สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
หนังสือเล่มนี้ เป็นรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการสร้างตลาดรูปแบบใหม่จากวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรสำหรับกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น หรือ AgTech4OTOP โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ ซึ่งมีสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นฝ่ายเลขานุการ ที่ให้โอกาสและให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ AgTech4OTOP อีกทั้งมีหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาชุมชน กรมทรัพย์สินทางปัญญา เข้ามาร่วมสนับสนุนให้คำแนะนำ ความร่วมมือ และเป็นวิทยากร โดยผลสำเร็จที่เกิดขึ้นในโครงการได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ และเป็นข้อมูลกลางให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สตาร์ทอัพ และเกษตรกร ผ่านการดำเนินงานของ 10 สตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่มีการสร้างตลาดรูปแบบใหม่ให้กับสินค้าเกษตร เช่น ระบบเจ้าของร่วมผลิต ระบบการประมูลสินค้าเกษตร หรือ E-biding ระบบตลาดออนไลน์ หรือ Marketplace และ ระบบการขายออนไลน์ส่งมอบให้ผู้บริโภคและธุรกิจเกษตร (B2B /B2C) ร่วมสร้างสรรค์ตลาดรูปแบบใหม่ให้กับ 50 OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ่านกระบวนการเรียนรู้อบรมบ่มเพาะ การลงมือปฏิบัติจริง ที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำปรึกษาหารือ เพื่อพัฒนารูปแบบตลาดในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตสินค้าการเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นไปสู่ผู้บริโภคให้สามารถขยายผลและกระจายได้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
The Study Project on Development Guidelines of Innovation Diplomacy mentioned the innovation diplomacy accomplishment that National Innovation Agency (Public Organization) (NIA) has practically promoted by recording the essence in the action plan since 2015, and the innovation diplomacy global strategy that will be operated within the next three fiscal years (2021-2024).
หนังสือโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการทูตนวัตกรรม (Innovation Diplomacy) กล่าวถึง ผลสัมฤทธิ์ทางการทูตนวัตกรรมที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ได้ส่งเสริมเรื่องนี้ในทางปฏิบัติโดยบรรจุไว้ในแผนงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 และยุทธศาสตร์โลกทางการทูตนวัตกรรมที่จะปฏิบัติในระยะเวลา 3 ปีงบประมาณข้างหน้า (พ.ศ. 2564 – 2567)
“นวัตกรรม” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการรับมือวิกฤตดังกล่าว นวัตกรรมรูปแบบใหม่ๆ ที่นอกเหนือจาก นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการ และ นวัตกรรมบริการ จะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย ที่จะนำไปใช้ในการรับมือและแก้ปัญหาวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จากศักยภาพพื้นฐานและประเด็นการพัฒนาด้านนวัตกรรมของประเทศไทย สามารถสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสด้านนวัตกรรมของประเทศไทย ดังต่อไปนี้ 1. นวัตกรรมรูปแบบธุรกิจ (Business model innovation) 2. นวัตกรรมเชิงพื้นที่ (Area-based innovation) 3. นวัตกรรมสังคม (Social innovation) 4. นวัตกรรมภาครัฐ (Public-sector innovation) 5. นวัตกรรมขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-driven innovation) 6. นวัตกรรมกรอบความคิด (Paradigm innovation) และ 7. นวัตกรรมศาสตร์และศิลป์ (Aesthetic innovation)
สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม (Innovation Foresight Institute - IFI) ร่วมกับ ศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (ABC Center) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดทำหนังสือ "เทรนด์นวัตกรรมพลิกโฉมธุรกิจเกษตรไทย" (Setting-up Innovation Trends: New Chapter of Thai Agribusiness) “เทรนด์นวัตกรรมพลิกโฉมธุรกิจเกษตรไทย" นำเสนอข้อมูลผลการศึกษาแนวโน้มนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ ที่สะท้อนภาพความเปลี่ยแปลง ความสำคัญ รวมถึงผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อห่วงโซ่ทางการเกษตร (Agricultural Value Chain) โดยครอบคลุมตั้งต่ (1) เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร (2) การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ (3) การบริหารจัดการและระบบควบคุมฟาร์ม (4) นวัตกรรมหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง และ (5) การบริการเพื่อการเกษตร ข้อมูลผลการศึกษาได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายนักวิจัยจาก (1) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ (3) มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ความอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคงนั้น เป็นเป้าหมายที่ท้าทายของผู้บริหารองค์กรส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมต่างๆ ที่รวดเร็วและสร้างผลกระทบรุนแรงต่อองค์กรอย่างที่อาจไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต ซึ่งทำให้ถูกเรียกกันว่าเป็นยุคแห่ง Disruption แต่อย่างไรก็ตาม โลกได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายความสามารถของมนุษย์ดังกล่าวมาแล้วหลายครั้ง ถ้าพิจารณาถึงการก้าวสู่ยุค อุตสาหกรรมนั้น เรากำลังเผชิญอยู่ในช่วงเวลาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือโลกยุค 4.0 ซึ่งก็ได้เห็นถึงการดิ้นรนปรับเปลี่ยน ตัวเองและสิ่งต่างๆ รอบตัวให้สนองตอบต่อสภาพแวดล้อมใหม่ หรือเรียกได้ว่าคือการสร้างสรรค์ “นวัตกรรม” ด้วยภารกิจของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ในการส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับความสามารถ ด้านนวัตกรรมขององค์กรต่างๆ อันจะก่อให้เกิดระบบนวัตกรรมแห่งชาติที่เข้มแข็ง จึงได้พัฒนา Innovative Organization Program (IOP) หรือโครงการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมองค์กรให้เป็นโครงการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้าน นวัตกรรมองค์กรของผู้ประกอบการภาคเอกชน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และองค์กรภาครัฐ สู่การเป็นหน่วยงานที่เติบโตและสร้างความ เข้มแข็งบนฐานของนวัตกรรม (Innovation-driven Organization) โดยดำเนินการบนฐานของโมเดลพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมองค์กร หรือ Innovative Organization Model (IOM) ที่ครอบคลุมมิติการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมใน 3 ระดับคือ ระดับยุทธศาสตร์ ระดับกระบวนการ และระดับสนับสนุน ในการนี้ สนช. ได้จัดทำเนื้อหาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาองค์กรนวัตกรรม หรือ Innovative Organization Book of Knowledge (IOBOK) เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการยกระดับศักยภาพด้านนวัตกรรมขององค์กรและส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงองค์ความรู้ ด้านการพัฒนาองค์กรนวัตกรรมได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพต่อไป
ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรมเชิงพื้นที่และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. จึงได้นำแนวคิด “ย่านนวัตกรรม” หรือ “Innovation District” เข้ามาดำเนินการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ในระดับย่าน โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมภายในย่านให้ดึงดูด กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ที่รวมเป็นกลุ่มคลัสเตอร์ให้เข้ามาร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม ผ่านเครื่องมือ กลไก และกิจกรรมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตภายในย่าน รวมถึงการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกันเพื่อตอบเป้าหมายการพัฒนาและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เพื่อให้เกิดกรอบการพัฒนาย่านนวัตกรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์และบริบทของย่านนวัตกรรมที่มีศักยภาพ สนช. จึงได้ดำเนินโครงการนำร่องการพัฒนาย่านนวัตกรรม ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำานวน 6 ย่าน ประกอบด้วย ย่านนวัตกรรมโยธี ย่านนวัตกรรมรัตนโกสินทร์ ย่านนวัตกรรมปทุมวัน ย่านนวัตกรรมคลองสาน ย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท และย่านนวัตกรรมลาดกระบัง โดยหนังสือ “ย่านนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร” หรือ “Bangkok Innovation Districts” เล่มนี้ ได้รวบรวมแนวคิดการพัฒนาย่านนวัตกรรม ในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้ง 6 ย่าน ที่ทีมงานจากสถาบันการศึกษาชั้นนำภายในย่านได้ลงไปดำเนินการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเสมือนเอกสารแสดง วิสัยทัศน์ โอกาส และภาพความเปลี่ยนแปลงในอนาคตของย่านนวัตกรรมในพ้ืนที่กรุงเทพมหานคร ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่แต่ละย่านให้มีศักยภาพในการเติบโต และพร้อมปรับตัวเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตต่อไป
จากคำกล่าวที่ว่า การคาดการณ์อนาคตที่ดีที่สุด คือ การออกแบบและสร้างมันให้เป็นความจริง ส่งผลให้ต้องหันกลับมาพิจารณาสถานการณ์ของโลกในยุคปัจจุบันซึ่งกำลังเผชิญกับความท้าทายรูปแบบใหม่ที่มีพลวัตการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็ว ในขณะที่แนวความคิดระบบสังคมและเศรษฐกิจรวมทั้งระบบการศึกษายังคงได้รับอิทธิพลจากโลกในยุคศตวรรษที่ 20 ดังนั้นความสามารถในการวิเคาระห์ อธิบาย คาดการณ์ ออกแบบ และสื่อสารอนาคตจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของปัจเจกบุคคล องค์กร ชุมชน ประเทศ และมนุษยชาติ ประเทศไทยหลีกหนีไม่พ้นกระแสปั่นป่วนของโลกยุคศตวรรษที่ 21 และได้เริ่มต้นกระบวนการมองอนาคตที่สะท้อนออกมาในแนวคิด กลยุทธ์ และนโยบายระดับชาติต่างๆ อาทิ นโยบายประเทศไทย 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) เป็นต้น เมื่อการมองอนาคตได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วน สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงมอบหมายให้สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินโครงการจัดทำชุดเครื่องมือการมองอนาคต (Foresight Tools Box) เพื่อเป็นเครื่องมือเบื้องต้นในการมองอนาคตที่ทุกภาคส่วนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทความจำเป็นของตนเอง
จากประเทศฐานวัฒนธรรม สู่ประเทศฐานนวัตกรรม ประเทศไทย 4.0 มุ่งนำนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อสร้างคุณค่าและภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศไทยด้านนวัตกรรมให้ประจักษ์สู่สายตาคนทั้งโลกถึงการเป็นฐานนวัตกรรม รวมถึงสื่อสารถึงคุณค่าของนวัตกรรมที่สร้างสรรค์โดยฝีมือคนไทย ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนไทยและคนทั่วโลก หรือ Innovated in Thailand ให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างทั้งระดับในประเทศและระดับนานาชาติ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้ก้าวผ่านจากภาพลักษณ์ ประเทศฐานวัฒนธรรม สู่ภาพลักษณ์ใหม่ที่เปิดมุมมองใหม่ของประเทศไทยที่แตกต่งจากเดิม ให้คนไทยและคนทั่วโลกเกิดการรับรู้และยอมรับประเทศไทยในฐานะ ประเทศฐานนวัตกรรม หรือ Innovation Nation
'innovation - A New Landscape of Thailand' With the advent of the Thailand 4.0 Policy, innovation now plays a major role as a driving force behind the kingdom's economic and social development. This policy not only creates value-added to Thai exports but also promotes the personified reputation of Thailand as an 'innovative craftsman' to the rest of the world. It also communicates the value and benefits of Thai innovations to global citizens with the 'Innovate Thailand' branding. This catchphrase is working to familiarize the international community with the country's new image as it transitions from a tradition-based economy to an innovation-based economy.
