สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Search
color contrast
Normal
Black & White
Black & Yellow
font size

ส่งเสริมนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่มูลค่า

News d-none 22 ธันวาคม 2561 8,038

สนช. ดำเนินการเร่งส่งเสริม

สนช. ดำเนินการเร่งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยอาศัยการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อช่วยขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมในภาคการผลิต ภาครัฐและภาคสังคมโดยรวมอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับทิศทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะ 20 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นการวางรากฐานในเปลี่ยนแปลงการพัฒนาและขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลที่ได้กำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพและสามารถสร้างผลกระทบสูงในการผลักดันการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะสั้นและระยะยาวอย่างยั่งยืนไว้ โดย สนช. มุ่งเน้นการผลักดันการพัฒนานวัตกรรมใน 2 กลุ่มอุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่า Double S-Curve  ดังนี้ 

  • การพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) จะเป็นการพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยผลิต โดยการพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จะส่งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้นและระยะปานกลาง ซึ่งประกอบด้วย
    1. อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต (Next-Generation Automotive)
    2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronic)
    3. อุตสาหกรรมท่องเที่ยวระดับคุณภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
    4. อุตสาหกรรมเกษตรเชิงประสิทธิภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
    5. อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food for the Future)
  • การพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งคาดหวังว่าอุตสาหกรรมใหม่นี้จะเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Growth engine) ในทศวรรษหน้า ซึ่งอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) 5 กลุ่ม ได้แก่
    1. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics and Automation)
    2. อุตสาหกรรมการขนส่งและการบิน (Aviation)
    3. อุตสาหกรรมชีวภาพ : พลังงานและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) 4. อุตสาหกรรมดิจจิตอล (Digital)
    5. อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ (Medical Hub)

ส่งเสริมนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่มูลค่า

สนช. ส่งเสริมการพัฒนากิจกรรมทางนวัตกรรมที่สร้างมูลค่าและผลกระทบสูงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับความแตกต่างของพัฒนาการทางนวัตกรรม ที่เน้นกลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) กลุ่ม Smart SMEs กลุ่ม SMEs และ OTOP รัฐบาลท้องถิ่นและวิสาหกิจเพื่อชุมชน (Social Enterprise) รวมทั้งเชื่อมโยงกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศและบริษัทข้ามชาติ โดยอาศัยกลไกการส่งเสริมในรูปแบบต่างๆ ได้แก่

  • การยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมของอุตสาหกรรมเป้าหมาย
  • กลไกสนับสนุนทางวิชาการและการเงินเพื่อนวัตกรรม
  • กระบวนการจัดการกลุ่มโครงการทางนวัตกรรม (Portfolio Management)
    ที่มีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่มูลค่า