สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
การให้บริการของ NIA
ความเคลื่อนไหวของ NIA
ช่องทางในการติดต่อกับ NIA
ดัชนีนวัตกรรมระดับโลกกับพัฒนาการด้านนวัตกรรมของประเทศไทย
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ก่อตั้งขึ้นจากวิสัยทัศน์ของหน่วยงานระดับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ ผลักดันให้เกิด สนช. ขึ้น เพื่อมุ่งหมายให้ “นวัตกรรม” เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้เพิ่มสูงขึ้น โดยมียุทธศาสตร์การดำเนินงานภายใต้ตัวชี้วัดตามกลยุทธ์ของ สนช. ปี 2566 - 2570
หนังสือที่รวบรวมผลงานสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทย รุ่นที่ 2 ภายใต้ "นิลมังกรแคมเปญ" โดยมีบทสัมภาษณ์เจ้าของแบรนด์มากกว่า 100 ธุรกิจ ทั่วประเทศ ผลงานนวัตกรรมที่รวบรวมได้นำเสนอในเรื่องของความเป็นนวัตกรรม การสร้างแบรนด์ธุรกิจ และกลยุทธ์การตลาดในการทำธุรกิจ ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการต่อยอดธุรกิจนวัตกรรม มีการนำเสนอสินค้าหรือบริการของที่มีการนำเอาอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่ผสมผสานนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ
หนังสือ 'นิลมังกร แบรนด์นวัตกรรมไทย' ได้รวบรวมผลงานสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทย ภายใต้ นิลมังกรแคมเปญ จำนวนมากกว่า 100 ธุรกิจ ซึ่งถือได้ว่าเป็นฮีโร่จากพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ผลงานที่รวบรวมได้นำเสนอในเรื่องของความเป็นนวัตกรรม การสร้างแบรนด์ธุรกิจ และกลยุทธ์การตลาดในการทำธุรกิจ ที่จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่สนใจในการเริ่มต้นนวัตกรรมและเกิดความตื่นตัวในการคิดค้นและพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการของธุรกิจให้นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ
งาน STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2023 (SITE 2023) เป็นงานมหกรรมนวัตกรรมและเครือข่ายสตาร์ทอัพ ไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด INNOVATION PARTNERSHIP - TOGETHER WE GROW ร่วมสร้าง “หุ้นส่วนนวัตกรรม” เพื่อนำไทยสู่ชาตินวัตกรรม ภายใต้หัวใจสำคัญ คือ ระบบนิเวศนวัตกรรม (Ecosystem) การทำงานร่วมกัน (Collaboration) และความเป็นสากล (Internationalization) โดยเป็นความร่วมมือทางนวัตกรรม ครั้งสำคัญของทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความเข้มแข็งในระบบนิเวศนวัตกรรม รองรับการเติบโตของสตาร์ทอัพและธุรกิจ นวัตกรรม และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นชาตินวัตกรรม ระหว่างวันที่ 22-24 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2022 หรือ SITE 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Reconnecting the World เชื่อมเรา เชื่อมโลก กลับมาเจอกัน” แม้ว่าทุกประเทศทั่วโลกกำลังอยู่ในสถานการณ์แพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ตาม แต่ทุกประเทศไม่สามารถที่จะหยุดเดินหน้าต่อไปได้ ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเมืองหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง ซึ่งการเปิดเมืองจะเป็นการเชื่อมโลกและประเทศไทยกลับมาด้วยกัน เพื่อให้ทั่วโลกรับรู้ว่า ประเทศไทยมีเมืองนวัตกรรม (Innovation City) ซึ่งมีจุดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ และพร้อมที่จะเชื่อมต่อกับเมืองนวัตกรรมจากทั่วโลกเพื่อฟื้นฟูให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันได้ต่อไป โดยงาน SITE 2022 จัดขึ้นในรูปแบบผสมผสานที่สามารถเข้าร่วมงานได้ทั้งทางออนไลน์ในรูปแบบจักรวาลนฤมิต (Metaverse) และทางออฟไลน์ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23-25 มิถุนายน 2565
