรียมความพร้อม การปรับรูปแบบธุรกิจให้ก้าวสู่การเติบโต รวมถึงคุณอินทัช อนุพรรณสว่าง MD, RST Robotics สตาร์ทอัพสายดีพเทค ทีใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำ สร้างจุดแกร่งในการสร้างธุรกิจ นำผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ตลาด ปิดท้ายด้วยคุณนายต่อตระกูล วัฒนวรกิจกุล รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด ที่มาเฉลยแผนการลงทุนที่สนใจในกลุ่มของเทคโนโลยีเชิงลึกในกลุ่มของ BioTech, MedTech และ Industry 4.0 ที่สอดคล้องกับ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของ EEC เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในช่วงที่สองจะมาเจาะลึกใน “กิจกรรมการบ่มเพาะของสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก หรือ NIA Deep Tech Incubation Program @EEC“ โดยคุณมณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม NIA ที่เปิดถึงความสำคัญของเวทีของความร่วมมือระหว่างสตาร์ทอัพสายดีพเทคกลุ่ม ARI-Tech ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ เทคโนโลยีเสมือนจริง และไอโอที มีร่วมการต่อยอดทางธุรกิจแสดงฝีมือการแก้ไขปัญหาแบบสตาร์ทอัพ กับ 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ เช่น เกษตร อาหาร การแพทย์ โลจิสติกส์ ที่เปรียบเหมือนเป็นแซนด์บอกซ์ พร้อมด้วยหลักสูตรที่เน้นการเรียนรู้ประสบการณ์จากสตาร์ทอัพสายดีพจากรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ มี Mentor ประจำทีม และผู้เชี่ยวชาญทั้งสายเทคโนโลยี ธุรกิจ ที่ออกแบบตามความต้องการ ที่จะร่วมปลุกปั้นสตาร์ทอัพให้นำ Solutions มาตอบโจทย์องค์กรพันธมิตรชั้นนำ ที่มาร่วม co-creation ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันต่อในอนาคต 3 องค์กรพันธมิตรแรกที่ร่วมตอบรับการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพ พร้อมทั้งมีโจทย์ที่ท้าทาย Problem Statements ให้กับสตาร์ทอัพที่ชัดเจน เพื่อเกิดความร่วมมือและต่อยอดธุรกิจร่วมกัน เริ่มด้วย Dr. Lye Kim Soon, Chief Strategy Officer, BGrimm Group ได้ฝากข้อคิดสำคัญให้กับสตาร์ทอัพคือ ควรหาช่องวางทางตลาดที่ตอบโจทย์ปัญหาที่ชัดเจน เหมือนทานยาพาราเพื่อแก้ปัญหาการปวดหัว มากกว่าการใช้วิตามิน ที่เป็น Solutions ที่ดีมากๆๆ แต่ไม่ตอบโจทย์ตลาด รวมถึงเปิด Problem Statement ที่สำคัญได้แก่ 1) แพลตฟอร์มเลือกใช้แหล่งกำเนิดพลังงานผ่านการบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การลดการปลดปล่อยคาร์บอนตลอดห่วงโซ่การผลิตเชื่อมต่อให้เกิดความคุ้มค่า 3) การใช้ AI ทำนายเพื่อบริหารจัดการสินค้าคงคลังกลุ่มอะไหล่จำนวนมากและหลากหลาย 4) การใช้ IoT Solution เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน และ 5) การควบคุมให้หน้ากากของอาคารตามแดดหรือลมเพื่อสร้างความสบายและประหยัดพลังงาน ต่อด้วยคุณศรีหทัย พรามณี AIS the Startup Management / Corporate Businesses Unit กล่าวอย่างชัดเจนว่า การทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจร่วมกัน AIS ต้องการ used case มาตอบโจทย์ปัญหาทีมีอยู่มากมายหลายส่วนที่จะมาตอบโจทย์การทำงานจริงร่วมกัน และเปิดกว้างที่จะทำงานร่วมกับฐานลูกค้าหลากหลายกลุ่ม โดยมุ่งเน้นด้าน B2B และ Deep Tech ที่เกี่ยวข้องใน 1) Smart Building 2) Smart Logistic or Transpartnation และ 3) Smart Factory ปิดท้ายผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ผ่านสตาร์ทอัพด้าน Data Science เคยทำ startup ที่ประเทศสหรัฐอเมริกามาแล้ว อย่างคุณจรัล งามวิโรจน์เจริญ Director (CEO Office), คาราบาวกรุ๊ป จึงมีเข้าใจอย่างดีถึงปัญหาของสตาร์ทอัพ และตอนนี้กำลังมองหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เป็นการช่วยเร่งให้เกิดการพัฒนากระบวนการทำงานร่วมกัน รวมถึงรู้จักและเข้าใจระบบนิเวศสตาร์ทอัพในประเทศและภูมิภาคนี้ NIA Deep Tech Incubation Program @EEC พร้อมจะเปิดรับมาร่วมกันเป็น Community ในการสร้าง Startup Ecosystem ที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างก้าวกระโดดไปด้วยกัน สำหรับสตาร์ทอัพที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ อย่ารอช้า สมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 12 พ.ค. 2564 ส่งรายละเอียดของบริษัท พร้อมทั้งแผนธุรกิจ (Pitch Deck) ได้ที่ http://aritech.nia.or.th/eec ติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่คุณมณฑา ไก่หิรัญ - โทรศัพท์ : 02-017 5555 ต่อ 543 - มือถือ : 081-372 9163 - อีเมล : [email protected] #NIA #DeepTechStartupxEEC #Incubation #PPP #ARITech #AI #Robotics #Immersive #IoT #StartupThailand #Sectoraldevelopment