สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

อว. ร่วมเดินหน้าเตรียมแผนหนุนรับมือสถานการณ์ COVID-19 ในภาวะฉุกเฉิน

บทความ 11 มีนาคม 2563 3,500

อว. ร่วมเดินหน้าเตรียมแผนหนุนรับมือสถานการณ์ COVID-19 ในภาวะฉุกเฉิน


จากสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID -19 ที่กระจายไปยังหลายประเทศทั่วโลก สร้างความวิตกกังวลในวงกว้าง ทาง อว. เองก็ไม่นิ่งนอนใจให้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เป็นแม่งานในการจัดประชุมเพื่อหารือแนวทางการรับมือสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉิน โดยในที่ประชุมแบ่งการรับมือออกเป็น 2 สถานการณ์ คือ การรับมือในสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วน และการรับมือที่จำเป็นแต่ไม่เร่งด่วน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มย่อย

การพัฒนาระบบการติดตาม และ การตรวจสอบ (จำเป็นเร่งด่วน)

1. การพัฒนาระบบการติดตาม และ การตรวจสอบ (จำเป็นเร่งด่วน) เพื่อติดตามคนที่เดินทางเข้าประเทศทั้งหมดตั้งแต่ผ่าน ตม. โดยการให้ผู้ที่เดินทางทั้งหมดติดตั้งแอปพลิเคชั่นเพื่อให้สามารถทราบตำแหน่ง และรายงานผลแบบทันทีบนแผนที่ โดย สวทช. จะสนับสนุนระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (mega data) : ผู้รับผิดชอบ สวทช., สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (TTSA) และกรมควบคุมโรค

การใช้ระบบการแพทย์และสุขภาพทางไกล (TeleHealth) (จำเป็นเร่งด่วน)

2. การใช้ระบบการแพทย์และสุขภาพทางไกล (TeleHealth) (จำเป็นเร่งด่วน) เพื่อช่วยในคัดกรอง วินิจฉัยเบื้องต้น และตอบคำถาม ผ่านทางปัญญาประดิษฐ์ และ ระบบตอบการสนทนาอัตโนมัติ แก่ประชาชนในกรณีที่เกิดความกลัวและความกังวล ตลอดจนการดูแลตัวเองเบื้องต้น นอกจากนี้ telehealth อาจจะช่วยผู้ป่วยโรคเรื้อรังในการลดการมาโรงพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ (โดยตั้งเป้าหมายการลดการมา 20%) : ผู้รับผิดชอบ สมาคม health tech startup, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์  (TCELS) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ระบบแสดงตำแหน่งและจัดส่งสิ่งจำเป็นทางการแพทย์ (Logistics) (จำเป็นเร่งด่วน)

3. ระบบแสดงตำแหน่งและจัดส่งสิ่งจำเป็นทางการแพทย์ (Logistics) (จำเป็นเร่งด่วน) การพัฒนาแผนที่แสดงตำแหน่งที่จำหน่ายหน้ากากเพื่อให้ประชาชนทราบและสามารถซื้อได้ และแผนที่แสดงตำแหน่งของห้องน้ำที่มีความปลอดภัย รวมถึงวิธีการกระจายหน้ากากอนามัย และการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ : ผู้รับผิดชอบ TTSA, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคม health tech startup

การบริหารจัดการด้านวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บ และการกระจายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น (จำเป็นแต่ไม่เร่งด่วน)

4. การบริหารจัดการด้านวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บ และการกระจายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น (จำเป็นแต่ไม่เร่งด่วน) โดยเฉพาะการแก้ปัญหาด้านการผลิต เช่น หน้ากาก แอลกอฮอล์ เจล ชุดตรวจ โดยการจัดหาวิธีเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการควบคุมโรค เช่น การคุยกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI กรมสรรพสามิต และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อปลดล็อคหรือแก้ปัญหาของอุตสาหกรรม: ผู้รับผิดชอบ สวทช. และสภาอุตสาหกรรมกลุ่มผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์



ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายใน 2 สัปดาห์ เนื่องจากบางระบบเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ได้ทันที ซึ่งในแต่ละกลุ่มย่อยจะมีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดูแล หารือ ประสานงานและติดตามงานกับหน่วยงานเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยจะนำร่องใช้ประโยชน์ผ่านเครือข่ายย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี สวนดอก และโรงพยาบาลภายใต้สังกัด อว. ก่อนขยายต่อไปยังเครือข่ายอื่นทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้หารือเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักเรียน และวัยทำงาน เพราะหากประเทศไทยเข้าสู่ระยะ 3 หรือในสถานการณ์ที่ยืดเยื้อ อาจส่งผลให้เลื่อนการเปิดเทอมของนักเรียน หรือการทำงานจากที่บ้านในกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาด้านระบบการศึกษา (education tech) เป็นอีกสิ่งที่ควรจะให้ความสำคัญ และเริ่มมองหาลู่ทางที่ตอบโจทย์ในอนาคต