STEAM4INNOVATOR CENTER BOOK ศูนย์สร้างนวัตกรรุ่นใหม่ เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นองค์ความรู้สำหรับโครงการ “สนามการเรียนรู้นวัตกรรมสําหรับเยาวชน” หรือ STEAM4INNOVATOR CENTER ซึ่งร่วมมือกับ 5 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถกระจายองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายในระบบโรงเรียนภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างกว้างขวางเพื่อสอดรับกับนโยบายชาติที่จะสร้างเด็กไทยให้เป็น "นวัตกร"
โครงการฝึกฝนความเป็นผู้ประกอบการสำหรับเยาวชนในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่คิดการใหญ่ เต็มไปด้วยไอเดียสร้างสรรค์หรือฝันอยากสร้างธุรกิจในอนาคต ได้มีพื้นที่แสดงความสามารถ พัฒนาศักยภาพ สัมผัสประสบการณ์การทำงานจริงและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนวัตกรรุ่นใหม่ Founder Apprentice เดินทางมาถึงปีที่ 5 แล้ว เราจึงถือโอกาสนี้พาทุกท่านย้อนกลับไปดูการเติบโตของเหล่าศิษย์เก่ารุ่นที่ 1-4 ที่ผ่านมาที่จะมาแบ่งปันบทเรียน แง่คิดในการทำงานและการใช้ชีวิต รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากการเข้าร่วมโครงการ Founder Apprentice
The Startup Guide User Journey will provide all necessary information on the nature of Thailand’s startup ecosystem landscape with details on ecosystem dynamics and stakeholder relationships, Thailand’s strategic strengths in the ease of doing business, and abundant infrastructure and resources for startups to incubate and scale, as well as information on regional startup hubs around the country.
“รายงานการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทย ประจำปี 2564” รายงานฉบับที่ 4 ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ที่ได้จัดทำต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ปี 2557 โดยได้รับความร่วมมือจากประชาคมกว่า 300 ราย ทั้งกลุ่มสตาร์ทอัพไทยและต่างชาติ นักลงทุน ภาคการศึกษา ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่นำเสนอข้อมูลภาพรวมภูมิทัศน์ของระบบนิเวศสตาร์ทอัพในปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ให้มีความสามารถในการประกอบธุรกิจรวมถึงแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบนิเวศสตาร์ทอัพ (Startup Ecosystem) ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจมากขึ้น
สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม จัดตั้ง กองทุนยุวสตาร์ทอัพ (Youth Startup Fund) เดินหน้าปั้น มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการให้แก่ทีมยุวสตาร์ทอัพ ที่มีความคิดริเริ่ม มีไฟ และต้องการจะสร้างธุรกิจเทคโนโลยี และนวัตกรรม สามารถสร้าง Full-Business Plan หรือ Mock up ร่างผลงานทางธุรกิจได้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของนิสิต และนักศึกษา ให้สามารถต่อยอดแนวความคิดพัฒนาสู่การเป็น วิสาหกิจเริ่มต้นที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงให้กับประเทศที่ช่วยผลักดันการสร้างธุรกิจนวัตกรรมที่มีความเข็มแข็ง สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การดำเนินการภายใต้กระบวนการใหม่นี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับการทำธุรกิจนวัตกรรม และเป็นเสมือนพื้นที่สนามประลองความคิด หรือ Playground ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้สนุกกับจินตนาการอันไร้ขีดจำกัด ได้พบกับผู้เชี่ยวชาญและผู้สนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชน ที่พร้อมจะช่วยทำให้ทุกความฝันเป็นไปได้ และกลายเป็นจริง
เปิดโลกวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรไทย ได้รวมรวมลักษณะธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรจำนวน 59 ราย ในปี พ.ศ. 2565 ประกอบไปด้วย 7 ประเภท ได้แก่ 1) เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร 2) หุ่นยนต์ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ 3) การบริหารจัดการฟาร์ม เซนเซอร์ และระบบ 4) ระบบการจัดการฟาร์มแบบใหม่ 5) ตลาดธุรกิจการเกษตร 6) การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ขนส่ง และตรวจสอบย้อนกลับ และ 7) ธุรกิจขายปลีก/ส่งออนไลน์