สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
การเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือ INTERPOL ร่วมมือกับสมาชิกกว่า 190 รายทั่วโลกในการกำหนดการบังคับใช้กฏหมายร่วมกัน ทั้งยังนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้กับการทำงานเชิงรุกโดยเฉพาะการวิเคราะห์ปัจจัยและภัยคุกคามที่ส่งผลต่อความสงบ และความปลอดภัยของประชากรทั่วโลก
ปัจจัยขับเคลื่อนหลัก 8 ด้าน ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยด้านชีวอนามัยของ ASEAN ในอนาคต ได้แก่ 1) การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร 2) การเติบโตของภาคธุรกิจ 3) การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง 4) การท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 5) การเพิ่มขึ้นของการใช้ทรัพยากรณ์ทางธรรมชาติ 6) การปฏิรูปการใช้ที่ดิน 7) ความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดลง และ 8) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยเหล่านี้สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่างๆ ส่งผลให้เกิดการคุกคามทางความปลอดภัยทางชีวภาพ และมีโอกาสที่ทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่
ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่…ด้วยประเด็นที่น่าใจ … ของยุคที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว เมืองขยายตัวมากขึ้น ความต้องการใช้ทรัพยากรของผู้คนในสังคมเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ภายใต้การเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนต่างๆ ของโลกในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีเหตุการณ์สำคัญหลายๆ เหตุการณ์ที่อยู่ในกระแสเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ก่อให้เกิดวิกฤติน้ำ ทั้งปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเสีย ปัญหาขาดแคลนน้ำรุนแรง ประกอบกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกเป็นแรงขับเคลื่อนต่อการเพิ่มปริมาณความต้องการใช้น้ำในทุกภาคส่วน ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อวิกฤตน้ำในโลกที่มีความเป็นไปได้สูงในอนาคต ปัจจุบันประชากรโลก 1 ใน 5 คน ไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาด ขาดแคลนน้ำดื่ม และประชากรครึ่งหนึ่งของโลกขาดแคลนน้ำสะอาดตามหลักสุขาภิบาล ประชากรมากกว่า 5 ล้านคนตายด้วยโรคที่เกิดจากน้ำไม่สะอาดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา สถาบันจัดการน้ำระหว่างประเทศ (IWMI) คาดว่าราวปี 2025 ประชากร 4,000 ล้านคน ใน 48 ประเทศ (2 ใน 3 ของประชากรโลก) จะเผชิญกับปัญหาความขาดแคลนน้ำ ในขณะที่ธนาคารโลกประมาณการว่า 30 ปีข้างหน้าประชากรครึ่งหนึ่งของโลกจะประสบภาวะขาดแคลนน้ำหากยังคงมีการใช้น้ำที่ฟุ่มเฟือยอย่างเช่นในปัจจุบัน หลายภาคส่วนพยายามหาแนวทางแก้ไขปัญหาและวิธีการป้องกัน อาทิ การผสมผสานเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน การพัฒนาเทคโนโลยีระบบโครงข่ายการบำบัดน้ำอัจฉริยะขั้นสูง (Advanced Aqua Grids) ที่ผสมผสานเทคโนโลยีแยกเกลือออกจากน้ำทะเล (Desalination) เข้ากับเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ (Sensor Fusion) และระบบฝังตัวแบบนาโนไฮบริดเข้าไปในเมมเบรน (Membrane) เพื่อทำหน้าที่ตรวจจับสิ่งปนเปื้อน ตรวจสอบคุณภาพ
การเกษตรด้วยวิทยาการหุ่นยนต์ (Robotic Farming) เป็นกุญแจสําคัญที่จะเปลี่ยน อุตสาหกรรมเกษตร โดยอาศัยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูงร่วมกัน ได้แก่ การผสมผสานการใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ (Sensor Fusion) และการใช้ข้อมูลเชิงลึก ทางเกษตรในระดับโอมิกส์ (Agricultural Multiomics) อาทิ จีโนมิกส์ (Genomics) ทรานสคริปโตมิกส์ (Transcriptomics ) เมตาโบโทมิกส์ (Metabotomics) และ โปรติโอมิกส์ (Proteomics) เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร แล้วสั่งงานหุ่นยนต์ทางานร่วม (Cobots) ทางการเกษตรและ Drone เพื่อทํางานอย่างการไถเตรียมดิน การเพาะเมล็ดพืช การจัดการวัชพืช การใส่ปุ๋ย การคัดเลือกพืช
การผลิตอาหารอย่างยั่งยืนโดยใช่วัตถุดิบการผลิตที่น้อยแต่ได้คุณค่าโภชนาการสูงด้วยเทคโนโลยีกระบวนการ หรือเทคนิคการแก้ไขดัดแปลงพันธุกรรม อาทิ CRISPR และเทคโนโลยี วิศวกรรมโปรตีน (Protein Engineering) ที่เป็นส่วนหนึ่งของ ชีววิทยาสังเคราะห์ที่ใช้ผลิตส่วนผสมที่สะอาด รวมถึงการทํา ฟาร์มอัจฉริยะ การทําเกษตรแบบ 4.0 และการสร่างมูลค่าเพิ่ม จากวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
5 เทคโนโลยีดิจิทัลพลิกโฉมอุตสาหกรรม โดยทุกวันนี้ปฎิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานในทุกภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ซึ่งเทรนด์การใช้นวัตกรรมดิจิทัลเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวัน สามารถพลิกโฉมการทำธุรกิจ อุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 5 เทคโนโลยีสำคัญที่มีแนวโน้มเข้ามาสร้างผลกระทบต่อธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก (Megatrend) อาทิ การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ (Aging Society) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) การขยายตัวของเมืองทำให้เกิดเมืองใหม่ที่มีลักษณะเป็น Smart City ที่กำลังเกิดขึ้นในวงกว้างและส่งผลต่อหลายๆ ประเทศในอนาคต โดยเฉพาะแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่หลายๆ ประเทศให้ความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซ CO2 ลง โดยมุ่งเน้นการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เห็นได้ชัดเจนจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าส่งผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมการบริหารจัดการรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดผลกระทบจากความเป็นพิษของวัสดุที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งแนวโน้มการเติบโตของตลาดเทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่จึงเป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตสูงอย่างน่าสนใจ เพื่อรับมือกับปริมาณแบตเตอรี่ของยานยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มปริมาณมากขึ้นในอนาคต