สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

ABC center ได้จัดพิธีเปิดกิจกรรมบ่มเพาะโครงการสร้างตลาดรูปแบบใหม่จากสตาร์ทอัพด้านการเกษตรสำหรับกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น หรือ AgTech4OTOP

News 29 ตุลาคม 2563 2,090
🎉และแล้วก็มาถึง🎉 กับกิจกรรมบ่มเพาะเชิงปฏิบัติการ STARTUP-OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น
 
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 NIA โดย ABC center ได้จัดพิธีเปิดกิจกรรมบ่มเพาะโครงการสร้างตลาดรูปแบบใหม่จากสตาร์ทอัพด้านการเกษตรสำหรับกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น หรือ AgTech4OTOP โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวเปิดงานว่า โครงการนี้ NIA เป็นเหมือนสะพานเชื่อมที่จะสร้างแพลตฟอร์มเพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาช่องทางตลาดรูปแบบใหม่ๆ ให้กับสินค้าเกษตรบนแพลตฟอร์มของสตาร์ทอัพ และ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมบ่มเพาะนี้ จะได้เป็นแผนการพัฒนาสินค้า OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้ขึ้นบนแพลตฟอร์มตลาดของสตาร์ทอัพอย่างชัดเจน ในช่วงระยะเวลาเกือบ 4 เดือนหลังจากนี้ จะเกิดการพัฒนาสินค้าในตรงใจกับผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งได้ทดสอบตลาดจริงบนแพลตฟอร์มสตาร์ทอัพทั้ง 10 ราย ภายใต้คำแนะนำของ Mentor ระดับมืออาชีพจากผู้เชี่ยวชาญในวงการ Startup และเกษตร

จากนั้นเข้าสู่ช่วงการบรรยายแรก โดยได้รับเกียรติจากคุณดนัย คาลัสซี : Executive Vice President Inter Express logistics, Technology Co., Ltd. ให้ความรู้ในหัวข้อ “แนวโน้มและกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ ของธุรกิจกิจการให้บริการขนส่ง แบบควบคุมอุณหภูมิมาตรฐานคุณภาพการขนส่งสินค้าเกษตรแบบควบคุมอุณหภูมิ (Q Cold Chain for Truck Operation) และแนวทางการรับรองมาตรฐาน” ที่ได้ชี้แนะว่า การขนส่งแบบควบคุมอุณภูมิมีความจำเป็นมากสำหรับสินค้าเกษตรไทย เพื่อส่งต่อคุณภาพของสินค้าที่ดีถึงมือผู้บริโภค โดยต้องคำนึงถึงการควบคุมคุณภาพและการรักษาคุณภาพ

ต่อจากนั้นเป็นการบรรยายในหัวข้อ “การจัดการขนส่งสินค้าเกษตรแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain Logistics) แพลตฟอร์มการบริหารจัดการขนส่งสินค้าเกษตร” โดย คุณจุฑารัตน์ พัฒนาทร : ผู้อำนวยการฝ่ายประกันคุณภาพ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) โดยนำเสนอประสบการณ์ที่สำคัญของการรักษาคุณภาพโดยเฉพาะเรื่องกระบวนการควบคุมและรักษามาตรฐานเกษตรปลอดภัยที่เกิดจากความเข้าใจในมาตรฐานที่ต้องปฏิบัติตาม จะเป็นสิ่งสำคัญของการเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรได้

ปิดท้ายการบรรยายในหัวข้อสุดท้ายของวันแรกกับหัวข้อ “การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น” โดย ดร.ศิริวรรณ ตั้งแสงประทีป นักวิจัยอาวุโส ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้มานำเสนอหลักการสำคัญของการออกแบบทั้งพื้นฐานโครงสร้างและรูปแบบที่ต้องคำนึงการรักษาสมบัติของสินค้า รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี “นวัตกรรมกล่องเก็บกลิ่นทุเรียน 100 %” กับบริษัท เซฟเฟอร์แพค (ประเทศไทย) จำกัด ที่จะมาร่วมต่อยอดการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การสร้างตลาดออนไลน์ของสินค้าเกษตรในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

หลังจากนั้นในช่วงค่ำ เป็นกิจกรรม Dinner Talk การนำเสนอแพลตฟอร์มการสร้างตลาดเกษตรรูปแบบใหม่ของสตาร์ทอัพด้านการเกษตรทั้ง 10 ราย เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงธุรกิจการสร้างตลาดสินค้าเกษตรร่วมกันในกระจายตัวได้อย่างหลากหลายในวงกว้างมากขึ้น 

ติดตามผลการ “พลิกโฉมเศรษฐกิจชุมชน สู่การเติบโตไปพร้อมกับสตาร์ทอัพด้านการเกษตร” ต่อไป
.