สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

NIA และหน่วยงานพันธมิตร เปิดเวทีปล่อยของ โชว์เทคโนโลยีและนวัตกรรรมจากสตาร์ทอัพเกษตร ในโครงการ AgTech Connext

News 18 มิถุนายน 2564 1,485
NIA และหน่วยงานพันธมิตร เปิดเวทีปล่อยของ โชว์เทคโนโลยีและนวัตกรรรมจากสตาร์ทอัพเกษตร ในโครงการ AgTech Connext

8 – 9 มิถุนายน 2564 ผ่านกันไปแล้วกับ "กิจกรรมนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของสตาร์ทอัพด้านการเกษตร" โครงการ Agtech Connext ได้รับเกียรติอย่างยิ่งจากผู้แทนหน่วยงานพันธมิตรและเกษตรกรที่ให้ความสนใจในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปประยุกต์ใช้งาน เพื่อยกระดับการเกษตรไทย

โดยในช่วงพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวต้อนรับผู้แทนหน่วยงาน สตาร์ทอัพอัพ และเกษตรกร โดยการจัดงานในครั้งนี้นับเป็นการจัดงานที่ สนช. ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมการข้าว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หน่วยงานภาคเอกชนได้แก่ บริษัทอินโน สเปช ประเทศไทย จำกัด กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เครือเจริญโภคภัณฑ์  และบริษัทอะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นพันธมิตรในการร่วมดำเนินโครงการ เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างกระทรวงและเกิดการเชื่อมโยงสตาร์ทอัพด้านการเกษตรผู้ที่พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เข้าถึงกลุ่มเกษตรกรและผู้ที่สนใจในการนำเทคโนโลยีในการเข้าไปประยุกต์ใช้ในฟาร์มและในไร่ของตนเอง ที่ท่านเป็นผู้ผลักดันและพัฒนาเกษตรกร 

งานในวันดังกล่าวยังได้รับเกียรติจาก คุณปริญญ์ พานิชภักดิ์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจการเกษตร ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงบทบาทของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการพัฒนาภาคการเกษตรจะทำงานเพียงหน่วยงานเดียวย่อมไม่สามารถขับเคลื่อนได้ เนื่องจากบทบาทและภารกิจของหน่วยงาน การทำงานในโครงการ AgTech Connext ต้องใช้ทุกภาคส่วน รัฐเชื่อมเอกชน รัฐเชื่อมเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรได้เชื่อมโยงสตาร์ทอัพกับภาคการเกษตร การบูรณาการข้ามกระทรวงในครั้งนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง กระทรวงเกษตรฯ เองได้ขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิด Young smart farm เพื่อเป็นกลไกในการปรับเปลี่ยนภาคการเกษตรโดยคนรุ่นใหม่และยังขับเคลื่อนนโยบายตลาดนำการผลิต การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในครั้งนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ประกอบการได้เข้าถึงและรู้จักเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากคนไทย เพื่อเป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกันในการรองรับตลาดโลกที่เปลี่ยนหลังโควิดต่อจากนี้

ต่อด้วยอีกหน่วยงานพันธมิตรที่สำคัญที่มีเครือข่ายเกษตรกรทั่วประเทศ คุณสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) ย้ำถึงจุดเปลี่ยนประเทศไทยโดยเฉพาะภาคการเกษตรต้องได้รับการพัฒนา 3 เพิ่ม เพิ่มรายได้ เพิ่มช่องทางการตลาด เพิ่มประสิทธิภาพ การลดต้นทุน การลดเรื่องความเสี่ยง ราคา ตลาด ภัยธรรมชาติ ที่เป็นปัญหาสำคัญ โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากสุดยอดสตาร์ทอัพ เพื่อเข้ามาเป็นตัวช่วยและตัวเปลี่ยนแปลงที่จะทำให้เกิดการพัฒนา 3 เพิ่มดังกล่าว 

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุนโครงการ ได้แก่ ดร.ชยกฤต เจริญศิริวัฒน์ ประธานผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เครือเจริญโภคภัณฑ์  กล่าวถึงการพัฒนาต้องมี 3C : Concept Capital Connection เริ่มด้วย Concept ในการพัฒนาต้องมีความพร้อม ในปัจจุบันประเทศไทยเองเรามีความพร้อมทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและความพร้อมในด้านเทคโนโลยีจากสตาร์ทอัพ Capital การดำเนินงานของธุรกิจสตาร์ทอัพจะต้องมีการใช้เงินและเป็นปริมาณที่สูง ดังนั้นการระดุมทุนจะนักลงทุนรวมถึงให้เกิดการใช้งาน และ Connection เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อจะให้ทุกอย่างมันเกิดขึ้น การดำเนินงานในครั้งนื้ถือได้ว่าเป็นจุดเชื่อมต่อที่จะทำให้เกิดระบบนิเวศของการพัฒนาในภาคการเกษตร 

และอีกหนึ่งหน่วยงานภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุนการเติบโตของระบบนิเวศสตาร์ทอัพด้านการเกษตร โดยคุณณิชา สืบวงศ์ลี Venture Capital Business Development Manager บริษัทอะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด บทบาทที่สำคัญของอะเมซอนคือการช่วยธุรกิจสตาร์ทอัพสามารถเติบโตและขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว การสนับสนุนโครงการในครั้งนี้เป็นการสนับสนุนให้สตาร์ทอัพสามารถเข้าถึงโครงการสร้างพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมในการสเกลธุรกิจของสตาร์ทอัพ โดยให้การสนับสนุนเครดิต AWS Cloud มูลค่า 300,000 บาท ให้กับ Startup ที่ได้รับเลือกเข้าร่วมโครงการ และสตาร์ทอัพที่ผ่านการพิจารณา  โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสนับสนุนในครั้งนี้จะทำให้สตาร์ทอัพสามารถเติบโตและสามารถขยายธุรกิจได้ในประเทศไทยและอาเซียน 

ผลการดำเนินกิจกรรมทั้ง 2 วันนี้ เกษตรกรและผู้ที่สนใจจะได้รับฟังผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมจากสตาร์ทอัพด้านการเกษตร จำนวน 15 ราย ที่ตอบโจทย์เกษตรกรครอบคลุมทุกภาคส่วนใน 5 กลุ่ม ได้แก่ 

1) กลุ่มประมง 2) กลุ่มปศุสัตว์ 3) กลุ่มผัก พืชสวน พืชไร่ 4) กลุ่มตลาด และ 5) กลุ่มสัตว์เศรษฐกิจใหม่ ทั้งนี้ถ้าเกษตรกรสนใจสามารถร่วมลงชื่อเพื่อคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรเพื่อร่วมทดสอบการใช้งานร่วมกับสตาร์ทอัพเป็นเวลา 3 เดือน 

📌สำหรับเกษตรกรและผู้สนใจที่พลาดการรับชม สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่
วันที่ 8 มิถุนายน 64 
วันที่ 9 มิถุนายน 64 

🤝ร่วมติดตามการทำงานร่วมกันระหว่างสตาร์ทอัพและเกษตรกรได้ที่ Facebook : AgTech Connext