NIA ร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในระบบนวัตกรรมทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันศึกษา สังคม จัดงาน Innovation Thailand Expo 2019 (ITE2019) ระหว่างวันที่ 3 - 5 ตุลาคม 2562 ณ สามย่านมิตรทาวน์ ภายใต้แนวคิด “Social Innovation in the City” เพื่อสื่อถึงการเกิดขึ้นของสังคมเมืองในปัจจุบันและการขยายตัวของเมืองในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมตามมามากมาย ซึ่ง “นวัตกรรมเพื่อสังคม” (Social Innovation) สามารถนำไปช่วยลดความเหลื่อมล้ำของคนในเมือง ยกระดับคุณภาพชีวิตและดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น ช่วยให้การใช้ชีวิตในสังคมเมืองมีความสุขขึ้น รวมถึงลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการขยายตัวของเมือง โดยงาน Innovation Thailand Expo 2019 ถือเป็นงานแสดงนวัตกรรมที่สร้างสรรค์เพื่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมที่มีความหลากหลายของนวัตกรรมมากที่สุดของประเทศ และรวบรวมผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตของทุกคนที่อยู่ร่วมกันในสังคมในงานเดียว ตั้งแต่เด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ซึ่งภายในงานดังกล่าวจะนำเสนอนวัตกรรมเพื่อสังคมใน 3 ด้าน ได้แก่ 1. สร้างรายได้ (Prosperity) เป็นการนำเสนอนวัตกรรมเพื่อสังคมที่เข้าไปช่วยสร้างรายได้ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ทำให้เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ 2. สร้างสุขภาพ (Healthiness) เป็นการนำเสนอนวัตกรรมเพื่อสังคมที่เข้าไปช่วยสร้างสุขภาพที่ดีทำให้สังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ 3. สร้างความสุข (Happiness) เป็นการนำเสนอนวัตกรรมเพื่อสังคมที่เข้าไปช่วยสร้างความสุขในการใช้ชีวิตในสังคมเมือง ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ไฮ
การจัดงาน Startup Thailand 2019 ภายใต้แนวคิด Startup Nation ซึ่งเข้าสู่ปีที่ 4 ในครั้งนี้ ประเทศไทยได้แสดง ให้เห็นถึงศักยภาพที่แข็งแกร่งพร้อมระบบนิเวศที่แข็งแรงยิ่ง ขึ้นในฐานะประเทศที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมวิสาหกิจเริ่ม ต้น (Startup) อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม เพื่อนนำประเทศไทย ก้าวสู่การเป็น Global Startup Hub ของภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้อย่างแท้จริงการจัดงานในครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้นเป็นระยะเวลา 5 วัน ในสถานที่ 9 แห่ง เพื่อแสดงศักยภาพย่านนวัตกรรมกรุงเทพ (Bangkok Innovation Corridor) และเป็นปรากฏการณ์์ใหม่ ที่ระบบนิเวศมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของงานในรูปแบบที่ตัวเองถนัดสถานที่ของตัวเอง ทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน อาทิ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), Siam Innovation District, True Digital Park, TCDC, DTAC Accelerate, AIS DC, KX, NapLab, Glowfish กับการเดิน ทางที่สะดวกสบายด้วยเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมโยงกิจกรรมใน แต่ละย่านนวัตกรรมเข้าด้วยกัน เพื่อตอกย้ำว่ากรุงเทพฯ เป็น เมืองดีที่สุดในเอเชียสำหรับสตาร์ทอัพ งานครั้งนี้ เป็นการรวม พลังสตาร์ทอัพชั้นนำของประเทศไทยและระดับโลกมากกว่า 500 สตาร์ทอัพ รวมถึงหน่วยงานในวงการสตาร์ทอัพจาก ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาคม เครือข่ายความร่วมมือจาก 40 ประเทศ เพื่อเปิดมุมมองความคิดใหม่ ๆ และค้นหาสุดยอด ไอเดียธุรกิจที่จะเติบโตเป็นยูนิคอร์น และสร้างปรากฏการณ์์ ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในประเทศไทย