สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

งานสัมมนา “การสร้างตลาดรูปแบบใหม่สำหรับการเกษตร”

News 14 ธันวาคม 2561 4,675

งานสัมมนา “การสร้างตลาดรูปแบบใหม่สำหรับการเกษตร”

การสร้างตลาดรูปแบบใหม่สำหรับการเกษตร
เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา NIA โดยศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (Agro Business Creative Center) หรือ ABC Center ได้จัดงานสัมมนา “การสร้างตลาดรูปแบบใหม่สำหรับการเกษตร” โดยมุ่งหวังที่จะกระตุ้นให้เกิดการเติบโตของผู้ประกอบการและเกิดโอกาสในการพัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตรในรูปแบบใหม่ๆ

ผศ.ดร.ประยูร เชียววัฒนา ที่ปรึกษาสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญของ ABC center ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างและพัฒนาระบบนิเวศด้านการเกษตรของประเทศไทย รวมทั้งเร่งสร้างให้เกิดการพัฒนาระบบตลาดของสินค้าเกษตร เนื่องจากในปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง หากเราไม่มีการพัฒนาหรือมีการปรับปรุงเราก็จะถูกทำลายหรือเรียกว่า การ Disrupt ดังนั้นผลิตภัณฑ์การเกษตรสมัยใหม่จะต้องไม่ขายแค่หน้าร้าน ตลาด หรือตามโมเดิร์นเทรดใหญ่ๆ แต่จะต้องพัฒนาให้มาอยู่ในรูปแบบนวัตกรรมตลาด หรือในรูปของดิจิทัลแพลตฟอร์ม เป็นต้น

มณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม

มณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรมกล่าวว่า ทิศทางการเกษตรในอนาคตจะต้องนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นโดยแนวโน้มของเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ อาทิ ระบบออโตเมชั่น ไอโอที บิ๊กดาต้า ที่จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยสร้างตลาดในรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างเสรี ซึ่งเอบีซี เซ็นเตอร์จะช่วยผลักดันและสร้างระบบนิเวศเพื่อให้เกิดการแนวทางการสร้างระบบตลาดเกษตรรูปแบบใหม่ให้เกิดขึ้น จะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านการตลาดและการกระจายผลผลิตไปสู่ตลาด กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาแพลต์ฟอร์มที่เป็นการออกแบบให้เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต ไปสู่ผู้บริโภค ทั้งในรูปแบบ B2C B2B และ B2G ทั้งนี้ เพื่อช่วยลดปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำและเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร นอกจากนี้ยังเป็นการปรับเปลี่ยนจากการพึ่งพาเศรษฐกิจจากพ่อค้าคนกลาง (Middle-man Economy) เป็นการสร้างรายได้โดยตรงจากเกษตรกรรม (Monetization of Agriculture) และช่วยส่งเสริมให้เกิดระบบตลาดเกษตรแบบวิถีประชาธิปไตย (Democratize Market) ที่มีการกระจายตัวของตลาดออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ทำให้เกษตรกร และผู้บริโภคได้เจรจาซื้อขายในราคาที่เป็นธรรม โดยสร้างกลไกการตลาดที่มีการเกื้อกูลกันระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคพบกันโดยตรง
งานสัมมนานี้ได้รับเกียรติจากคุณอาทิตย์ จันทร์นนทชัย Co-founder บริษัท ฟาร์มโตะ ไทยแลนด์ จำกัด นำเสนอ “FARMTO: ระบบการร่วมเป็นเจ้าของผลผลิตการเกษตรทั่วประเทศไทย” เป็นระบบการสร้างรูปแบบตลาดใหม่ ที่จะเป็นแพลตฟอร์มให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภคเข้าหากัน โดยเกษตรกรจะมีช่องทางการขายตั้งแต่เริ่มต้นการปลูก จะมีรายได้ที่ชัดเจน ส่วนผู้บริโภค จะได้รับสินค้าเกษตรตามความต้องการ มีมั่นใจในการคุณภาพของสินค้าเกษตรที่ได้ติดตามตั้งแต่วิธีการปลูก การดูแลได้อย่างใกล้ชิด จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ในลักษณะเป็นเจ้าของร่วมการผลิตสินค้าเกษตรชนิดนั้น ยกตัวอย่างเช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอรี่ ที่เริ่มเปิดให้มีการจองผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้รับการตอบรับมากกว่าร้อยละ 75 นอกจากนี้เกษตรกร สามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาต่อยอดใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรได้อีกด้วย
ในช่วงสำคัญของการสัมมนาที่เป็นการเสวนา “ตลาดเกษตรออนไลน์...สู่การสร้างคุณค่าและมูลค่าของภาคเกษตร” จากผู้ที่ทำการเปิดแพลตฟอร์มสำหรับการขายสินค้าเกษตร ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากทั้งด้านการจัดการ และการควบคุมคุณภาพ อย่างช่วงตอนหนึ่งของช่วงเสวนา คุณทิวา ยอร์ค Head Coach จาก Kaidee.com เล่าถึงการเข้ามาของการเปิดบริการใหม่ที่ชื่อว่า Farmkaidee ซึ่งมองเห็นโอกาสจากการที่เกษตรกรเขามาขายสินค้าบนขายดีที่นับวันมีมากขึ้นและสินค้าเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น ที่จะทำให้มีพื้นที่ให้ผู้ซื้อ และผู้ขายสินค้าเกษตร ได้มีโอกาสได้ซื้อขายสินค้าเกษตรออนไลน์ โดยได้ให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจว่า “ประเทศไทยมีภาคเกษตรอยู่จำนวนมาก แต่ผลผลิตจากภาคการเกษตรคิดเป็นเพียงร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP เท่านั้น และเกษตรกรก็ไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าได้เอง เพราะราคาสินค้าเกษตรนั้น ตลาดโลกเป็นผู้กำหนด” การเปิดพื้นที่ให้เกษตรกรได้กำหนดราคาและพื้นที่การขายขึ้นเอง ที่ออกแบบให้ใช้งานง่าย สะดวกเหมาะกับการใช้งานของคนไทย
คุณตวงพลอย จิวาลักษณางกูร ผู้ร่วมก่อตั้ง Freshket ตลาดสดออนไลน์สำหรับร้านอาหาร เล่าถึง Pain pont ที่ทำให้ Freshket เข้ามาช่วยสร้าง Value creation ได้คือการค้นพบว่าร้านอาหารต้องมีการซื้อวัตถุดิบที่หลากหลายและยุ่งยากหลายขั้นตอน Freshket เข้ามาช่วยทำให้การสั่งซื้อวัตถุดิบของร้านอาหารสะดวกขึ้น มีคุณภาพคุ้มค่ากับราคา การบริการตลอด 24 ชั่วโมง สิ่งสำคัญคิดการทำด้านจัดการซัพพลายเชนเพื่อการควบคุมคุณภาพและกระจายสินค้า โดยมีพาร์ทเนอร์ช่วยด้านการขนส่ง เพื่อให้เกิดรูปแบบการใช้งานให้เหมาะกับร้านอาหารและซัพพลายเออร์ เพื่อช่วยสนับสนุนการสร้างตลาดให้กับสินค้าเกษตรของไทย
คุณธันยธร จรรยาวรลักษณ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ GetKaset.com เล่าว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบรูณ์หว่านเมล็ดอะไรก็เกิดแต่เรายังขาดในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพ จากจุดเริ่มต้นที่ได้สัมผัสกับเกษตรกร และเห็นปัญหาที่แท้จริงที่ไม่เป็นะรรมของเกษตรกรไทย เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น บวกกับการสร้างองค์ความรู้ ดังนั้นตลาดออนไลน์ เป็นคำตอบหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุน ที่มีความเติบโตสูงมาก แต่สินค้าเกษตรยังมีช่องว่างอีกมาก ที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนการสร้างเป็นตลาดเพื่อสนับสนุนสินค้าเกษตรให้มีช่องทางใหม่ได้อย่างเพิ่มจำนวนมากขึ้น
ท้ายที่สุดวิทยากรทั้งสามท่านมองว่าประเทศไทยยังมีโอกาสและช่องทางในการพัฒนาระบบตลาดได้อีกมากเนื่องจากคนไทยมีการใช้เทคโนโลยีอยู่แล้วและพร้อมที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ ดังนั้นที่จะทำได้คือ การทำตลาดในรูปแบบ Omni channel การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่หลากหลายช่องทาง ยกตัวอย่างเช่น Amazon ที่เป็นร้านค้าออนไลน์ แต่ในปัจจุบันมีการซื้อกิจการ whole food เพื่อเป็นการผสมผสานระหว่างร้านค้าแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อที่จะตอบสนองและเพิ่มความสะดวกต่อผู้บริโภค