สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
การดึงสารอาหารจากน้ำเสีย (Wastewater Nutrient Recovery) เป็นอีกหนึ่งแนวทางการจัดการน้ำเสียในกระบวนการบำบัดน้ำเสียโดยดึงธาตุอาหารที่ปะปนอยู่ในรูปแบบต่างๆ จากน้ำเสียหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ สามารถนำไปใช้ในการผลิตปุ๋ยเพื่อทำการเกษตรและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดมลพิษทางน้ำที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อภาคส่วนต่างๆ แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการดึงสารอาหารในระบบการบำบัดน้ำเสียมีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจในการนำไปปรับใช้จัดการคุณภาพน้ำ…เพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนในอนาคต
ภัยอันตรายจากการปล่อยของเสียไม่ได้อยู่ในรูปของก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังมีการปลดปล่อยของเสียสิ่งปฏิกูล สารเคมีที่ไม่พึงปรารถนาออกมาในรูปของสารละลายสู่แหล่งน้ำธรรมชาติส่งผลให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงจนก่อให้เกิดผลกระทบภายนอกเชิงลบ (negative externality) ระบบนิเวศในน้ำถูกทำลายจนไม่สามารถนำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์เพื่ออุปโภคบริโภคได้ ซึ่งปัจจุบันปัญหาน้ำเสียเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์น้ำชาติด้านการจัดการคุณภาพน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการจัดการสิ่งแวดล้อมแก้ไขปัญหาน้ำเสียลดผลกระทบภายนอกที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศในน้ำ หรือแม้แต่สุขภาพของมนุษย์จำเป็นต้องพัฒนาแนวทางการบำบัดน้ำเสียลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นให้เหลือน้อยลง “เทคโนโลยีการปล่อยของเหลวเป็นศูนย์ (Zero Liquid Discharge : ZLD)” เป็นแนวทางหนึ่งในกระบวนการบำบัดของเสียออกมาสู่สาธารณะให้สามารถหมุนเวียนทรัพยากรให้กลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นให้เหลือน้อยลง ซึ่งมีแนวโน้มและโอกาสเติบโตที่น่าสนใจ ทั้งนี้ ... สิ่งสำคัญทุกภาคส่วนควรตระหนักให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกันเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องบูรณาการสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้าไปเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ปัจจุบันสถานการณ์พลังงานเชื้อเพลิงกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตเนื่องจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินมีปริมาณเหลือน้อยลง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนเป็นปัญหาที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น การค้นหาแนวทางการกำจัดขยะและผลิตพลังงานทดแทนจากแหล่งอื่น โดยนำการจัดการขยะมาเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนสภาพเป็นพลังงานทดแทนเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ก่อให้เกิดผลดีกว่าการกำจัดทิ้งไปอย่างสูญเปล่า เทคโนโลยีการดึงก๊าซจากหลุมฝังกลบ (Landfill Gas Recovery) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มแหล่งพลังงานทางเลือกและลดการปล่อยมลพิษที่น่าสนใจ และนำไปปรับใช้ในอนาคต
ในอีก 35 ปีข้างหน้าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้น 2 พันล้านคน คาดว่าต้องการอาหารเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 60% การบรรลุเป้าหมายการเติบโตนี้จะต้องมีการปรับใช้เทคโนโลยี Aeroponics หนึ่งในเทคโนโลยีปลูกพืชไร้ดิน ที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและพื้นที่ในการทำเกษตรกรรม และเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรสมัยใหม่ มาดูกันว่าแนวโน้ม โอกาสและความท้าทายในอนาคตของเกษตรกรรมแบบ Aeroponics เป็นอย่างไร
การใช้น้ำเพื่อการบริโภคในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ขณะที่น้ำจากแหล่งธรรมชาติลดลง การผลิตน้ำจากอากาศเป็นน้ำดื่มด้วยเทคโนโลยี Atmospheric Water Generation เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการผลิตน้ำในอนาคตที่น่าสนใจ ... มาดูกันว่าโอกาสและแนวโน้มของเทคโนโลยีจะเป็นอย่างไร
สถานการณ์ภาวะโลกร้อน (Global Warming) ในปัจจุบันมีความรุนแรงมากขึ้นส่งผลกระทบในวงกว้าง สาเหตุหลักมาจากการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) ที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นส่วนประกอบจากกิจกรรมการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ ถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศที่สูงมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันอัตราปล่อย CO2 ทั่วโลกอยู่ที่ 2.7 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) คาดว่าในปี 2050 อุณหภูมิโลกอาจจะเพิ่มสูงขึ้นกว่า 3 - 6 องศาเซลเซียส ทำให้คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ของสหประชาชาติตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 และต้องไม่มีการปล่อยก๊าซเพิ่มภายในปี 2050 เพื่อคงระดับอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกินจากเดิม 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้หลายประเทศหาแนวทางและพัฒนาเทคโนโลยีลด CO2 ที่เป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่หลายๆ ประเทศกำลังพัฒนา เพื่อใช้ประโยชน์และลดปัญหาการปล่อย CO2 ในกิจกรรมต่างๆ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีผลต่อสภาพภูมิอากาศ โดยใช้วิธีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากปล่องควันสูงตามโรงไฟฟ้าและนำไปเก็บไว้ใต้ดินหรือใต้มหาสมุทรไม่ให้ CO2 กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้อีก มาดูกันว่าแนวโน้มการใช้เทคโนโลยี CCUS เป็นแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาที่จะเกิดในอนาคตเป็นอย่างไร
ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตและเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แม้ว่าน้ำจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีวันหมด แต่หากใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟื่อยขาดการจัดการน้ำที่ดีก็สามารถส่งผลให้เกิดวิฤกติขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงได้ Smart Water Grid เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาบริหารและจัดการน้ำ ติดตาม ควบคุมสั่งการแบบ Real time และสามารถรวบรวมประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ สามารถลดความสูญเสียต่างๆ ในระบบ เช่น ต้นทุนการสูบน้ำ น้ำสูญหาย และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันที มาดูกันว่าแนวโน้มและโอกาสการประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการน้ำของเทคโนโลยีนี้จะเป็นอย่างไร
น้ำสะอาด ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญและจะขาดแคลนในอนาคต เทคโนโลยีแยกเกลือออกจากน้ำทะเล Desalination จึงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีอนาคตที่น่าจับตามอง มาดูกันว่าโอกาสและแนวโน้มของเทคโนโลยี Desalination เป็นอย่างไรในอนาคต
การแบ่งกฎหมายออกเป็นประเภทต่างๆ นิยมทำกันในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law System) สามารถแบ่งออกเป็นกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน โดยยึดถือลักษณะของความสัมพันธ์เป็นเกณฑ์