สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

คำถามที่พบบ่อย

การขอการรับรองความเป็นนวัตกรรมต้องทำอย่างไร และใช้เวลาในการดำเนินการเท่าไร

NIA ไม่มีการสนับสนุนในรูปแบบของการรับรองความเป็นนวัตกรรม

การเดินทางไปสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

แผนที่ตั้ง NIA และข้อแนะนำการเดินทาง ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.nia.or.th/contact

ขั้นตอนการกรอกข้อมูลเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจาก NIA ทุกโครงการ ทั้งโครงการนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) นวัตกรรมมุ่งเป้า (Thematic Innovation) นวัตกรรมดีไม่มีดอกเบี้ย นวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation) 

ผู้ที่ขอรับการสนับสนุนจะต้องดำเนินการดังนี้

1) เข้าไปสมัครลงทะเบียน SMEs/Startup ที่เว็บไซต์ https://mis.nia.or.th/ 

2) ภายหลังการสมัคร ผู้ขอรับทุนใช้ Username และ Password ที่กำหนดเพื่อทำการเข้าสู่ระบบในเว็บไซต์ https://mis.nia.or.th/ 

3) กรอกข้อมูลแนวคิดโครงการนวัตกรรม (Concept Idea) ที่ต้องการขอรับการสนับสนุนจาก NIA พร้อมส่งข้อมูลผ่านทางระบบ

4) เมื่อ NIA ได้รับข้อมูลจากผู้รับทุน เจ้าหน้าที่ NIA จะประสานงานเพื่อให้ผู้รับทุนเข้ามานำเสนอรายละเอียดในโครงการดังกล่าว

5) กรณีที่ NIA พิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีความเป็นไปได้ทั้งในด้านเทคโนโลยีและการตลาด NIA จะประสานงานเพื่อให้ผู้รับทุนดำเนินการพัฒนาข้อเสนอโครงการเพื่อเตรียมนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาให้การสนับสนุนโครงการ ทั้งนี้ ผู้ขอรับทุนจะต้องเป็นผู้นำเสนอโครงการต่อที่ประชุมเอง (โดยอาจให้ผู้แทนบริษัทฯ และ/หรือ ผู้เชี่ยวชาญในโครงการ ร่วมนำเสนอได้)

ทั้งนี้สามารถดูคู่มือการสมัครยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนได้ที่นี่

ขั้นตอนในการขอเข้าเยี่ยมชมอุทยานนวัตกรรม (Innovation Park) ของ NIA

ผู้สนใจสามารถทำจดหมายมาที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ โดยเรียน ผู้อํานวยการสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และส่งจดหมายมาที่อีเมล [email protected]

 

ข้อมูลการสมัครเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดการสมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ที่เว็บไซต์ http://www.deepsouthinnovation.com

ความแตกต่างในการขอรับทุนสนับสนุนระหว่างโครงการ Open Innovation และ Thematic Innovation

โครงการนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) เป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs/Startup ในการพัฒนาโครงการนวัตกรรมในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นนวัตกรรมที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงจากเดิม มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ (Productivity) และ/หรือ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ (Value added)

โครงการนวัตกรรมมุ่งเป้า (Thematic Innovation) เป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแบบมุ่งเป้า เพื่อการพัฒนานวัตกรรมที่มุ่งเน้นในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีและธุรกิจในลักษณะก้าวกระโดด หรือ นวัตกรรมที่มีลักษณะการสร้างให้เกิด platform และรูปแบบธุรกิจ (business model) ใหม่ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนรูปแบบของอุตสาหรรม 

ช่องทางการรับสมัครงานที่ NIA

ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวการรับสมัครงานได้ที่เมนู “ร่วมงานกับเรา” หรือคลิก >> https://www.nia.or.th/article/career.html 

 

ถ้าเป็นนิติบุคคล NIA มีการกำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนหรือไม่ว่าต้องจดขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลมาแล้วอย่างน้อยเท่าใด จึงจะสามารถยื่นขอรับการสนับสนุนได้ (จดเช้า มายื่นบ่ายเลยได้ไหม)

NIA มิได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะบียนนิติบุคคลแต่อย่างใด หากแต่กำหนดว่า “นิติบุคคล” ที่ยื่นขอรับการสนับสนุนจาก NIA จะต้องถือหุ้นโดยผู้มีสัญชาติไทยมากกว่าร้อยละ 51

ทำไมบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย ที่ไม่ใช่นิติบุคคล จึงไม่สามารถยื่นขอรับทุนสนับสนุนโครงการจาก NIA ที่เป็นภาครัฐได้

อ้างถึงระเบียบสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการสนับสนุนโครงการนวัตกรรม NIA จะให้การสนับสนุนโครงการแก่ “นิติบุคคล” ที่ถือหุ้นโดยผู้มีสัญชาติไทยมากกว่าร้อยละ 51

สัดส่วนการให้ทุนสนับสนุน NIA จะให้เต็มจำนวนเงินเลยหรือไม่ เช่น โครงการที่ให้ทุนสนับสนุนจำนวน 1.5 ล้านบาท หากพิจารณาโครงการผ่านจะได้รับทุนเต็มจำนวนนั้นหรือไม่ หรือมากสุดประมาณเท่าใด

โครงการ Open Innovation : NIA จะให้การสนับสนุนในรูปแบบของเงินสนับสนุนให้เปล่าในวงเงินสนับสนุนไม่เกินโครงการละ 1.5 ล้านบาท และมีมูลค่าไม่มากกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจาก NIA

โครงการ Thematic Innovation: NIA จะให้การสนับสนุนในรูปแบบของเงินสนับสนุนให้เปล่าในวงเงินสนับสนุนไม่เกินโครงการละ 5 ล้านบาท และมีมูลค่าไม่มากกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจาก NIA อนึ่ง การพิจารณาจำนวนเงินที่ให้การสนับสนุนนั้นขึ้นกับการพิจารณาของคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการเป็นสำคัญ

หากต้องการยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนต้องเรียนหลักสูตร Innovation 101 หรือไม่

แนะนำให้เรียนหลักสูตร Innovation 101 เพื่อให้เข้าใจถึงนิยามความหมายของ "นวัตกรรม" เพื่อสามารถจำแนกผลงานที่ดำเนินการในเบื้องต้นได้ว่าเป็นผลงานวิจัย หรือสิ่งประดิษฐ์ ที่สามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่ ทั้งนี้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ของสำนักงานฯ ได้ที่ NIA Moocs >> https://moocs.nia.or.th/