สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
NIA Academy aims to empower people to become knowledgeable so that they can foster innovations. Therefore, it believes in innovator’s power within each individual, both young and grown-up. No matter what position you are in your organization, either in public, private, education, mass communication, political sectors or civil society, you are welcome to join our “INNOVATOR T.R.I.B.E, the innovator network to drive innovations”
สถาบันวิทยาการนวัตกรรม (NIA Academy) มุ่งเสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านนวัตกรรมช่วยผลักดัน ตั้งแต่กลุ่มเยาวชนและคนรุ่นใหม่ กลุ่มผู้ประกอบการและผู้บริหารทุกระดับ ทั้งภาครัฐภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม ภาคการเมือง และภาคสื่อมวลชนสามารถเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้มากขึ้น มีการลงทุนเพิ่มขึ้น มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในประเทศ และในระดับสากลสูงขึ้น
โครงการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมองค์กร หรือ Innovative Organization Program (IPO) สนับสนุนการยกระดับความสามารถในองค์กรและภาคเอกชน ให้เติมโดด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน ภายใต้โมเดลพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมองค์กร (Innovative Organization Model)
Thailand's National Innovation Agency or 'NIA' was established in 2003 under the Ministry of Science and Technology. NIA was entrusted by the Thai government to act as a core organization to promote and facilitate creation, management, and exploitation of innovation and, hence, to create an effective national innovation system for Thailand.
ตีพิมพ์เมื่อ : ธันวาคม 2561 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ได้พัฒนากรอบแนวคิด “การทูตนวัตกรรม” (Innovation Diplomacy) โดยอาศัยพื้นฐานความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับหน่วยงานต่างประเทศที่มีศักยภาพทางนวัตกรรมทั่วโลก เพื่อการยกระดับความเป็นสากล (Internationalisation) ของระบบนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation System, NIS) ของประเทศไทย ตลอดจนการผลักดันการพัฒนาภาพลักษณ์ (Image) ของประเทศไทยสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม” (Innovation Nation)
กลไก MIND CREDIT มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าถึงและใช้บริการจากบริษัทที่ปรึกษาที่มีความสามารถเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ (10 สาขา) ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาหรือขยายผลธุรกิจนวัตกรรมเพื่อยกระดับผู้ประกอบการวัตกรรมไทยให้พร้อมในการแข่งขันและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืน
นวัตกรรมแบบเปิดเป็นหนึ่งในกลไกการให้เงินทุนสนับสนุนสำคัญภายใต้แผนยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างคุณค่าและมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่มูลค่าอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยยกระดับห่วงโซ่อุปทานเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และซักนำไปสู่การสร้างห่วงโซ่มูลค่าใหม่ที่เป็นอุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญทั้งกลุ่มธุรกิจนวัตกรรม (Smart SMEs) และวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ซึ่งเป็นไปตามกลุ่มสาขาเศรษฐกิจ
นวัตกรรมเพื่อสังคมคือการประยุกต์ใช้ความคิดใหม่และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชนและสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่ความเท่าเทียมกันในสังคมและสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม
นวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic innovation) การพัฒนาโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมในระดับสาขาและประเด็นที่มีผลกระทบต่ออนาคตของประเทศในระดับสูง และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ผ่านการแสวงหาโจทย์ปัญหาที่แท้จริงร่วมกันของภาคเอกชน สังคม และภาควิชาการ เพื่อดำเนินโครงการนวัตกรรมต้นแบบสำหรับช่วยแก้ปัญหาและยกระดับการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่ประเทศฐานนวัตกรรม